จอห์น ล๊อก - TopicsExpress



          

จอห์น ล๊อก ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกำเนิดของสังคมและระบบการปกครองจากการร่วมกันทำสัญญาของประชาชน แต่แรงจูงใจและมูลเหตุแห่งการมาร่วมกันของมนุษย์ มีพื้นฐานที่แตกต่างจากแนวคิดของฮอบส์ จอห์น ล๊อก มีแนวคิดว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นมุ่งดีต่อกัน ต้องการสันติภาพมีไมตรีจิตและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มิใช่มุ่งร้ายต่อกัน ในสภาวะธรรมชาติมนุษย์มรสิทธิเสรีภาพ มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติในเรื่อง ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน เพื่อจะปกป้องสิทธิเสรีภาพดังกล่าว มนุษย์จึงเข้ามาร่วมทำสัญญากันและจัดตั้งรัฐบาลหรือระบบการปกครอง แนวข้อสอบ 1 นโยบายสาธารณ พร้อมยกตัวอย่าง นโยบายสาธารณะ (อังกฤษ: public policy) หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง นิยาม[1] 1.สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ 2.กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้นเช่น การจัดการบริการสาธารณะ (public services ),การจัดทำสินค้าสาธารณะ (public good),การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 3.แนวทางปฏิบัติบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา 4.ความคิดของรัฐที่กำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร เพียงไร เมื่อไร 5.แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล (ไม่ว่าจะระดับใด) กำหนดขึ้นเพื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ตามมา ตัวอย่าง นโยบายสาธารณะ ตามแนวคิดของ Anderson ของรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ปี 2551 นโยบายเร่งด่วน “โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551” คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง ปี 2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว มีมติ ดังนี้ 1. อนุมัติให้ดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 2. อนุมัติงบกลางปี 2551 ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การ คลังสินค้า (อคร.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวงเงิน 1,132.17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 3. เมื่อโครงการสิ้นสุดระยะเวลาโครงการและกระทรวงพาณิชย์ ได้ระบายหรือจำหน่ายผลิตผลที่รับจำนำไว้ เสร็จสิ้นแล้ว หากมีผลขาดทุนจากผลต่างของราคาที่รับจำนำกับราคาที่จำหน่ายได้ ให้ ธ.ก.ส. ประสานกับสำนักงานงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปีชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป กระทรวงการคลังรายงานว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นโครงการที่รัฐบาลใช้เป็นมาตรการช่วยเหลือ หรือแทรกแซง เพื่อยกระดับราคาผลผลิตการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพตามสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป้าหมายปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง 3.5 ล้านตัน โดย อคส. เป็นผู้รับฝากและออก ใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร ระยะเวลาโครงการตั้งกล่าวเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งได้กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกฯ ในความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ดังนี้ 1. ข้าวเปลือกข้าวเจ้านาปรัง ปี 2551 100% ราคาตันละ 14,000 บาท 2. ข้าวเปลือกข้าวเจ้านาปรัง ปี 2551 5% ราคาตันละ 13,800 บาท 3. ข้าวเปลือกข้าวเจ้านาปรัง ปี 2551 10% ราคาตันละ 13,600 บาท 4. ข้าวเปลือกข้าวเจ้านาปรัง ปี 2551 15% ราคาตันละ 13,200 บาท 5. ข้าวเปลือกข้าวเจ้านาปรัง ปี 2551 25% ราคาตันละ 12,800 บาท ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังวันแรก ในวันที่ 15 มิถุนายน 2551 จำนวน 6 จังหวัด คือ จ.พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สุโขทัย นครปฐม สุพรรณบุรีและพิจิตร ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการที่รัฐบาลได้กระทำจริงตามนโยบายที่พูดไว้ และเป็นนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลได้กระทำเป็นรูปธรรม ตามแนวคิดของ Anderson ในประเด็น นโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนโยบาย (policy demands) ของประชาชน หรือต่อผู้ที่อ้างถึงสิ่งที่ต้องกระทำหรือไม่กระทำ ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ ต่อข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ให้เกิดการกระทำตามข้อเรียกร้อง คำประกาศนโยบายในลักษณะหนึ่ง ก็คือการแสดงออกที่เป็นทางการหรือการระบุความชัดเจนของนโยบายสาธารณะ รูปธรรมของการประกาศเหล่านี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติ มติคณะรัฐมนตรี พระราชกำหนด กฎกระทรวง ระเบียบปฏิบัติ หรือความเห็นของตุลาการ รวมทั้งคำปราศรัยของผู้นำรัฐบาล โดยระบุถึงความตั้งใจของรัฐบาล เป้าหมายสิ่งที่ต้องการกระทำให้ปรากฏเป็นจริง 2.