ZOOM วันพฤหัสบดี ที่ 26 - TopicsExpress



          

ZOOM วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน 2556 : ผันผวน แนวต้าน 1445 จุด แนวรับ 1425 จุด ขึ้นขาย ลงซื้อ เทคนิค แนะนำ เก็งกำไร UNIQ THAI TFD Highlight วันนี้: · ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ลดลง วิตกปัญหางบฯและเพดานหนี้สหรัฐฯ · +/-ไฮไลท์ วันนี้ จับตา USA: 2Q56F GDP ครั้งสุดท้าย คาด 2.6%q-q (Vs ครั้งที่สอง 2.5%) Pending Home Sales สค คาดดีขึ้น -0.8%m-m (Vs -1.3%) UK คาด 2Q56F GDP ครั้งสุดท้าย คงที่ที่ 0.7%q-q Taiwan คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.875% · +Technical Rebound หนุนตลาดหุ้นไทยปิดสวนตลาดกลุ่ม TIPs ที่ปรับลดลง -0.6%-1.2% · +น้ำมันลดลงต่อ หลังยูเอ็นเตรียมเจรจาอิหร่านครั้งใหม่ และประกาศแผนกำจัดอาวุธเคมีซีเรีย วันนี้ · *ประธานสภา นัดลงมติวาระ3 การแก้ไขรธน.วันเสาร์นี้ หลังศาลฯไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว · -นักลงทุนต่างชาติขายเป็นวันที่ 3 อีก -2.43 พันลบ. รวม 3 วันขายสะสม -5.32 พันลบ.แต่ทั้งเดือนสะสมซื้อ +1.6 หมืนลบ. ส่วนกองทุนในประเทศ ซื้อเพิ่ม 713 ลบ. รวม 2 วันสะสม +1.31 พันลบ.และทั้งเดือนซื้อ +.975พันลบ. · ฝ่ายกลยุทธ์ออกรายงานประจำไตรมาส 4Q56 ปรับลดดัชนีฯเป้าหมายเหลือ 1549 จุด เน้นหุ้นปันผลดี ADVANC BECL BTS INTUCH KKP PTT RATCH SAMART SITHAI TMT/ รายงานเมนูหุ้นเด็ดประจำเดือนตุลาคม แนะนำ หุ้นรสกลมกล่อม INTUCH BTS BECL/ หุ้นรสแซ่บ THCOM TMB CENTEL หุ้นในกระแส แนะนำ : · เทคนิค แนะนำเก็งกำไรสั้นๆ UNIQ แนวต้าน 8.60 THAI แนวต้าน 19.60/21.20 TFD แนวต้าน 9.30/10.00 · หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4%) ได้แก่ BKD TRUE PSL TTA IVL LPN ส่วนหุ้น ลดลงกว่า 2% ได้แก่ CHO EVER MC PLE NOK HEMRAJ · NVDR สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTT+225 AOT+200 PTTGC+149 STEC+105 PTTEP+101 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ BBL-232 ADVANC-91 KBANK-73 INTUCH-60 · หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด ได้แก่ KBANK 55 TRUE 37 IVL 34 BBL 29 INTUCH 28 Market Outlook: ตลาดเลือกแนวทาง ปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1445/1455 จุด แนวรับ 1425/1415 จุด โมเมนตั้มบวกจะมาจาก ปัจจจัยสนับสนุนทางเทคนิค (เกิดสัญญาณปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ หลังดัชนีฯต่ำสุดวานนี้ 1413.63 จุด และดีดตัวไปปิดระดับสูงสุดของวันที่ 1436.90 จุดในช่วงภาคบ่าย) ส่วนข่าวดีวันนี้ จะมาจาก รายงาน 2Q56F GDP สหรัฐฯครั้งสุดท้าย คาดเติบโตสูงกว่าเดิม 2.5%q-q (2.6-3%) ซึ่งจะส่งผลบวกต่อหุ้นอิงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เช่น แบงก์ สินค้าโภคภัณฑ์ และหุ้นเก็งกำไรที่ลดลงแรง ส่วนปัจจัยลบ ยังคงเป็น การวิตกต่อ การผ่านงบประมาณปี 57 ของสภาสหรัฐฯอาจไม่ทันเส้นตายสิ้นเดือนนี้ และการลดขนาดQEของเฟดในเดือนตุลาคม/ธันวาคม (จับตา การส่งสัญญาณของประธานเฟดสาขาต่างๆ) ทางเทคนิค (ผันผวนต่อไปอีกระยะหนึ่ง) ระยะสั้น เกิดสัญญาณรีบาวด์ชั่วคราว หลังดัชนีฯสามารถดีดตัวขึ้นเป็นวันแรก แต่การอยู่ในภาวะ Overbought ยังคงทำให้ดัชนีฯยังคงมีความผันผวนต่อไปอีกระยะหนึ่ง ประเด็นข่าวบวกอื่นๆ คือ 1. เราคาดว่าโอกาสที่เฟดจะลดขนาด QE ในเดือนตุลาคม มีโอกาสเพียง 9.8% อิงโพลล์รอยเตอร์ล่าสุด ที่สำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์ 61 ราย ทำให้อาจมีแรงซื้อเก็งกำไรจากต่างชาติ Carry Trade Funds เพิ่มขึ้น 2. ตัวเลขเศรษฐกิจโลก มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดคืนนี้ อาจรายงาน 2Q56F GDP ครั้งสุดท้าย 26 ก.