[การฝากขาย #3] - TopicsExpress



          

[การฝากขาย #3] มาต่อด้วยเรื่องของการออกใบกำกับภาษี ในการทำธุรกรรมลักษณะ"ตัวแทน" ประมวลรัษฎากร ได้กล่าวไว้ใน ม.86 วรรค 4 ว่า"การออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด" ซึ่งประกาศฯฉบับแรกที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์นี้ คือ ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 5 ข้อ 2 "ในกรณีตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 8 และ ได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ตามมาตรา 78 (3) " ซึ่งข้อ 2 นี้ตีความได้ว่า เมื่อมีการปฎิบัติตามประกาศอธิบดีฉบับที่ 8 ที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 2 นั้น เมื่อ Supplier ส่งสินค้าไปให้ห้างฯเพื่อฝากขาย Supplier ยังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีหรือ Tax point ยังไม่เกิดนั้นเอง แต่เมื่อห้างฯขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ Tax point จึงเกิดขึ้น นั้นคือ ห้างฯจะต้องออกใบกำกับภาษีในนามของ Supplier ให้กับลูกค้าเมื่อขายได้ แต่ปัญหาของประกาศอธิบดีฯ นี้ อยู่ที่ข้อ 3 "ตัวแทนของผู้ประกอบการในราชอาณาจักรต้องออกใบกำกับภาษีที่มีรายการครบถ้วน ตาม ม.86/4" ม.86/4 ก็คือการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบนั้นเอง ซึ่งในธุรกิจขายปลีกของห้างฯคงเป็นไปได้ยากมากที่จะแบบเต็มรูป(ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของลูกค้า) อย่างไรก็ตาม RD มองเห็นปัญหานี้และได้พยายามแก้ไข โดยมีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 198 (พ.ศ. 2538) เพื่อเป็นต้นทางในการแก้ไขปัญหา โดยได้กำหนดให้ ใบกำกับภาษีที่ออกโดยตัวแทนที่เป็นห้างสรรพาสินค้านั้น เป็นใบกำกับภาษีที่อธิบดีกำหนดให้มีรายการเป็นอย่างอื่นได้ ตามอำนาจใน ม.86/5 หรือ หมายความว่า อธิบดีสามารถกำหนดให้ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างฯในนาม Supplier นั้น ไม่ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปก็ได้ แล้วเราจะมาดูกันในคราวต่อไปว่า อธิบดีได้กำหนดไว้อย่างไรและแก้ไขปัญหาได้หรือไม? ( ข้อสังเกตุ : การที่ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติว่า เมื่อตัวการโอนสินค้าไปให้กับตัวแทน Tax point ยังไม่เกิดขึ้นนั้นน่าจะอิงกับเรื่องของกรรมสิทธิ์นั้นคือเมื่อยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าภาระภาษีก็ควรยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักของ VAT ที่ว่า VAT เป็นภาษีบริโภค)
Posted on: Tue, 16 Jul 2013 18:34:00 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015