การเลือกตั้งใหม่นี้ - TopicsExpress



          

การเลือกตั้งใหม่นี้ อูนุ ยังได้เสียงข้างมากอยู่แต่ก็ตกอยู่ในฐานะยุ่งยากเพราะมีเหตุการณ์วุ่นวายจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงของบุคคลเกิดขึ้นมากในคณะรัฐบาล และความขัดแย้งเรื่องศาสนาที่อูนุประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทำให้ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่น เช่น รัฐคะฉิ่น ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนมาก และขยายไปถึงกะเหรี่ยงและฉิ่นด้วย นอกจากนั้น การประกาศให้รัฐที่เป็นชนกลุ่มน้อยเป็นอิสระแยกตัวเองออกจากพม่าได้ ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาปางโหลง ทำให้ชนกลุ่มน้อยเริ่มทวงสิทธิตามรัฐธรรมนูญและเริ่มมีการปะทะกันอีก บ้านเมืองจึงเกิดความวุ่นวายและกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของพม่าในขณะนั้น กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามให้กับอังกฤษ และผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ จากสงครามโลกครั้งที่ 2. ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ เนวิน นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลอูนุ ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1962 และเริ่มการปกครองแบบเผด็จการโดยคณะทหารนับตั้งแต่นั้นมา หลังการปฏิวัติ เนวินได้ปรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นสังคมนิยม โดยใช้ชื่อว่า “สังคมนิยมวิถีพม่า” (The Burmese Way to Socialism) โดยยึดกิจการของเอกชนมาเป็นของภาครัฐ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1947 รวมทั้งพรรคการเมืองต่างๆ ในระบบรัฐสภา ยกเลิกสิทธิพิเศษของบรรดาเจ้าฟ้าผู้ปกครองชนกลุ่มน้อยที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และจัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เหมือนกันหมดทั้งประเทศ การบริหารต่างๆ ถือเป็นอำนาจของรัฐบาลกลางเท่านั้น มีการจัดตั้งสภาแห่งรัฐขึ้น และมีคณะรัฐมนตรีดำเนินการบริหารในรัฐ ปฏิเสธความเป็นผู้นำท้องถิ่น และปฏิเสธการแยกตัวเป็นอิสระของบรรดารัฐชนกลุ่มน้อยอย่างสิ้นเชิง โดยใช้วิธีทางทหารเข้ามาแก้ปัญหาอย่างรุนแรง นโยบายรวมชาตินี้ส่งผลให้เกิดความไม่สงบไปทั่วประเทศ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีองทัพที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย กองทัพพม่าโตขึ้นมากในช่วงปี ค.ศ. 1972 จำนวนทหารเพิ่มขึ้นจากจำนวนพันในปีค.ศ. 1948 มาเป็นหลักแสน พร้อมอาวุธสงครามที่มีประสิทธิภาพ กองทัพพม่าในยุคเนวินจึงเป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็ง และมีเอกภาพที่สุดในพม่าจนถึงการประท้วงเมื่อปี ค.ศ. 1988 อันเป็นการสิ้นสุดรัฐบาลนายพลเนวิน (พรพิมล ตรีโชติ, 2542: 34-35) การเมืองพม่าตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ ค.ศ. 1988 ช่วงเวลาสามเดือนตั้งแต่กรกฎาคม – กันยายน ค.ศ.1988 เป็นช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของพม่า ซึ่งทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพม่าถือเป็นหมายเหตุของการเมืองพม่ายุคใหม่ นักศึกษาพม่าได้มีบทบาทอีกครั้งหลังจากการเรียกร้องเอกราช ในการนำทั้งพระสงฆ์ ประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงต่อต้านระบบทหารของนายพลเนวิน และเรียกร้องให้พม่าเปลี่ยนแปลงสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การประท้วงใหญ่ เมื่อ 8 สิงหาคม (และ 8 กันยายน) ปี 1988 ตามหมายเลข 8 อันเป็นมหามงคลของฝ่ายประท้วง มีคนเข้าร่วมขบวนนับเป็นล้านคน เพื่อบีบให้นายพลเนวินยอมรับความผิดพลาดในการบริหารประเทศที่เขาครองอำนาจมาถึง 26 ปี ทำให้พม่าซึ่งเคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากร ต้องกลายเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดขององค์การสหประชาชาติ มีฐานะเป็น LCD หรือ Least Developed Country มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียง 200 เหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่ไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 1 พันเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 1988 (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544: 84) นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าหรือ BSPP พร้อมๆ กับการลาออกของประธานาธิบดีซันยุ แล้วตั้งนายพลเส่งลวินที่มีชื่อเสียงในการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนขึ้นมาครองอำนาจช่วง 27 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม ซึ่งในช่วงเวลาระยะสั้นๆ นี้ เส่งลวินสั่งยิงนักศึกษาประชาชนอีก 3,000 คน จากนั้นบรรดาผู้นำนักศึกษาก่อการประท้วงอีกในวันที่ 8 สิงหาคม จนทำให้รัฐบาลเส่งลวินล้มลง ต่อจากนั้นหม่องหม่อง นักกฎหมายในสายของเนวิน ถูกเสนอขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี แต่ก็ยังมีการประท้วงรุนแรงและต่อเนื่อง ในวันที่ 18 กันยายน นายพลซอหม่อง อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมก็ทำรัฐประหาร ทำให้เหตุการณ์ในพม่าจบลงด้วย “รัฐอาชญากรรม” (State Crime) แบบเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) ของไทย มีนักศึกษาถูกยิงเสียชีวิตไปอีก กว่า 1,000 คน แต่ตัวเลขของรัฐบาลบอกว่าเพียง 400 คน ซึ่งไม่มีใครเชื่อถือ หลังจากนั้นยังมีการจับและปราบปราม และปลดข้าราชการที่มีส่วนสนับสนุนการประท้วงและการหยุดงานใน 3 เดือนของการเรียกร้องประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามคณะรัฐประหารก็ต้องยอมรับหลักการว่าด้วยประชาธิปไตย และจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในปีค.ศ. 1990 อีกทั้งยังยินยอมให้มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544, 86-87) วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1988 ได้มีการจัดตั้ง State Law and Order Restoration Council (SLORC) ภายใต้การนำของนายพลอาวุโสซอหม่อง (Senior General Saw Maung) การครองอำนาจของทหารไม่ได้ส่งผลให้เกิดสันติภาพ ดังที่ทหารได้สัญญาไว้ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่เมื่อไทยเกิดรัฐประหารโดยคณะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อล้มรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์โดยเปรียบเทียบกับการรัฐประหารของพม่า ในเรื่องที่ว่าทหารจะคืนอำนาจให้ประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ เพราะรัฐบาลทหารพม่าเป็นตัวอย่างในการไม่รักษาสัญญาและกุมอำนาจเบ็ดเสร็จนับแต่นั้นมา การรัฐประหารปี ค.ศ. 1988 ได้ทำลายการก่อรูปของประชาธิปไตยลง รวมทั้งระบบสหพันธรัฐและเสรีภาพของสื่อ หลังจากนั้นผู้นำทางการเมืองและนักเคลื่อนไหวต้องหลบหนีเข้าไปอยู่ในป่าเขตชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะในเขตของ Karen National Union ของนายพลโบเมี๊ยะในขณะนั้น จนปัจจุบัน KNU เป็นกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามายาวนานถึง 60 ปี โดยมีฐานที่มั่นอยู่ใกล้ชายแดนไทย ตรงข้ามอำเภอพบพระและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก บางส่วนไปเข้ากับคอมมิวนิสต์พม่าแถบตะวันออกเฉียงเหนือใกล้พรมแดนจีน ส่วนหนึ่งหนีไปพึ่งมอญแถบใกล้ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 600 คนได้ไปอาศัยอยู่กับ New Mon State party: NMSP ของรองประธานพรรคนายโนนลา อีกส่วนลงมายังเกาะสอง หรือวิคตอเรียพอยต์ ตรงข้ามจังหวัดระนอง การเรียกร้องประชาธิปไตยพม่ากลายเป็น “สงครามกลางเมือง” อันยืดยาวและเจ็บปวด (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544: 88) แม้ว่า SLORC จะทำตามสัญญาในการจัดการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1990 แต่ก็พยายามใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อทำลายโอกาสในการชนะเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้าน. ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 นางอองซาน ซู จี ถูกจับกุมและคุมขังภายในบ้านของเธอ โดยไม่มีการตั้งข้อหา ต่อมาใน ค.