Nicholas Ford. ในบทความเรื่อง “Some - TopicsExpress



          

Nicholas Ford. ในบทความเรื่อง “Some Reflections of Ethnic Identity of Refugee Migrants from Burma to Thailand” in Journal of Population and Social Studies, Volume 21 Number 1, July 2012: 39-46. แนวคิดความเป็นชาติพันธุ์ที่แบ่งออกเป็น 2ประเภท ได้แก่ ความสัมพันธ์อันเกิดจากความเกี่ยวดองทางเครือญาติ (Primordialism) กับ ความสัมพันธ์อันเกิดจากสถานการณ์ หรือโครงสร้างทางสังคม (Situtionalism) นอกจากนั้น ยังมีการวิเคราะห์ผ่านกรอบความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในเชิงการเมือง การมองประเด็นชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างภูมิประเทศแบบเทือกเขาและพื้นราบ กับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมและการเมือง (หน้า 40) ในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมนั้น มีความแตกต่างมากขึ้นระหว่างวัฒนธรรมหลักของคนพื้นราบ กับวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อยรอบข้างพื้นที่นั้น ๆ โดยคนบนที่สูงร่วมมืออย่างหลวม ๆ ในระบบเศรษฐกิจและการเมือง ในขณะที่คนบนพื้นราบเป็นฐานสำคัญในการเกิดขึ้นของอาณาจักรและรัฐชาติร่วมสมัย ซึ่งนักวิชาการเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของอาณาจักรในลักษณะเดียวกับระบบสุริยจักรวาลที่มีศูนย์กลางแห่งหนึ่งมากกว่าที่จะมีศูนย์กลางหลายแห่งในระบบ (หน้า 40) ธงชัย วินิจกุล (1994) อ้างว่าในยุคสมัยใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มีความพยายามที่จะจัดทำแผนที่ประเทศสยาม และมีกระบวนการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์อันคลุมเครือของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยบนที่สูงด้วยการแบ่งเขตแดนประเทศให้ชัดเจน การปรับเขตแดนไทย-พม่าในพื้นที่ของชาวเขาบ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาระหว่างประชากรทั้งสองประเทศ ซึ่งกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในทั้งไทยและพม่า (หน้า 41) Yelvington (1991) กล่าวว่า อัตลักษณ์ของกลุ่มชนใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ถูกนิยามจากสิ่งที่ไม่ใช่พวกเขา แต่นิยามผ่านสิ่งอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ประเด็นที่สำคัญก็อยู่ที่การอธิบายคุณลักษณะพื้นฐานของพวกเขาผ่านความเป็นสมาชิกในเชิงเปรียบเทียบและใช้เรื่องเล่า (หน้า 42) Furnivall (1958) กล่าวว่าความสัมพันธ์อันเกิดจากความเกี่ยวดองทางเครือญาติ (Primordialism) เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพอใจภายในจากความจงรักภักดีต่อกลุ่มซึ่งฝังรากลึกทางวัฒนธรรม ขณะที่ Taylor (1987); Keyes (1979) ให้ความหมายถึงความสัมพันธ์อันเกิดจากสถานการณ์ หรือโครงสร้างทางสังคม (Situtionalism) ว่าเป็นอัตถประโยชน์เชิงเครื่องมือนำทางของการยึดเอาชาติพันธุ์จากผลประโยชน์เชิงสถานการณ์ ซึ่งส่วนมากจะถูกครอบงำโดยกลุ่มที่เหนือกว่า (หน้า 42) Eller และ Coughlan (1993) ชี้ให้เห็นว่ามีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงการเสริมแรง และการผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่องในเรื่องอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงและเกิดรูปแบบพหุลักษณ์ พร้อม ๆ กับระดับที่หลากหลายและการยอมรับของบุคคลเกี่ยวกับความแตกต่างทางชาติพันธุ์ (หน้า 43) David Brown (1996) สรุปว่าแนวคิดการแบ่งแยกชาติพันธุ์และความขัดแย้งในรัฐชาติ สามารถจัดประเภทได้เป็น 6 อย่าง ได้แก่ (หน้า 43) 1. ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นรัฐชาติซึ่งมีวัฒนธรรมชนกลุ่มอิสระที่เกิดใหม่ อันส่งผลให้เกิดความเปราะบางทางการเมือง 2. ลัทธิชาตินิยมทางชาติพันธุ์เป็นฐานรากให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคอย่างไม่เท่าเทียม และเกิดอาณานิคมภายในประเทศ (Internal colonialism) 3. ความขัดแย้งต่าง ๆ เกิดขึ้นในสถานที่ซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวทางเครือญาติถูกคุกคามโดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างถิ่น 4. ความขัดแย้งต่าง ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมแต่ละอย่างที่ชนกลุ่มน้อยชั้นสูง กระทำขึ้นมา 5. ความขัดแย้งที่เกิดจากส่วนประกอบของทั้ง 4 ข้อรวมกัน 6. แนวคิดการแบ่งแยกชาติพันธุ์มีความซับซ้อนเป็นพิเศษ เพราะเป็นปรากฎการณ์ที่ชัดแจ้งตรงหน้า แต่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นมวลสถานการณ์ที่แน่นอน ทั้งนี้ ข้อ 1-4 มีความเกี่ยวข้องต่อความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในพม่า ความสัมพันธ์ที่แบ่งแยกอย่างร้าวลึกระหว่างรัฐพม่ากับชนกลุ่มน้อยถูกทำให้แย่ลงจากการนองเลือดของชาวบ้านในเขตแดนต่าง ๆ โดยทหารพม่า (หน้า 44) อ่านเพิ่มใน sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=1465
Posted on: Fri, 13 Sep 2013 06:28:22 +0000

Recently Viewed Topics




© 2015