SSD - TopicsExpress



          

SSD เมื่อความเร็วมาพร้อมกับสิ่งที่ต้องรู้ วันนี้มาแนว geek เลย 555 เอาซะหน่อยแล้วกัน วันนี้มาพูดกันถึงเรื่อง SSD ที่เริ่มที่จะกลายเป็นออฟชั่นพื้นฐานของการซื้อคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ไปแล้ว เรามาปูพื้นฐานกันก่อนดีกว่า SSD คืออะไร? SSD ย่อมาจาก Solid-state Drive เป็นที่เก็บข้อมูล (Storage) ใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Flashdrive ต่างจาก Harddisk ธรรมดาที่ใช้จานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล SSD ต่างจาก HDD แบบธรรมดาอย่างไร? ต่างกันตรงที่ชนิดของหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูล โดย SSD จะใช้หน่วยความจำ Flash Memory ชนิด NAND Flash ที่ข้อมูลจะยังอยู่แม้จะไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม ส่วน HDD – Hard Disk Drive จะใช้การเก็บข้อมูลบนจานโลหะ/แก้วที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ที่หมุนๆๆๆๆอยู่ตลอดเวลาที่ใช้งาน ข้อดีของ SSD? 1. เร็วส์ – ข้อดีหลักของ SSD ที่ถูกกล่าวขวัญถึงก็คือ ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transfer Rate) ที่สูงกว่า HDD ปกติมากๆๆๆๆ มากขนาดไหนก็นึกดูว่า HDD ปกติ 7200 รอบ มีความเร็วในการอ่านข้อมูลราวๆที่ 90-120 MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที) ส่วนของ SSD นะหรื๊อ! ขั้นต่ำๆก็ปาไป 200 MB/s เข้าไปแล้ว 2. เงียบ – เนื่องจาก HDD ปกติใช้การหมุนของจานแม่เหล็กในการอ่านเขียนข้อมูล ทำให้มีเสียงดังในขณะที่มีการใช้งาน ส่วน SSD ที่ใช้ Flash Memory ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีส่วนไหนที่เคลื่อนไหว จึงเงียบ! #ฉี่… Punk 3. ทึก – นั่นแหละเพราะ SSD ไม่มีชิ้นส่วนใดที่เคลื่อนไหว จึงทนต่อแรงกระแทก การสั่นสะเทือน รวมทั้งรองรับการทำงานในอุณหภูมิที่ยืดหยุ่นมากกว่า 4. เบา – ก็มันเบาไง … Laughing out loud ถึงจะไม่ต่างมากกันสักเท่าไรนะ เอาเป็นว่ามันเบาแล้วกัน ส่วนข้อดีอื่นๆ มีอีกเยอะ แต่เอาหลักๆที่ควรรู้ก็พอ ที่เหลือๆเก็บไว้ให้ geek ไปหาเอาเอง ฮี่ๆๆ Smile แล้วไม่มีข้อเสียเลยเหรอ? มีซิครับ จะไม่มีได้ยังไง… ปัญหาหลักๆของ SSD ตอนนี้คือราคา! แพง(เห้)ครับ SSD ยังมีราคาที่ยังถือว่าแพงอยู่เมื่อเทียบกับ HDD ปกติ ในราคาต่อความจุ ยกตัวอย่างเช่น OCZ Vertex 4 ความจุ 128 GB ราคา 4,990 บาท ราคาต่อความจุประมาณ 39 บาทต่อกิกะไบต์ เทียบกับ WD Blue 10EALX ความจุ 1 TB ราคา 2,850 บาท ราคาต่อความจุประมาณ 2.8 บาทต่อกิกะไบต์ ต่างกัน 20 เท่า!!! Punch แต่ก็ยังถูกกว่าเมื่อก่อนนะ อีกไม่นานราคาคงจะถูกลงกว่านี้แน่นอน ยิ่ง Macbook Gen ใหม่ใส่ SSD มาเป็นออฟชั่นพื้นฐานแล้ว ยิ่งทำให้ SSD มีราคาถูกลง… Geek Alert !!! เมื่อหนทาง(แห่งความแรงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ) เมื่อของมันจะแรง ก็ใช่ว่ามันแรงได้อย่างราบรื่น ปัญหาของ SSD ก็ยังคงมีพบเห็นได้ทั่วไป มาดูกันว่าส่วนสำคัญๆของ SSD ที่ต้องระวังมีอะไรบ้าง Controller ตัวชี้ชะตาสถียรภาพและความแรง ตามธรรมชาติของ I/O เมื่อมีอุปกรณ์แล้วก็ต้องมี Controller เพื่อมาควบคุมการทำงานอีกที ทีนี้ตัว SSD ก็ต้องมี Controller เพื่อควบคุมการอ่าน/เขียนข้อมูลลงไปใน Flash Memory ตัว Controller เจ้าดังๆที่นิยมใช้กันใน SSD ก็มีอย่างเช่น Indilinx, Marvell, Samsung, Sandforce ซึ่งแต่ละตัวก็มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ถ้า Controller มีทำงานปกติก็ดีไป แต่ถ้าเจอตัวที่หลุด QC มาหรือโดนล็อตที่มีปัญหาเมื่อไร บอกได้เลยว่าซวย! ปัญหาที่เจอบ่อยกับ SSD ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตัว Controller ก็มีอาทิ ความเร็วตก, Random Freeze บางทีขึ้นจอฟ้าอีก – -‘ เจ้าที่มีปัญหาบ่อยๆก็เป็น Sandforce นี่แหละ… ปล. เรื่อง Controller แนะนำกระทู้นี้ overclockzone/forums/showthread.php/1458870-SandForce2-Controller-Issue-on-SSD-vs-SATA-3 MTBF เวลาที่ไม่น่ากังวล มานำกันก่อนว่า MTBF คืออะไร, MTBF ย่อมาจาก Mean time between failures แปลง่ายๆ ระยะเวลาเฉลี่ยคิดตั้งแต่เริ่มใช้งานจนพังไป ค่า MTBF ทั่วๆไปก็อยู่ประมาณ 1 ล้านชั่วโมง คิดง่ายๆถ้าใช้วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน กว่า SSD จะพังฟาดไป 200 กว่าปี อย่าเพิ่งดีใจคิดกว่า เฮ้ย! 200 ปีกว่าจะพัง ค่า MTBF ของ SSD ไม่เหมือนกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ย้อนกลับมาเรื่องพื้นฐานในวิธีการเก็บข้อมูลของ SSD คือใน Chip ความจำแต่ละตัวจะเก็บข้อมูลเป็น Block หรือ Cell ในแต่ละ Cell ที่เก็บข้อมูล จะมีระยะเวลาในการเขียนทับจุดเดิมที่จำกัด อาจจะ 10,000 ครั้ง 100,000 ครั้ง เมื่อเขียนลงไปในจุดเดิมๆจนครบตามชนิดของ Memory ก็จะไปทำให้ Cell นั้นๆพังไปใช้ไม่ได้อีก ระยะเวลากว่าที่ Cell นั้นๆจะพังอาจจะกินเวลา 1 ปี 3 ปี หรืออาจจะแค่เดือนเดียวก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เพิ่มเติม : overclockzone/forums/archive/index.php/t-1304179.html?s=085461deabff1375105942da134165ae สรุปง่ายๆว่า : ใช้ไปเหอะ ดูระยะเวลารับประกันก็พอ… ส่วนถ้าเอาไปใช้หนักๆอย่างยัดเข้า Server ที่อ่าน/เขียนข้อมูลไว้ว่ากันอีกที IOPS ดูไว้ก็ดี อีกค่าหนึ่งของ SSD ก็คือ IOPS – Input/Output Operations Per Second ก็คือปริมาณการอ่าน/เขียนไฟล์ต่อ 1 วินาที ใน SSD แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีค่าไม่เท่ากัน แถมรุ่นเดียวกันแต่คนละความจะก็ไม่เท่ากันอีก image สรุปสั้นๆ : สำหรับ Home User ค่านี้ไม่จำเป็นมากเท่าไรนัก เอาไปดูค่า Transfer Rate ดีกว่าแต่ถ้า Server ก็คิดดูอีกที… TRIM ผู้ช่วยคนสำคัญ เวลาลบข้อมูลไว้ว่าจะเป็น HDD หรือ SSD ส่วนที่โดนลบคือชื่อไฟล์ ข้อมูลจริงๆยังไม่ถูกลบออกไป ซึ่งใน SSD ยิ่งมีเนื้อที่น้อยอยู่แล้ว ก็ทำให้เนื้อที่โดนกินไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนลดลงมาก ดังนั้นใน SSD จึงในฟังก์ชั่นชื่อว่า TRIM เพื่อลบข้อมูลที่เรากด Delete ออกจากที่เก็บข้อมูลจริงๆ แต่อันนี้ลบแล้วลบเลยนะ กู้ไม่ได้ Smile with tongue out หน้าที่ของ TRIM นอกจากจะช่วยคืนเนื้อที่เก็บข้อมูลแล้วยังช่วยป้องกันการอ่าน/เขียนซ้ำๆลงบน Cellๆ เดียว จึงช่วยยืดอายุของ SSD ได้อีกหน่อย Defragment ไม่จำเป็นอีกต่อไป ใน HDD เราทำ Defragment เพื่อจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้เร็วๆ แต่ใน SSD ที่มีความเร็วสูงอยู่แล้ว Defragment ไม่จำเป็นอีกต่อไป นอกจากจะไม่ช่วยให้เร็วขึ้นแล้ว ยังไปลดอายุของ SSD ซะอีก เพราะต้องไปอ่าน/เขียนไฟล์จำนวนมาก Frimware OS ของ SSD อย่าคิดว่าคอมพิวเตอร์จะมี OS ได้อย่างเดียว SSD ก็มีด้วย Frimware คอยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของตัว SSD ปัญหาส่วนใหญ่ของ SSD สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัพเดต Frimware ใหม่ ฉะนั้นการอัพเดต Frimware เพื่อให้ SSD ทำงานได้ดีขึ้นก็ควรทำเช่นกัน Secure Erase ปีละครั้งก็ยังดี เวลาจะเขียนข้อมูลลงไปใน SSD ตัว Controller จะต้องวิ่งเข้าไปดูว่า Cell หรือ Block ไหนว่างๆ เพื่อจะเขียนข้อมูลลงไปได้ แต่บางทีตัว Controller เจอ Cell ที่ว่างนะ แต่เข้าไปเขียนไม่ได้ อาจจะติดปัญหาอะไรบางอย่างก็ไม่รู้ การทำ Secure Erase จะเข้าไปเคลียร์ให้แต่ละ Cell พร้อมใช้งาน เพื่อให้ Controller สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
Posted on: Tue, 25 Jun 2013 11:06:43 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015