ย.. สูงกว่าประมาณการเดิม 2.5%q-q สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ปัจจัยลบ ที่ต้องจับตา คือ 1. QE-ความเห็นของประธานเฟดสาขาต่างๆ จะส่งผลให้นักลงทุนวิตกต่อเฟดจะลดขนาด QE3 ในเร็วๆนี้ 2. USA-การวิตกเกี่ยวกับกำหนดเส้นตายสองเรืองโดยก่อนวันที่ 1 ต.ค. สภาคองเกรสจำเป็นต้องอนุมัติเงินชั่วคราวสำหรับหน่วยงานรัฐบาลกลาง และภายในวันที่ 17 ต.ค. สภาคองเกรสต้องปรับเพิ่มเพดานการกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ หากไม่มีการอนุมัติงบประมาณ การปิดหน่วยงานรัฐบาลอาจเริ่มขึ้นขณะที่ปีงบประมาณใหม่จะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค. 3. ไทย-ปัญหาน้ำท่วม กลับมาเป็นประเด็นจับตาอีกครั้ง หลังหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาน้ำท่วมสูง 4. ไทย-ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรธน.เรื่องที่มาของสว. แต่ไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว สภาฯนัดลงมติวาระ3 วันเสาร์นี้ พอร์ตลงทุน : ถือต่อ (สัญญาณขาย ยังคงไม่เกิดขึ้น ตราบเท่าที่ดัชนีฯไม่หลุดเส้น SMA 25 วัน ล่าสุดอยู่ที่ 1408 จุด ส่วนการแรลลี่ จะมีแนวต้านแรก อยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 วันที่ 1040 จุด และบริเวณจุดสูงสุดเดิม 1445 จุด +หุ้นปันผลดี : แนะนำ BTS BECL INTUCH SIRI SITHAI +เก็งกำไร หุ้นในกลุ่ม SET 100 ที่มี %Upside >10% และมีกำไรปีนี้ เติบโตสูงกว่า 20% ปันผลปีนี้ >3% ได้แก่ KCE BECL QH SAMART SCC MAJOR BCP LOXLEY PS HEMRAJ SCB AMATA SPALI ประเด็นที่มีผลต่อตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทย Outlook: 1. Economic Indicators/Events – สัปดาห์นี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นไฮไลท์ : วันพฤหัสฯ US 2Q56F GDP ครั้งที่สาม คาด +3.1%q-q (Vs +2.5% และ 1Q56 +1.1%) วันศุกร์ : US Consumer Sentiment ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และ Japan CPI ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ (Update วานนี้) : · +USA: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ดีกว่าคาดการณ์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 7.9% m-m สู่ 421,000 ยูนิตในเดือนส.ค.(Vs รอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่จะอยู่ที่ 420,000 ยูนิตในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจาก 394,000 ยูนิตในเดือนก.ค) และ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 0.1%m-m ในเดือนส.ค. หลังร่วงลง 7.4% ในเดือนก.ค.(Vs รอยเตอร์คาดไว้ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนจะทรงตัวในเดือนส.ค) · Oil ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว อิหร่านตกลงที่จะเจรจาเรื่ืองโครงการนิวเคลียร์กับนักการทูตของชาติมหาอำนาจ 6 ชาติในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งรวมถึงนายจอห์น แคร์รี รมว.