กฏพื้นฐานสำคัญ 15 ประการ - TopicsExpress



          

กฏพื้นฐานสำคัญ 15 ประการ เพื่อเอาชนะตลาดหุ้น : Tent How Posted by admin in Investment, Our Columnist on ม.ค. 28th, 2013 | 0 Comments and 0 Reactions (2 votes, average: 5.00 out of 5) “ตลาดหุ้นมันคือสงคราม การที่คุณจะมาหวังกำไร 10% 20% จบกันไป แล้วจะหวังให้ตลาดหุ้นมันปราณีคุณตอนที่หุ้นตก มันไม่ใช่แบบนั้น มันเอาจนคุณหมดตัว สึนามิมา มันก็พัดพาไปหมด” - วิชัย วชิรพงศ์ - คำกล่าวนี้อาจดูเกินจริง หากไม่ได้หลุดมาจากปากของ ‘วิชัย วชิรพงศ์’ หรือที่รู้จักกันในนามของ “เสี่ยยักษ์” กูรูหุ้นพันล้านผู้ที่ผ่านพบอุปสรรคมานานับปการในสนามรบนี้เป็นเวลากว่า 20 ปี เมื่อตลาดหุ้นเป็นเหมือนสงครามที่ทุกคนเข้ามาเพื่อต้องการชัยชนะ แต่น้อยคนนักที่จะสามารถอยู่รอดในสมรภูมิแห่งนี้ได้ ตามสถิติแล้ว ใน 10 คนจะมีผู้ชนะเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น ด้วยอัตราการอยู่รอดที่น้อยนิด ผมจึงแปลบทความนี้ซึ่งเขียนโดย Charles E. Kirk เพื่อให้นักลงทุนทุกท่านนำกฏพื้นฐาน 15 ประการนี้ ไปประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้นไทยและสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน Gerald Loeb หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท E.F. Hutton เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จใน Wall Street นอกจากนั้น เขายังได้เขียนหนังสือชื่อดังสองเล่มคือ ‘The Battle for Investment Survival’ และ ‘The Battle for Stock Market Profit’ Loeb เสนอมุมมองที่ค่อนข้างตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ในยุคของเขา นั่นคือ เขามองว่า “การถือหุ้นในระยะยาวนั้นมีความเสี่ยงสูงเกินไป” เพราะในช่วงเวลานั้น คนส่วนใหญ่นิยมซื้อหุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมแล้วถือไปเรื่อยๆ ไม่ว่าแนวโน้มของตลาดหรือแนวโน้มของหุ้นนั้นๆจะเป็นอย่างไร จึงทำให้มุมมองของ Loeb ดูค่อนข้างนอกรีตนอกรอยในสายตาของคนทั่วไป แต่ถึงแม้ว่า Loeb ไม่เคยได้มีโอกาสอยู่ในสถาพแวดล้อม ณ ปัจจุบัน ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อขายหุ้น และการแทรกแซงจากรัฐบาล แต่แนวคิดของเขาก็ยังสามารถนำมาใช้ได้จวบจนทุกวันนี้ จากหนังสือทั้งสองเล่มของเขา นี่คือ กฏพื้นฐานสำคัญ 15 ข้อ ที่ Loeb เน้นย้ำว่าต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่เอาชนะตัวเอง แต่รวมถึงเพื่อให้เราสามารถชนะตลาดได้ด้วย 1. สิ่งทุกคนรู้กันหมดแล้วในตลาดย่อมไม่มีค่า 2. หุ้นจะเกินมูลค่าของมันเสมอในตลาดกระทิง และต่ำกว่ามูลค่าของมันในตลาดหมี 3. หุ้นที่ดีราคาจะดูแพงเกินไปเสมอสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ 4. ความคาดหวัง คือสิ่งที่ทำให้ตลาดเคลื่อนไหวไม่ใช่ข่าว 5. พื้นฐาน 3 ข้อในการประเมินมูลค่าหุ้น 5.1 คุณภาพ (พื้นฐานของหุ้น, สภาพคล่อง และ การบริหารจัดการ) 5.2 ราคา 5.3 แนวโน้ม (สำคัญที่สุด) 6. แต่ละช่วงของหุ้นก็เหมือนกับวัยของคนเรา มีตั้งแต่ ช่วงแรกเกิด, กำลังเติบโต, โตเต็มที่ และช่วงเสื่อมโทรมหรือตกต่ำลง(วัยชรา) กุญแจสำคัญคือต้องระบุให้ได้ว่า หุ้นแต่ละตัวอยู่ในช่วงใดจะเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้เปรียบคนอื่น 