รัฐ ประกอบด้วย รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น 2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ 3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก 4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ 3 พาราดาม 5 พาลาดาม พาราไดม์ที่ 1 : การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจ เป็นแนวความคิดแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน เป็นแนวคิดของนักรัฐศาสตร์ Wilson เป็นต้นกำเนิดแนวคิด “การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” Goodnow กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่แตกต่างกัน 2 ประการ - การเมือง เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบาย การแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ - การบริหาร นำนโยบายต่าง ๆ เหล่านั้นไปปฏิบัติ Leonard D. White ชี้ให้เห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร การศึกษาเรื่องการบริหารรัฐกิจควรจะเป็นการศึกษาในแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษาจาก “ความจริง” ปลอดจาก “ค่านิยม” ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดนโยบายสาธารณะและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของนักรัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจถือเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ พาราไดม์ที่ 2 : หลักการบริหาร มองว่าการบริหารรัฐกิจเป็นเรื่องของหลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ หน้าที่ของการบริหารคือ ประหยัด และ ประสิทธิภาพ แนวความคิดนี้มุ่งศึกษาก็คือ “ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการบริหาร” Gulick ได้เสนอหลักการบริหาร POSDCORB Taylor แสงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด one best way ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด (เน้นเงิน เน้นงาน) ต่อมาพาราไดม์นี้ได้รับการโจมตีจากนักวิชาการสมัยต่อมาว่า การเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และหลักการบริหารไม่สอดคล้องตามหลักของเหตุผล ไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ เป็นแค่ภาษิตการบริหารเท่านั้น พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์ การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง เกิดขึ้นจากการโต้แย้งพาราไดม์ที่ 1 กับ 2 - การบริหารไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้การบริหารต้องศึกษาไปพร้อมกับการเมือง - หลักต่าง ๆ ของการบริหารมีข้อขัดแย้งกันเสมอ จึงไม่ใช่หลักการ ช่วงพาราไดม์ที่ 3 พยายามเชื่อมโยงความคิดระหว่างวิชาการบริหารรัฐกิจกับรัฐศาสตร์ขึ้นใหม่ แต่ผลที่เกิดกลับกลายเป็นทำให้ความเป็นสาขาวิชาห่างไกลกันออกไป มีการละเลยการบริหาร ทำให้บทความทางการบริหารน้อยลง ให้ส่งผลนักวิชาการรัฐกิจบางกลุ่มไม่พอใจ/น้อยใจในสถานภาพแบบนั้น รู้สึกเป็นพลเมืองชั้นสองในคณะรัฐศาสตร์ ทำให้เกิดพาราไดม์ที่ 4 Elton Mayo -- Human Relation (พฤติกรรมกลุ่ม) Maslow -- ลำดับขั้นความต้องการ McGregor -- ทฤษฎี X Y Herberg -- ทฤษฎีสองปัจจัย พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร เป็นการศึกษา 2 ส่วน คือ - ทฤษฎีองค์การ ศึกษาเกี่ยวกับองค์การ, คน เพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมองค์การได้ดีขึ้น - วิทยาการจัดการ ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคเชิงปริมาณ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการบริหารให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเพื่อที่จะใช้วัดประสิทธิผลของการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง จุดอ่อนของพาราไดม์ที่ 4 นักวิชาการมองว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของการบริหารรัฐกิจ เพราะเป็นการบริหารทั่วไปที่ใช้ได้ทั้งการบริหารรัฐกิจและธุรกิจ ในความเป็นจริงการบริหารรัฐกิจจะมีธรรมชาติที่แตกต่างอย่างสำคัญจากธุรกิจ เพราะฉะนั้นเกณฑ์การประเมินจะแตกต่างกัน เนื่องจากการบริหารรัฐกิจมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชน เป็นการเมืองสูง มีกฎระเบียบมาก เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ในขณะที่ธุรกิจมุ่งเน้นกำไร Herbert Simon เสนอแนวคิดของการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลภายใต้กรอบจำกัด (Bounded Rationality) Barnard การบังคับบัญชาเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่อำนาจหน้าที่ที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับการยินยอมของผู้รับคำสั่งจะยอมรับคำสั่งนั้น ๆ พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ นำเอาความรู้ในวิชาการต่าง ๆ มาปรับใช้ร่วมกัน ในการบริหารงานของรัฐ เรียกว่า สหวิทยาการ มาใช้แก้ปัญหาของสังคม ความสัมพันธ์ทางการบริหารระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นเขตแดนร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีและสังคม