Thai Prison Labor Plan Draws International Condemnation Rights - TopicsExpress



          

Thai Prison Labor Plan Draws International Condemnation Rights and Labor Groups Concerned Work on Fishing Boats (Washington, D.C.) -- Forty-five human rights organizations today sent a letter to Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha, asking him to end a pilot project to recruit prisoners from Thailand’s correctional facilities to fill a labor shortage in the fishing industry. Multiple reports have documented gross labor violations on Thai fishing boats, including forced labor, physical violence, illegally low wages and human trafficking. “Thailand cannot run from the trafficking problem in its fishing fleet,” said Judy Gearhart, executive director of the International Labor Rights Forum. “And sending prisoners to sea will not address the systematic, pervasive labor problems in Thailand’s fishing industry. It is time for the Thai government to recognize that its treatment of migrant workers lies at the heart of the problem and take real, meaningful steps to ensure all workers within its borders work in dignified, just conditions.” The groups cited rights abuses as a primary reason that explains labor shortages on fishing boats, and said the prison program would do nothing to end those abuses. They also expressed concern that the plan would merely augment the migrant workers from Burma and Cambodia who currently comprise the majority of the workforce on Thai fishing vessels with Thai prisoners who are equally vulnerable to abuses. Migrant fishers are almost entirely undocumented and without legal status, making them afraid to report to Thai authorities about rights violations they suffer on fishing boats. The signatories also predicted the prison labor plan could have negative economic and political consequences for Thailand. It noted Western retailers and buyers are already increasingly wary that Thai seafood is produced in supply chains dependent on forced labor and other labor rights abuses, and warned that this scrutiny would intensify if buyers have to deal with new concerns regarding conscripted prison labor in their supply chains. “The retailers we have worked with in Australia are very responsive to the threat of forced labor in their supply chains,” said Mark Zirnsak, director of the Justice & International Mission at the Uniting Church in Australia Synod of Victoria and Tasmania. “We are working with them, and with Thai suppliers, to increase transparency and ensure just working conditions on Thai fishing vessels. We are deeply concerned that the prison labor program could make it more difficult for the industry partners we work with to verify workers in their supply chains are working without threat of coercion.” The letter also noted that the plan could be considered evidence by the US State Department that the Thai government is unable, or unwilling, to address the risk of human trafficking in its fishing fleets. Thailand was downgraded to the lowest rank, Tier 3, in the United States’ 2014 Trafficking in Persons Report, and the fishing industry cited as a major area of concern. “Thailand has repeatedly said that it’s committed to end forced labor and human trafficking, but this pilot project heads in precisely the opposite direction and will make things worse,” said Phil Robertson, deputy Asia director of Human Rights Watch. “This prisoners on fishing boats project should be immediately scrapped.” โครงการใช้แรงงานผู้ต้องขังของไทยถูกประนามจากนานาชาติ กลุ่มด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนมีความกังวลต่อสภาพการทำงานบนเรือประมง (วอชิงตัน ดี.