**Hub for Touring ปีกดุมจะแน่นหนา - TopicsExpress



          

**Hub for Touring ปีกดุมจะแน่นหนา แต่ลื่นไหล ไม่เปลืองแรง มีทั้งแบบแบริ่ง และลูกปืนเรียงเม็ด ศูนย์กลางของล้ออยู่ที่ดุม หัวใจของล้ออยู่ตรงนี้ก่อนเลย กลุ่ม1 ดุมหลังที่เป็นเกียร์ เกียร์ที่เป็นดุมหลัง Rohloff Speedhub 500/14 Shimano Alfine 11 Shimano Alfine 8 NuVinci N360 กลุ่ม2 ดุมสำหรับ ระบบเกียร์ตีนเดวิล (ตีนผี ) Philwood Touring Hub Hope Pro III VO Touring Hub Shimano Deore XT 36H (Black & Silver) Shimano Deore XT32H (Black) Shimano Deore LX 36H Shimano Deore 36H (Silver only) Powerway M66 (Black & silver) Powerway M65 Disc 36H Novatech 36H (Black) *ส่วนนี่ วงล้อ( Rim) ถึกๆ เห็นถามถึงขอบล้อ 700C 36H สำหรับชุดล้อทัวริ่ง Mavic A719 IRD Clyde Rigida Sputnik Mavic A319 (36H และ 32H) ส่วนวงล้อสัญชาติไต้หวัน Alexrim DA 22 (700C) อาจเป็นรองสุดด้านตวามถึก *แต่สำหรับล้อของจักรยานทัวริ่ง จะเน้นความ อึด ทน พังยาก และอายุการใช้งานยาวนาน ล้อดีดีที่พวกปั่นรอบโลกใช้กัน สเป็คขอบล้อรองรับระยะการเดินทางได้เกิน 50,000 km. ขึ้นไป ซึ่งจะตัดปัญหา กวนใจ และปลอดภัย ได้หลายอย่าง และล้อดีดีสำหรับทัวริ่งจะเป็นล้อประกอบมือ นะครับ บางคนเข้าใจผิดว่าล้อประกอบจากโรงงานนั้นที่ติดมากับ compleat bike เกรดดีมากแล้ว ที่จริงมันรองรับงานหนักได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะมีราคาด้านตลาดและยอดขายบังคับเกรดไว้ แต่เมื่อจะต้องใช้กับงานทัวริ่งที่เป็น Full load ล้อที่ใช้จะเป็นเน้นครับว่ามันคือ ล้อประกอบ ที่เราเลือกส่วนประกอบล้อ ที่ไว้วางใจ ว่าใช้งานได้ทนทาน และเมื่อเกิดปัญหาระหว่าวงทาง เราเองนั่นแหละที่เป็นผู้ต้องซ่อมล้อ ปรับแต่งล้อ ล้อของจักรยานทัวริ่ง นอกจากจะเน้นความ อึด ทน พังยาก และอายุการใช้งานยาวนาน แล้วเมื่อล้อมีปัญหา จะต้องซ่อมแก้ไขได้ง่าย เรียกว่าพังยากซ่อมง่ายว่างั้น/สำหรับงานทัวริ่งจะแข็งแรงมาก และหนามาก รองรับการเบรคหนักๆ โดยเฉพาะการเบรคที่ใช้วีเบรค หรือเบรคผีเสื้อ ที่ผ้าเบรคต้องกัดกร่อนผิวขอบล้อ หากเป็นฟูลโหลด ทางลงเขา บวกหน้าฝน มีที่มีเม็ดทรายเข้ามาเกาะ ขอบล้อจะบางเร็วมาก ยางดี นอกจากเกาะถนน การเลือกดอกยางในรุ่นที่ตรงกับเส้นทางที่คุณโปรดปราน ทางดำ ทางหินลอย ดอกยางคนละแบบ เลือกให้ถูกรุ่น ยางดีๆ คุณจะไม่ต้องปะเลยเพราะมันจะไม่รั่ว *ซี่( spoke ) ที่เกรดแข็งแรงทนถึก จะไม่มีปัญหาซี่ขาดระหว่างทริป และช่วยให้วงล้อแข็งแรงสำหรับทัวริ่ง ได้แก่ - Sapim Spokes - DT Swiss Spoke - Pillar Spokes ซี่ลวด DT ที่นิยมและเลือกใช้ ในบ้านเรามักจะพบอยู่เพียง 3 รุ่น จะขอเรียงลำดับจาก ราคาถูกไปแพงนะครับ 1. ซี่ DT Champion เป็นซี่แบบตรง (Straight gauge) มีสมบัติ แข็งแรง ราคาถูกกว่ารุ่นอื่น ๆ ที่จะกล่าวถึงเป็นซี่ลวดที่ ออกแบบมาให้ใช้งานแบทั่วไป ไม่ผ่านการรีดให้บางเบา ดังนั้น หากสมาชิกชอบปั่นแบบ All mountain, Freeride แนวโดด หรือ แม้แต่ XC โหดๆ หน่อย หันมาเลือกใช้งาน ซี่ตัวนี้จะพบความแข็งแรง และยังเหมาะกับเพื่อนนักปั่น คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ด้วยนะครับ 2. ซี่ DT Comp (Competition) ซี่ตัวนี้ ให้สังเกต ช่วงกลางของซี่ลวด จะใช้เทคนิคทำการ รีด (Butted) ทำให้บางลงมาจากซี่ Champion แต่เขายังมีความแข็งแรงค่อนข้างดี ราคาแพงกว่า ซี่ DT Champion แต่ถูกกว่า ซี่ revo ครับ เหมาะกับการแข่งขัน เนื่องจากเบา แต่แข็งแรง 3. ซี่ DT Revo (Revolution) ซี่ตัวนี้ ให้สังเกต ช่วงกลางของซี่ลวดจะทำการรีด (Butted) ลงมาอีกระดับหนึ่ง ทำให้บาง เบาลงมากกว่าซี่ Comp ราคาก็จะสูงกว่า ซี่ทั้ง 2 แบบที่กล่าวถึงมาก่อน สำหรับเพื่อนสมาชิกที่มีน้ำหนักตัวไม่มากนัก และ ใช้ปั่นในงาน ไม่โหดร้ายมาก เรียกว่าเน้นแต่งเบา... ข้อสังเกต : ถ้าเพื่อนสมาชิก ปั่นไม่แรง ทางเรียบ ทั่วๆไป ไม่ได้ปั่นทาง XC ที่ต้องลุยขึ้น ๆ ลง ๆ เขาเยอะ ๆ ผมแนะนำว่า ลองหันไปใช้ซี่ไต้หวัน ก็สามารถประหยัดงบได้นะครับ ราคาก็จะถูกกว่าซี่ DT มากเลย แต่สำหรับ ขาทัวร์ริ่ง แนะนำ ซี่ DT Champion ครับ เพราะจะช่วยลดปัญหาทั้งปวง credit by Elka mtb จากเรื่องเดิม มีสอบถามมาว่า แล้วซี่เขามี นิปเปิล หรือเจ้าตัวขันหัวอย่างไร ก็ขอเติมอีกนิดจากเดิมครับ มันหลากหลายเหมือนกัน แต่เอาฉบับกระเป๋านะ แบ่งตามความยาว 12, 14, 16 มม. แบ่งตามขนาด (สี่เหลี่ยม) 3.23 mm. เป็นขนาดของหัวซี่ DT ไม่ว่าเกลียวข้างในจะขนาดไหน หัว DT ก็จะนิยมใช้ขนาดนี้ 3.30 mm. หรือที่เขาเรียกหัว 15G เกลียวด้านในจะใช้กับซี่ขนาด 15G หรือ 1.8 mm. (พบในรถที่มาจากยุโรป บ้านเรามีน้อย) 3.45 mm. หรือที่เขาเรียกหัว 14G ใช้กับขนาดซี่ 14G หรือ 2 mm. รถจากโซนเอเชีย จะนิยมใช้ขนาดนี้ ปัจจุบัน รถยุโรป ก็หันใช้ขนาดนี้กัน ถ้าไม่ไปใช้ DT นะครับ ข้อดีของหัว DT มุมเหลี่ยมค่อนข้างเป๊ะ เมื่อเราใช้เครื่องมือ Park Tool SW-0, SW40, SW-20 จะจับพอดีครับ ส่งผลให้เราสามารถ ขึ้นความตึงสูงได้ง่าย ส่วนพวกหัวซี่ติดรถไต้หวันหลายยี่ห้อ ก็ให้หัวมาขนาดเท่าของ DT ส่วน ล้อพวกที่ใช้หัว 14G, 15G ตรงเหลี่ยมมันมน ๆ จับกับเครื่องมือไม่ค่อยพอดี จะหลวมนิด ๆ ทำให้หัวบิดบิ่นได้ง่าย ขึ้นซี่ตึงยากหน่อย เต็มที่สัก 130 kgf ก็สุด ๆ บางทียังไม่ทันตึงมาก หัวก็บิ่นแระ.....ลำบาก นอกจากนี้ก็มี พวกเหลี่ยมแปลกกว่านี้ เช่น พวกล้อชิมาโน่รุ่นสูง ๆ พวกทรงแปลก ๆ หกเหลี่ยม หรือ แบบแฉก ไม่ขอพูดถึงนะ มันมักมากับรถสำเร็จ สรุปเป็นว่า ล้อยี่ห้อไหนก็หาอะไหล่ยี่ห้อนั้นแหละ มาจัดการ เราเรียกว่า โพไพทารี่ คือพัฒนาเฉพาะของเขาเอง แบ่งตาม วัสดุ อลูมิเนียม ข้อดีคือ เบาดี แต่ผมเห็นว่า มันไม่ค่อยทนเท่าไรครับ คือว่าบิ่นง่าย แต่ถ้าจะ เอามาตรฐานหน่อยก็ โอริฮารูกอน ครับ ทนสุดเหมือนกัน แบ่งตามลักษณะของ หัวซี่ ซี่หัวตรง ดุมที่จะใช้แบบนี้ ทุกวันนี้นิยมกันมากขึ้น จะเห็นมากับล้อ สำเร็จ จากโรงงาน ซี่หัวงอ ใช้กับดุมทั่วไป เป็นแบบที่พบเห็นมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา แบ่ง ตามขนาด ขนาดซี่ นิยมวัดเป็น มม. หรือ Guage (G) 2.3 mm = 13G 2.0 mm = 14G 1.8 mm = 15G 1.6 mm = 16G แบบ ซี่กลม ซี่แบบ ตรง Straight pull ขนาดเดียวทั้งเส้น ปกติทั่วไปจะเห็นเป็น 14G หรือ 15G แต่ถ้าเป็นพวกรถประกอบมาจากไต้หวัน มักใช้ 14G รถยุโรปมักใช้ 15G เช่นชี่ของ DT Champion ส่วนถ้าจะแบ่งตามเทคนิคผลิต Single butted บัตต์ครั้งเดียว จะไม่ค่อยพบในบ้านเรา Double butted บัตต์สองชั้น ใช้กันเยอะ ขนาดยอดนิยมก็ 14/15/14G หัวท้ายโต 14G ตรงกลางบางลงเป็น 15G จะเห็นในซี่ของ DT Competition Triple butted บัตต์สามชั้น จะเห็นในซี่ของ DT Alpine III ส่วนราคาของซี่ DT ที่ถามมา มันก็คงแปลไปตามเวลาและต้นทุน แต่เอาแบบประมาณว่าที่ผ่านมาเขามีให้ใบริการกัน โดยประมาณ ดังนี้ครับ 1. ซี่ DT Champion 12- 15 บาท 2. ซี่ DT Comp 18-22 บาท 3. ซี่ DT Revo 28-35 บาท ส่วนท่านไหนต้องการ รู้ลึก รู้จริง ๆ ก้เข้าไปค้น อ่านได้ที่ 2 ลิ้งค์ข้างล่างนี้ครับ ขนาดของซี่ DT Swiss Spokes ขนาดและความยาวของซี่ รุ่นต่าง ๆ TECH SPECS spokes
Posted on: Thu, 26 Sep 2013 04:39:33 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015