ต่างประเทศของสหรัฐ รวมถึง ในสัปดาห์นี้ยูเอ็นอาจจะประกาศสนับสนุนแผนการของสหรัฐ-รัสเซียในการกำจัดอาวุธเคมีของซีเรีย แม้ รมช.ต่างประเทศรัสเซีย กล่าววานนี้ วา การเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐ เกี่ยวกับข้อพิพาทว่าด้วยการกำจัดอาวุธเคมีในซีเรียนั้น ไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และรัสเซียวิตกว่า ข้อตกลงเรื่องอาวุธเคมีดังกล่าว อาจทำได้เพียงชะลอปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐ เท่านั้น ส่วน สุนทรพจน์ของประธานเฟดสาขาต่างๆ – จะเป็นไฮไลท์ต่อมุมมองเศรษฐกิจและ QE : วันพฤหัสฯ Kocherlakota วันศุกร์ George , Evans, Rosengren, Dudley (Updtae) ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ เฟดหลายท่าน ส่งสัญญารว่า เฟดควรลดขนาด QE · -นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ค ระบุว่า เฟดยังคงมีแนวโน้ม อย่างมากที่จะปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตราบใดที่เศรษฐกิจยังคงปรับตัวดีขึ้น -นายริชาร์ด ฟิสเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส เตือนว่า การที่เฟดไม่ดำเนินการใดๆนั้นส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเฟด และระบุว่า เขาสนับสนุนการปรับลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในการประชุมสัปดาห์ที่ผ่านมา · -นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ เมื่อวันศุกร์ กล่าวว่า เฟดอาจจะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมในเดือนหน้า ถ้าหากข้อมูลบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น 2. QE Impact : คาดว่าจะเป็นปัจจัยสร้างความผันผวนในสินทรัพย์ เสี่ยงทั่วโลก โดยเฉพาะ EM Reuter Poll” ชี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดเฟดเริ่มลดวงเงิน QE ในเดือนธ.ค. ผลสำรวจของรอยเตอร์พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดขนาดของโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในเดือนธ.ค.นี้ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ 42 รายระบุว่า เฟดจะปรับลดโครงการ ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่จะทำตามแนวทางชี้แนะของนายเบอร์นันเก้ ก่อนที่เขาจะพ้นวาระการดำรงตำแหน่ง ในเดือนม.ค.2014 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ 11 รายคิดว่า เฟดจะปรับลดโครงการในช่วงต้นปีหน้า นักเศรษฐศาสตร์เพียง 6 รายคิดว่าเฟดจะปรับลด QE ในเดือนหน้า ขณะที่อีก 1 รายคาดว่าจะปรับลดในเดือนพ.ย. และอีก 1 รายคาดว่าจะปรับลดในไตรมาส 2 ของปีหน้า ผลสำรวจยังระบุว่า เฟดจะลดขนาดของโครงการลง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยประกอบด้วยการลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และลดการซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) 5 พันล้านดอลลาร์ Equities: ประเด็นการลดขนาด QE จะเป็นปัจจัยลบระยะสั้น ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง) เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฯลฯ เราคาดว่า การลดขนาด QE3 มีโอกาสสูงที่จะไม่เกิดขึ้นในปีนี หรือกรณีเร็วที่สุด อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม เพราะเฟดไม่ได้มีการส่งสัญญาณว่ามีการเตรียมตั้วสำหรับการเริ่มต้นการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE) แต่อย่างใด