"What order should I apply skin care - TopicsExpress



          

"What order should I apply skin care products? ครีมบำรุงผิวใช้อะไรก่อน หลัง? งงจัง! (Credit: Cosmetina) เมื่อมีครีมบำรุงผิวและเครื่องสำอางมากขึ้นคุณก็คงงง ว่าแล้วอะไรมันควรใช้ก่อนอะไร ต้องทิ้งระยะให้แห้งก่อนมั้ย แล้วถึงทาต่อ หรือยังไงอะไรดี งงไปหมด เราก็เป็นค่ะ ไม่ได้ฉลาดมาแต่เกิดอะนะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่หัวกันหน่อย ข้อมูลที่เราจะเขียน เราอ่านบทความมาอย่างน้อย 10 แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากต่างประเทศ แล้วก็เอามา analyse ใหม่ ตามหลักจริงๆที่มันควรจะเป็น อย่าหาว่ากระแดะไม่อ่านของคนไทย แต่คนไทยมักไม่ให้ข้อมูลเบื้องลึกตามหลักเหตุและผล ได้แต่บอกให้ทำอย่างนี้ๆ แล้วถ้าไม่ได้ทำตามบ่อยๆมันก็ลืมค่ะ เวลาจำ ใช้จำด้วยเหตุผลดีกว่าจะไม่มีวันลืมเลย Chapter 1 # Know the FACT of Skin care texture " เหตุผลและความแตกต่างของเนื้อครีมบำรุง " Q : ทำไมต้องรู้ว่าควรใช้อะไรก่อนหลัง A : ก็เพราะว่าการใช้ครีมโปะๆเข้าไปมั่วๆ โดยที่ไม่มีลำดับก่อนหลัง มันจะลดประสิทธิภาพของการบำรุงผิวเรา เช่น จากที่ครีมบำรุงตัวหนึ่งที่ให้ผล 100% แต่คุณใช้ผิดขั้นตอน มันอาจจะทำงานได้แค่ 50% เพราะอีกตัวอาจไปขัดขวางการดูดซึม Active Ingredient ของครีมอีกตัวหนึ่งนั่นเอง Q : เหตุผลง่ายๆที่ทำให้เราต้องมีลำดับของการใช้ครีมบำรุงผิว A : เพราะเนื้อของสาร (Texture) ที่นำมาบำรุงผิวหน้าของคุณไม่ว่าจะอยู่ในรูปครีม (Cream) โลชั่น (Lotion) ซีรั่ม (Serum) เจล (Gel) หรือ ฟลูอิด (Fluid/Fluide) นั้นมีสูตร ส่วนผสม (Formula) ที่ต่างกันค่ะ ซึ่งจะส่งผลให้ Skincare มีเนื้อครีมต่างกันนั่นเอง และส่งผลโดยตรงต่อการดูดซึมเข้าไปในชั้นผิวของเราได้ยากง่ายต่างกัน Q : ความแตกต่างของ ครีม (Cream) โลชั่น (Lotion) ซีรั่ม (Serum) เจล (Gel) และ ฟลูอิด (Fluid/Fluide) คืออะไร A : Definitions ที่แน่นอนของคำพวกนี้ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางยึดถือเอาเป็นหลักไม่ค่อยได้เลยค่ะ เพราะส่วนมากโฆษณาเกินจริงและไม่ตรงตามคุณสมบัติจริงๆของครีมเท่าไหร่ เล่นคำไปเรื่อย แต่ถ้าใช้ความหมายตามการผลิต (เภสัชและนักเคมีรู้ดี) ก็จะแยกได้ง่ายกว่าค่ะ ความแตกต่างจริงๆเลยของเนื้อครีมแต่ละ form เราอธิบายง่ายๆ แบบนี้ดีกว่าค่ะ ครีม (Cream) : หลักของครีมจริงๆคือการผสมน้ำมัน (oil) ให้เข้ากับน้ำ (water) สมัยก่อนคนนำมาใช้เพื่อบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่เดี่ยวนี้เพิ่มเติมส่วนผสมเพื่อความงามเข้าไปอีกมาก แต่ไม่ใช่แค่เค้าเอาแค่น้ำผสมน้ำมันแล้วมันได้ครีมนะคะ ส่วนผสมของการทำครีมเครื่องสำอางจริงๆมีอีกเยอะมาก ความเข้มข้นของเนื้อครีมจะมากที่สุด เนื้อหนักที่สุด ดูดซึมเข้าไปในผิวได้ช้าที่สุด ใบบรรดารูปแบบ (body form) ทั้งหมดที่โชว์อยู่ในคำถามข้างต้น นอกจากนี้ก็ยังสามารถใส่วิตามิน หรือ Active Ingredients ต่างๆที่คิดว่ามันเป็นประโยชน์กับผิวเข้าไปได้อีกด้วย ดังนั้น Skin care ในรูปแบบ "ครีม" จึงเหมาะกับคนผิวแห้ง ถึงผิวธรรมดามากที่สุด ถ้าคนที่มีผิวมัน น้ำมันออกทั้งวันอยู่แล้ว