ศ. 1991 เธอได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ นอกจากนั้นผู้นำฝ่ายค้านที่สำคัญคนอื่นๆ ก็ถูกจับกุมและคุมขังด้วย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 พฤษภาคมค.ศ. 1990 มีการเลือกตั้งทั่วไปตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ แต่ชัยชนะอย่างล้นหลามกลับเป็นของฝ่ายค้านคือพรรค NLD ซึ่งได้ที่นั่งทั้งหมดถึง ร้อยละ 81 คือ 392 ที่นั่งจาก 492 ที่นั่งในสภา แต่รัฐบาลก็กลับลำโดยไม่รับรองผลการเลือกตั้ง และจับกุมนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นักการเมืองฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยหนีการจับกุมมายังชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทยมากขึ้นอีก จากเหตุการณ์ข้างต้นทำให้ประชาคมโลกประณามการกระทำของรัฐบาลพม่า ประเทศตะวันตกดำเนินนโยบายคว่ำบาตรและตัดความช่วยเหลือต่างๆ ผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนหลายคนได้หนีออกมาและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น (The National Coalition of the Union of Burma: NCGUB) โดยมี Dr. Sein Win ซึ่งเป็นญาติกับนางอองซาน ซูจี เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา NCGUB มีกิจกรรมชัดเจนในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และติดต่อกับองค์กรต่างประเทศในการเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมในฐานะตัวแทนของประชาชนพม่า แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการ (ณัฐวดี ดวงตาดำ, 2549: 60). รัฐบาลพลัดถิ่นมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสื่อพม่าพลัดถิ่น DVB โดยเฉพาะ Dr. Sein Win ซึ่งยังเป็นคณะกรรมการของมูลนิธิ DVB อยู่ในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1989 รัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศจาก Burma เป็น Myanmar โดยอ้างว่า คำว่าพม่าที่มีความหมายแค่ชนเชื้อชาติพม่าที่มีแต่คนเชื้อชาติพม่า จึงไม่สมควรใช้คำนั้น เนื่องจากในพม่าประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ มากมาย แต่อันที่จริงแล้ว เป็นการเปลี่ยนคำภาษาอังกฤษให้ตรงกับภาษาพม่าคือ Burma (พม่า) เป็น Myanmar (เมียนมาร์) ซึ่งหมายถึงชาวพม่านั่นเอง และเปลี่ยนชื่อเมือง Rangoon เป็น Yangon ตรงกับเสียงในภาษาพม่าอันถือเป็นการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย (ชัยโชค จุลศิริวงศ์, 2541: 494) ในพม่านางอองซาน ซูจี ดำเนินการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี โดยการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวีดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ต่อรัฐบาลทหารพม่า ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามความขัดแย้งของพรรค NLD กับรัฐบาลพม่าก็ไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ และรัฐบาลเองก็ยังใช้วิธีการแบบเผด็จการในการจับกุม คุมขัง และละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในการควบคุมผู้ที่ไม่เห็นด้วย ในปีค.ศ. 1992 นายพลอาวุโสตาน ฉ่วย (Than Shwe) ขึ้นครองอำนาจต่อจากนายพลซอ หม่องที่ลาจากการเป็นประธาน SLORC เนื่องจากปัญหาสุขภาพ นับแต่นั้นมา ตาน ฉ่วย ได้นำนโยบายใหม่ๆ มาใช้ เช่น การปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายคนยกเว้นนางอองซาน ซูจี มีการจัดประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เปิดมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาชั้นสูงใหม่ ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในเรื่องการคอรัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของการเมืองพม่า นางอองซาน ซูจี ถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 หลังจากถูกควบคุมตัวมา 6 ปี และถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็นครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ค.