7. ในการเข้าซื้อหุ้นให้เริ่มต้นด้วยการซื้อจำนวนไม่มาก แล้วซื้อเพิ่มเมื่อราคาเคลือนที่ไปตามที่คาดไว้ 8. คุณจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ หากคุณไม่กระจายความเสี่ยงมากเกินไป 9. คุณต้องอดทนต่อสิ่งเร้าที่ยั่วยวนใจที่ส่งผลให้หลักการลงทุนของคุณเปลี่ยนไปในทุกๆวัฐจักรของตลาด 10. ถ้าต้องการจะประสบความสำเร็จในการลงทุนคุณจะต้อง A. ตั้งเป้าหมายให้สูง B. จำกัดความเสี่ยง C. ไม่กลัวที่จะนำเงินไปลงทุน D. อดทน และใจต้องนิ่ง 11. นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จนั้นจะฉลาด พวกเขาเข้าใจจิตวิทยา, ฝึกฝนอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งยังสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว 12. คุณอย่าคิดว่าตลาดจะเป็นอย่างไร แต่จงไปตามการเคลื่อนของตลาด 13. ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ เป็นหนึ่งในนิสัยที่แยกผู้ที่ประสบความสำเร็จจากคนอื่น 14. ตลาดหุ้นนั้นเป็นมากกว่าศาสตร์และศิลป์ มันซับซ้อนเกินว่าที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจ 15. จงขายหุ้นทิ้ง เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด จากพื้นฐานที่สำคัญ 15 ประการนี้ ลองถามตัวคุณเองว่า “จากพื้นฐานทั้ง 15 ประการนี้ มีข้อไหนบ้างที่คุณเห็นไม่เห็นด้วย และดูขัดแย้งจากประสบการณ์การลงทุนของคุณ?” การถามตัวเองนี้ ไม่ใช่เพียงเพื่อให้คุณมองว่าคุณอาจจะคิดผิดในสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วย แต่การเรียนรู้ในมุมมองที่แตกต่างออกไปนั้น ก็อาจทำให้คุณได้พบหนทางใหม่ในการพัฒนาผลตอบแทนขอบคุณให้ดียิ่งขึ้น ผู้เขียนบทความนี้ (Charles) ได้ให้หนึ่งในสมาชิกทดสอบสิ่งที่เขายืนกรานไม่เห็นด้วยกับมุมมองของ Loeb ที่ว่า “คุณจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ หากคุณไม่กระจายความเสี่ยงมากเกินไป” จากการติดตามผลตอบแทนของสมาชิกที่ได้ทำการทดลอง ก็พบว่า การกระจายความเสี่ยงมากเกินไป กลับกลายเป็นตัวขัดขวางผลตอบแทนของเขา โดยจากการตรวจสอบพบว่า พอร์ตของเขามีการถือหุ้น และ ETF มากกว่า 30 ตัว ซึ่งแต่ละตัวก็ได้ผลตอบแทนดีบ้าง แย่บ้าง แต่ผลก็คือ มันได้ถ่วงผลตอบแทนของเขาลงไปอย่างมาก เห็นได้ชัดว่า ความเชื่อผิดๆเรื่องการกระจายความเสี่ยงของเขา กลับเป็นสิ่งที่ขวางไม่ให้เขาประสบความสำเร็จตามที่เป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น เมื่อ Charles ได้ให้สมาชิกคนนั้นทบทวนกฏพื้นฐาน 15 ประการ ของ Loeb อีกครั้ง เขาจึงยอมรับว่า การกระจายความเสี่ยงมากเกินไปเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ฉุดผลตอบแทน ถึงแม้มันจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมของเขาก็ตาม กล่าวโดยสรุปแล้ว หลายต่อหลายครั้งที่แนวคิดใหม่มักขัดแย้งกับความคิดเดิมของเราโดยสิ้นเชิง แต่มันกลับสามารถช่วยให้เราพัฒนาขึ้นได้อย่างมาก จากประสบการณ์ของ Charles พบว่า ‘นักลงทุนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องที่ขัดแย้งกับความเชื่อหรือวิธีการของตนเอง มักจะประสบความสำเร็จ’…
Posted on: Tue, 16 Jul 2013 04:18:59 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015