ใช้ครีมเข้าไปอีก ก็เท่ากับไปส่งเสริมให้หน้ามันเยิ้มเข้าไปอีก โลชั่น (Lotion) : เป็นอีกรูปหนึ่งที่มีเนื้อใกล้เคียงกับครีมมาก แต่เนื้อที่เราเรียกว่าโลชั่นนั้นจะเบากว่า ความหมายว่าเบากว่าคือ ไม่เหนอะ หรือหนืดเท่าครีม เพราะ Formula ของ Lotion มี % Water มากกว่า ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของคนที่มีผิวผสม หรือผิวมัน แต่สำหรับคนผิวมันแล้ว ใช้อะไรก็มันอยู่ดีแหละค่ะ ส่วนสาร Active Ingredients อื่นๆก็สามารถใส่เพิ่มเติมเข้าไปได้ ใส่วิตามินมากหน่อยก็บอกว่าตัวนี้เป็นโลชั่นทาหน้า เอามาขายแพงๆได้ ใส่น้อยหน่อยก็เป็นโลชั่นทาตัวซะ ประมาณนี้ค่ะ มอเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) : ไม่ได้เป็นรูปแบบเนื้อของ Skin care แต่คนมักนำมาเรียกรวมๆ พวกครีม หรือโลชั่นที่ทาแล้วให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ว่า "Moisturizer" เท่านั้นเองค่ะ เวลาไปซื้อครีมบำรุงผิว คนขายบอก "ต้องใช้ Serum ก่อนแล้วค่อยลง Moisturizer ก็ไม่ต้องงงนะคะ" เค้าแค่จะบอกคุณว่า จะทา ครีม หรือโลชั่น ตามหลังจากนี้ก็ได้ ซีรั่ม (Serum) : ฟังดูแล้วท่าจะแพงและดีกว่าคนอื่นเค้า มันเป็น perception ของคนทั่วไปที่คิดแบบนั้นจริงๆค่ะ เพราะ serum คือความตั้งใจของบริษัทผลิตเครื่องสำอางที่ต้องการทำ product ที่มีความเข้มข้นของ Active Ingredients สูงๆขึ้นมาโดยเฉพาะ เนื่องจากการทำงานของ Active Ingredients จะแสดงผลัพธ์ให้เห็นความแตกต่างมากกว่า ในระยะเวลาที่เท่ากัน ตัวอย่างเช่นใน 1 หยด ของ Vitamin C Serum อาจจะมี % Vitamin C เท่ากับโลชั่นที่คุณเทลงบน 1 ฝ่ามือเต็มๆก็ได้ ส่วนมาก ซีรัมมักจะทำแบบใส (แต่ไม่ทั้งหมด) และมีเนื้อเบา ซึมเร็วและนำพาแร่ธาตุ วิตามินไปในผิวได้ง่ายกว่า เพราะเป็น water based product (มีน้ำเป็น medium ไม่ใช่แบบครีมหรือโลชั่น) ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจที่ว่าทำไม Serum ถึงมีราคาแพงในปริมาตรแค่นิดเดียว เจล (Gel) : ฟังดูแปลกๆมีเครื่องสำอางหรือ Skin care ที่เป็นเจลด้วยเหรอ มีเหมือนกันค่ะ ไม่ใช่เฉพาะเอามาเป็น Hair Care เท่านั้น เพราะผู้ผลิตต้องการเอาคุณสมบัติ water absorbent มาใช้ประโยชน์นั่นเอง เจลเป็นสารประเภท polymer ที่มีโครงสร้างกักเก็บอุ้มน้ำไว้ได้เยอะมาก ที่จะพบเห็นส่วนมากก็คือพวก eye gel ทั้งหลาย เพราะต้องการใช้ผิวบริเวณใต้ดวงตาได้รับวิตามินเต็มที่ และมีความชุ่มชื้นนานๆ ฟลูอิด (Fluid/Fluide) หรือ เอสเซ้นส์ (Essence) : ความหมายนัยคือ Serum นั่นเอง เนื้อและส่วนผสมจะเข้มข้นด้วย Active Ingredient มากกว่าและเป็น water based เนื้อจะเบา ซึมเร็ว แต่มักจะไม่ใส อันนี้จากข้อสังเกตส่วนตัวนะคะ ยกตัวอย่างดีกว่า เช่น Biotherm - source thérapie Superactiv ตัวนี้ก็เรียกได้ทั้ง Serum และ Fluid หรือ Lancome- BLANC EXPERT NeuroWhite™ ANTI-DARK CIRCLES EYE TREATMENT ที่เรียกตัวเองว่า Essence แต่ Makeup มักจะใช้ Fluid กับพวก Foundations เพื่อต้องการจะเน้นบอกว่ามันไหลตัวดี ไม่หนืด และเกลี่ยง่าย ไม่ได้บอกว่า texture ขุ่นหรือใส
Posted on: Mon, 02 Sep 2013 13:14:47 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015