ศ.2000 และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้งของรัฐบาล กับกลุ่มผู้สนับสนุน ซูจี ระหว่างที่นางเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า ทำให้ผู้สนับสนุนของนางบาดเจ็บล้มตายไปหลายสิบคน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.2003 เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2007 พระสงฆ์และประชาชนที่ได้ร่วมประท้วงรัฐบาลทหารได้เดินทางไปยังบ้านพักนางอองซาน ซูจี ซึ่งนางได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003. เหตุการณ์เหล่านี้ยิ่งทำให้พม่ากลายเป็น “ปัญหา” ในสายตาของโลกประชาธิปไตยเอง แต่กระนั้นประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังยอมรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิกของ Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ท่ามกลางการท้วงติงและคัดค้านจากประเทศทางตะวันตกที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ในส่วนของพม่าเองก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 เมื่อรัฐบาลประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงย่างกุ้งไปยังเมืองปินมานา (Pyinmana) ที่ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นกรุงเนย์ปิดอว์ (Naypyidaw) อันหมายถึง “เมืองของกษัตริย์” (City of the Kings) ท่ามกลางสายตาแห่งความสงสัยของนานาประเทศ แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศ ASEAN ด้วยกัน ที่ไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการมาก่อน แต่ศูนย์กลางธุรกิจในปัจจุบันก็ยังอยู่ที่กรุงย่างกุ้งเหมือนเดิม เนื่องจากสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในเมืองหลวงใหม่ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก นอกจากนั้นปัญหากับชนกลุ่มน้อยก็ยังไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะปัญหาผู้ลี้ภัยอันเกิดจากการหนีภัยสงครามกับกองกำลังติดอาวุธและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ที่ส่งผลกระทบกับประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากการอพยพหลั่งไหลเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งผู้ลี้ภัยจากรัฐอารากัน เข้าไปในบังกลาเทศ และชาวกะเหรี่ยง คะเรนนี มอญ ไทใหญ่ พม่า ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2007 เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญอีกครั้งเมื่อพระสงฆ์ซึ่งเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อจิตใจของชาวพม่ามากได้ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำประชาชนในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล อันสืบเนื่องมาจากการประกาศขึ้นราคาเชื้อเพลิงหลายเท่าของรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม ที่ซ้ำเติมความลำบากยากจนแก่ประชาชน ทำให้พระสงฆ์ที่ใกล้ชิดกับประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงอย่างสงบและลุกลามไปยังเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ในที่สุดรัฐบาลตัดสินใจใช้กำลังจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่าสถานการณ์อาจรุนแรงกว่านี้หากพม่ายังปิดประเทศและไม่มีการสื่อสารกับภายนอก แต่การที่พม่าเปิดประเทศรับการลงทุนตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ทำให้พม่ามีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น เริ่มมีสื่อทันสมัยตามแบบของโลกทุนนิยม ที่กลายเป็นส่วนสำคัญในการรายงานเหตุการณ์ครั้งนี้
Posted on: Tue, 20 Aug 2013 02:11:54 +0000

Trending Topics



eight:30px;">
VERY URGENT!!! PLEASE CIRCULATE to your friends, family and
Dosto,aaj hum 1 ajib Prani ke bare me padhenge.. Is jiv ka naam
બોલતા આવડે એ પહેલા બધું જ
Bellafill® Scores FDA Approval For Treatment Of Acne Scars - The
Libya 0-0 Ghana (4-3 PSO): Mediterranean Knights win

Recently Viewed Topics




© 2015