ซี.) – องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนได้ส่งจดหมายถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อขอร้องให้ยุติโครงการนำร่องที่จะนำผู้ต้องขังจากเรือนจำมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมงเพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานจากหลาย ๆ แห่งระบุถึงการละเมิดสิทธิ์แรงงานบนเรือประมงของไทย ไม่ว่าจะเป็น แรงงานบังคับ, การใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกาย, การให้ค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด, และการลักลอบค้ามนุษย์ “ประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์เพื่อมาใช้แรงงานบนเรือประมง,”กล่าวโดย จูดี้ เกียร์ฮาร์ท (Judy Gearhart), ผู้อำนวยการบริหารของ International Labor Rights Forum “และการส่งผู้ต้องขังไปยังทะเลไม่อาจจะแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่องและลุกลามไปทั่วอุตสาหกรรมประมงของไทย ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องยอมรับว่าการปฏิบัติของตนต่อแรงงานข้ามชาติที่ผ่านมาเป็นสาเหตุหลักแห่งปัญหา และต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อสร้างสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและมีเกียรติ์ศักดิ์ศรีแก่แรงงานทุกคนที่ทำงานในประเทศไทย” องค์กรเหล่านี้ชี้ว่าปัญหาการละเมิดสิทธิ์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานบนเรือประมง และโครงการที่จะนำผู้ต้องขังมาทำงานไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา พวกเขายังแสดงความกังวลว่า นอกเหนือจากแรงงานข้ามชาติจากพม่าและกัมพูชาที่เป็นแรงงานหลักในภาคอุตสาหกรรมประมงและมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิดสิทธิ์แล้ว โครงการนี้ยังจะทำให้มีการใช้แรงงานจากผู้คุมขังซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดไม่น้อยไปกว่าแรงงานข้ามชาติ โดยแรงงานข้ามชาติในไทยส่วนมากเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย ทำให้พวกเขาไม่กล้าที่จะรายงานการถูกละเมิดสิทธิ์บนเรือประมงแก่เจ้าหน้าที่ของไทย องค์กรเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่า โครงการนี้อาจจะก่อให้เกิดผลเสียทางการเมืองและเศรษฐกิจแก่ประเทศไทย เนื่องจากบริษัทผู้ค้าและผู้ซื้อในประเทศตะวันตกได้มีความกังวลว่าผลผลิตอาหารทะเลของไทยมีการผลิตจากแหล่งผลิตที่ใช้แรงงานบังคับและมีการละเมิดสิทธิ์แรงงานอื่น ๆ องค์กรเหล่านี้ยังได้เตือนว่าการนำผู้ต้องขังมาใช้แรงงานอาจจะเพิ่มความกังวลให้กับบริษัทผู้ค้าและผู้ซื้อ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นต่อการซื้อสินค้าที่มาจากประเทศไทย “บริษัทผู้ค้าที่เราทำงานด้วยในออสเตรเลียมีความอ่อนไหวสูงต่อความเสี่ยงที่จะมีการใช้แรงงานบังคับอยู่กระบวนการผลิต,” กล่าวโดย มาร์ก เซิร์นแซก (Mark Zirnsak), ผู้อำนวยการ Justice & International Mission at the Uniting Church in Australia Synod of Victoria and Tasmania จากออสเตรเลีย “เราทำงานกับผู้ค้าเหล่านี้ รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าจากประเทศไทย เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเพื่อยืนยันว่าสภาพการจ้างงานบนเรือประมงไทยมีความยุติธรรม เรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าโครงการใช้แรงงานผู้ต้องขังจะเพิ่มความลำบากให้กับบริษัทผู้ค้าที่เราทำงานด้วยในการตรวจสอบยืนยันว่าไม่มีการใช้แรงงานบังคับในกระบวนการผลิต” จดหมายนี้ยังได้ระบุว่าโครงการใช้แรงงานผู้ต้องขังอาจจะส่งผลให้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาใช้พิจารณาว่ารัฐบาลไทยไม่มีความพยายามหรือไม่มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาความเสี่ยงการลักลอบค้ามนุษย์เพื่อนำมาใช้เป็นแรงงานบนเรือประมง ประเทศได้ถูกลดอันดับมายัง เทียร์ 3 ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (Trafficking in Persons Report–TIP Report) ประจำปี 2014 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำสุด โดยการละเมิดสิทธิ์ในภาคอุตสาหกรรมประมงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยถูกลดอันดับ “ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้แสดงความมุ่งมั่นในการหยุดการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ แต่โครงการนำร่องนี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามและมีแต่จะทำให้ปัญหาเลวร้ายกว่าเดิม,” กล่าวโดย ฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) รองผู้อำนวยการ Human Rights Watch Asia “โครงการนำนักโทษมาทำงานบนเรือประมงควรถูกยกเลิกโดยทันที”
Posted on: Thu, 15 Jan 2015 05:04:36 +0000

Trending Topics



of NICODEMUS, formerly called the ACTS of PONTIUS
Crappy first Monday back at work after the holidays? Well this
Poetic Licence Womens Island Surprise
Friends: There is this person who just tried to friend

Recently Viewed Topics




© 2015