ยกเว้นการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก และเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้มุมมองของการลดขนาด QE มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า หรืออย่างเร็วที่สุดในการประชุมเดือนธันวาคม หลังงบประมาณปี 57F ของสภาสหรัฐฯได้ข้อยุติ และข้อมูลเศรษฐกิจส่งสัญญาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แผนที่จะมีการลดขนาดของ QE ให้เสร็จสิ้นกลางปีหน้า ของประธานเฟด เบอร์นาเก้ มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเลื่อนออกไป 3. USA- ปัญหางบประมาณปี 57F เส้นตายสิ้นเดือนกย. และการขยายเพดานหนี้ ภายในกลางตค. ก่อนไม่มีเงินคืนหนี้ จะเป็นไฮไลท์สำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯและทิศทางตลาดหุ้นโลก ในช่วงที่เหลือของเดือนกันยายน หากสภาคองเกรส ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ไม่สามารถอนุมัติร่างกฎหมายจัดสรรเงินทุนให้แก่รัฐบาลสหรัฐ หน่วยงานรัฐบาล ซึ่งรวมถึงเอฟบีไอ, กระทรวงศึกษา, กระทรวงกลาโหม และสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ก็อาจจำเป็นต้องปิด การดำเนินงานในส่วนที่ไม่จำเป็นในวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นวันแรกสำหรับปีงบประมาณใหม่ของสหรัฐ ทางด้้านนายสตีฟ เบล นักวิเคราะห์ของศูนย์นโยบายร่วมระหว่างพรรค เดโมแครตและรีพับลิกันกล่าวว่า นายลูว์สมควรกังวลกับเรื่องนี้ โดยศูนย์นโยบาย แห่งนี้ประเมินว่า รัฐบาลสหรัฐจะเริ่มผิดนัดชำระหนี้ระหว่างวันที่ 18 ต.ค.- 5 พ.ย. ทั้งนี้ เพดานหนี้ ณ สิ้นสุดกั้นยายนปีนี้ อยู่ที่ $16.7trn. นับตั้งแต่ปีคศ 1960 เป็นต้นมา คองเกรสมีการปรับจำนวนขึ้น 78 ครั้ง และขยายเวลาชั่วคราว หรือ เปลี่ยนแปลง คำนิยามของ Debt Limit 49 ครั้งภายใต้ประธานาธิบดีรีพับลิกัน และ 29 ครั้งของเดโมแครต ปรับขึ้นชั่วคราวหรือขยาย Comment: แม้ตลาดคาดว่า สภาสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อยุติได้ทันเส้นตายสิ้นเดือนนี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดประวัติศาสตร์ซำรอยปลายปีก่อนอีกครั้ง เนื่องจาก เกมทางการเมืองระหว่าง 2 พรรค ที่ต่างไม่ยอมประนีประนอม ซึ่งจะยิ่งสร้างความกังวลให้กับตลาดมากขึ้น ซึ่งการที่รีพับลิกันยื้อให้โอบามายืดเวลาการเริ่มใช้กฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพออกไป จะทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจในกระบวนการและความมั่นคงทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2011ปัญหานี้ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างหนัก ประกอบกับที่อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่แล้วแม้ว่าจะปรับลดลงมาบ้าง จากที่เฟดยังคงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ แต่ปัญหาเพดานหนี้จะเป็นการซ้ำเติมให้อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ กลับสูงขึ้นอีกได้ และจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้ 4. อุตสาหกรรมที่มีประเด็นข่าว -กลุ่มบ้าน :"ทริส"มองเอกชนเสี่ยงขึ้นหลังหนี้เพิ่ม,อสังหาฯบางรายอาจถูกลดเครดิต ทริสเรทติ้ง ระบุ โครงสร้างเงินทุนของบริษัทเอกชน ภายใต้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของทริสฯในช่วงที่ผ่านมา มีความเสี่ยงเ
Posted on: Thu, 26 Sep 2013 02:52:11 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015