สนใจมากขึ้นในเรื่องของนโยบาย เศรษฐศาสตร์การเมือง กระบวนการกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ การวัดผลของนโยบาย 4 IR ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international relations)หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง[[เศรษฐกิจ 5 อธิบายการบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสน์ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน (อังกฤษ: public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการบริหารและการจัดการภาครัฐ ที่จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม การบริหารธุรกิจ (business administration) คือกระบวนวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ และการควบคุมการใช้ทรัพยากรของกิจการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ สรุปได้ตามคำ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิกสาขารัฐศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายเพิ่มเติมถึงความแตกต่างของการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจ ว่า หลักการเบื้องต้นของการบริหารรัฐกิจคือ "วิธีการบริหารเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน" ส่วนหลักการเบื้องต้นของการบริหารธุรกิจคือ "วิธีการบริหารเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด" ความแตกต่างของการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจแยกเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. การบริหารรัฐกิจมีกฎหมายรองรับในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนการบริหารธุรกิจไม่มีกฎหมายรองรับ 2. การบริหารรัฐกิจมีการควบคุมทางงบประมาณการใช้จ่ายต่างๆ ตามที่รัฐสภากำหนด เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐมาจากภาษีของราษฎร 3. การบริหารงานสาธารณะมีขอบเขตกว้างขวางมากกว่า ส่วนข้อคล้ายระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ คือการร่วมมือดำเนินการหรือปฏิบัติของกลุ่มบุคคลที่มุ่งเป้าหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นหัวใจที่สำคัญจึงเป็นเรื่องการกระทำ และความสามารถที่จะรวบรวมทรัพยากรการบริหารโดยดำเนินการให้บรรลุผล 6.ทฤษฎีเชิงระบบ ทฤษฎีระบบ ระบบ คือ การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำางานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้การดำาเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำาหนดไว้ วิธีระบบหรือวิถีระบบ (systems Approach) หมายถึงกระบวนการที่ทำาให้บรรลุผลสำาเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผลลัพธ์ที่กำาหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการความต้องการเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงตรรถวิทยา ทฤษฎีระบบพื้นฐาน (Basic Systems Theory) ขององค์การซึ่งมี 5 ส่วน คือ ปัจจัยป้อน กระบวนการแปรรูป ผลผลิต ข้อมูลย้อนกลับและสภาพแวดล้อม 1. ปัจ จัย ป้อ น (Inputs) คือทรัพยากรที่เป็นบุคคล วัสดุอุปกรณ์ เงิน หรือข้อมูลที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ 2. กระบวนการแปรรูป (Transformation Process) จาการใช้เทคโนโลยีและหน้าที่ในทางการบริหารตัวป้อนนำาไปสู่กระบวนการแปรรูป ในโรงเรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูเป็นส่วนหนึ่งของการแปรรูปหรือกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทำาให้นักเรียนกลายเป็นพลเมืองที่มีการศึกษา ซึ่งสามารถทำาประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป 3. ผลผลิต (Output) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์การ องค์การทางการศึกษาผลิตและแจกจ่ายความรู้ 4. ข้อ มูล ย้อ นกลับ (Feedback) คือ สารสนเทศเกี่ยวกับผลผลิตหรือกระบวนการขององค์การ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกตัวป้อนระหว่างวงจรต่อไป ข้อสารสนเทศเช่นนี้อาจนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในกระบวนการแปรรูปและผลผลิตในอนาคต 7 แนวคิดสัจจะนิยม สังคมนิยม ทฤษฎีสัจจนิยม มีมาตรตัดสินความจริงว่า ความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอกจะต้องตรงกัน ความคิดของเราจะต้องตรงกับสิ่งภายนอกที่มีอยู่จริง เมื่อนั้น เราก็จะถือว่า ความรู้นั้นเป็นจริง นี่คือ ความตรงกันระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เรามีความคิดว่า ก้อนหินนั้นมีลักษณะของสสารที่กินที่ เมื่อเราได้สัมผัสเอง เราก็รู้ได้ว่า ก้อนหินนั้นเป็นสสารที่กินที่ เพราะมันมีอยู่ตรงที่มือเราจับ มันคงอยู่ในเวลาตอนที่เราจับมัน นั่นเอง แนวคิดลัทธิสัจจนิยม (Realism) เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ ในการแสวงหาสัจจะแห่งทุกสิ่งในภาพรวมโดยมุ่งศึกษาทุกด้านเพื่อที่จะทำความเข้าใจทั้งหมดโดยมองไปที่ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ “สัจจนิยม” ก็ถือว่าสิ่งต่าง ๆ มีอยู่และเป็นจริงโดยธรรมซาติ แม้จะเป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสก็จริง แต่การมีอยู่ของมันเป็นอิสระจากการรับรู้ของมนุษย์ แนวคิดของปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมถือเอาวัตถุ (Matter) เป็นความแท้จริงสุดท้าย (ultimate reality) สรรพสิ่งที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง และเป็นอิสระจากจิต (mind) แม้ว่าปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมนี้จะมีหลักเบื้องต้นเรื่องความจริงทางปรัชญาว่าวัตถุเป็นความจริงที่จริงที่สุด แต่ก็ไม่เป็นด้วยในการเชื่อถือบางสิ่งบางอย่าง ความเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยม แนวคิดสังคมนิยมเริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าในอังกฤษ แต่สภาพความเป็นอยู่ของกรรมกรกลับแร้นแค้นจึงมีแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดคลาสสิก โดยกลุ่มของนักคิดสังคมนิยมยูโทเปีย และมีวิวัฒนาการของแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นสังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ตามมา ในยุคสมัยใหม่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมมีลักษณะที่ว่ามีการเกษตรแผนใหม่ เกิดการปฏิวัติทางการค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนองค์การธุรกิจและการเงินการธนาคารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดผลทางเศรษฐกิจมากมายในระยะสงคราม ภายหลังสงครามสงบลงลักษณะทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มีลักษณะเด่นชัดอยู่ 2 ระบบคือ ระบบทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แนวคิดสังคมนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18 มี 2 รูปแบบคือรูปแบบที่ 1 แบ่งสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งเป็นแนวคิดของนักคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์และนักคิดสังคมนิยมแบบนีโอมาร์กซิสต์ 8 หลักการบริการ posdcoorb ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ “Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า “POSDCoRB” ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ 1. Planning การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. Organizing การจัดองค์การ เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization) 3. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน เป็น เรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัด แบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้ 4. Directing การอำนวยการ เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation) และการตัดสินใจใจ (Decision making) เป็นต้น 5. Coordinating การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่น 6. Reporting การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication) ในองค์การอยู่ด้วย 7. Budgeting การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง 9 ความสำคัญระหว่างประเทศ STATE ACTOR,NON STATE ACTOR 1. ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 1.1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) = การแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ที่เกิดขึ้น ข้ามพรมแดนของประเทศ ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง 1.2. ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) = การที่สองฝ่ายขึ้นไปมีความสัมพันธ์กัน คือ ฝ่ายหนึ่งกระทำ(action) แล้วอีกฝ่ายหนึ่งกระทำตอบ(reaction) ไม่ว่าจะเป็นทางดีหรือไม่ดี 1.3. * การกระทำ และกระทำตอบของรัฐ เกิดจากนโยบายต่างประเทศ 2. ตัวแสดงบทเวทีโลก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ตัวแสดงที่เป็นรัฐ (State Actor) 2) ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor) 3. ตัวแสดงที่เป็นรัฐ (State Actor) 3.1. รัฐ (State) 1) เป็นตัวแสดงที่สำคัญที่สุด 2) รัฐดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของรัฐ 3) ไม่มีอะไรบังคับรัฐได้ เพราะรัฐมีอำนาจอธิปไตย 4) รัฐ เกิดขึ้นจาก “สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย” (Westphalia Treaty 1648) เป็นที่มาของหลักการเรื่ององค์ประกอบของรัฐ 5) องค์ประกอบของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ถูกบัญญัติไว้ในอนุสัญญามอนเตวิเดโอ (Montevideo Convention 1933) ได้แก่ ประชากร (Population) ดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน (A Fixed Territory) รัฐบาล (Government) อธิปไตย (Sovereignty) • Jean Bodin (1530 – 1596 C.E.) นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือ Dela Republic / Republique ให้คำจำกัดความว่า อธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดเหนือพลเมือง และไม่ถูกจำกัดโดยกฎมาย • Thomas Hobbs (1588 – 1679 C.E.) กล่าวว่า อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุด ไม่อยู่ภายใต้อำนาจอื่นใดในโลก 6) ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) ผลประโยชน์แห่งชาติ หมายถึง สิ่งที่รัฐต้องปกป้องคุ้มครองไม่ให้ถูกทำลายโดยรัฐหนึ่งรัฐใดในโลก ซึ่งได้แก่ • เอกราช หรืออำนาจอธิปไตยของชาติ (National Independence) • ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ (National Security) • ความกินดีอยู่ดีของประชาชนในชาติ (National Well Being) • เกียรติภูมิศักดิ์ศรีของชาติ (National Prestige) • ทรัพยากรธรรมชาติ 7) ประเภทของรัฐ รัฐเดี่ยว (Single State) • รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลกลางใช้อำนาจทั้งนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร คือ มีอำนาจทั้งหมดทั่วบริเวณที่ตนปกครองอยู่ • แต่อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมอำนาจเสมอไป เช่น อาจจะมีการกระจายอำนาจ Ex. ไทย มี อบต. อบจ. กรุงเทพมหานคร พัทยา เทศบาล รัฐรวม (Composite State) • สหพันธรัฐ (Federal System) • สมาพันธรัฐ (Confederation System) รัฐเป็นกลาง (Neutralize State) รัฐที่ถูกทำให้เป็นกลาง • เป็นรัฐที่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น และปฏิเสธอย่างแจ้งชัดที่จะไม่ช่วยเหลือรัฐใดรัฐหนึ่งที่ทำสงคราม • โดยผูกพันตนเองที่จะไม่ใช้กำลังอาวุธกับรัฐอื่น ยกเว้น การป้องกันตนเองอันเกิดจากการโจมตี • Ex. สวิตเซอร์แลนด์ • ** Notice ** รัฐที่เป็นกลาง (Neutralize State) ≠ ความเป็นกลาง (Neutrality) ความเป็นกลาง (Neutrality) เป็นการประกาศของรัฐเอง ซึ่งมีระยะเวลาจำเพาะ ซึ่งจะประกาศความเป็นกลางทั้งประเทศ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้ ** รัฐที่เป็นกลางสามารถเข้าไปอยู่ในองค์การระหว่างประเทศได้ 3.2. ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐหรือในนามรัฐ 1) ทูต (Diplomat) 2) กงสุล (Consul) 4. ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor) 4.1. องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) 1) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ 2) และดำเนินการอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลของรัฐสมาชิก มีทั้งองค์การระดับโลก และระดับภูมิภาค 3) แต่ละองค์กรมีจุดเน้นในภารกิจที่แตกต่างกัน เช่น ด้านการเมือง ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านอื่นๆ 4.2. บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Cooperation : MNCs) 4.3. องค์การที่ไม่ใช่รัฐ (Non-Government Organization : NGO) 1) องค์การนิรโทษกรรมสากล (International Amnesty) 2) กลุ่มกรีนพีช (Greenpeace) 4.4. ขบวนการก่อการร้าย (Terrorist Organization) 4.5. กลุ่มเชื้อชาติ (Ethnic Group) 4.6. ปัจเจกบุคคล (Individual) 10 MAX WABER รูปแบบการปกครอง ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy) Max Weber. bureaucracy หรือ ระบบราชการ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ 1. Bureaucracy – ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร / การปกครองของรัฐ 1.1 ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ 1.2 เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้องปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง 1.3 ต้องการอิสระในการทำงาน เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไข 2. bureaucracy - ในฐานะที่เป็น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) ในแง่นี้ bureaucracy 2.1 ระบบการบริหาร หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง 2.2 มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy” 2.3 เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ระบบราชการ (Bureaucracy) Max Weber – ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy ขึ้นมา ข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดที่สุดเหตุผล 1. ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และ ความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน 2. มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย 3. อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล 4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้ ระบบราชการ (bureaucracy) เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการใน การจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย Bureaucracy จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก กลไกการบริหาร (administrative apparatus) เป็นกลไกการควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ผู้นำและกลุ่มชนที่ถูกปกครอง กลไกการบริหาร ต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับรูปแบบแห่งอำนาจที่ผู้นำในสังคมนั้นใช้อยู่ รูปแบบแห่งการใช้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชา ตามแนวคิดของ Max Weber แบ่งเป็น 3 รูปแบบ -Charismatic Domination รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัวแบบอาศัยบารมี กลไกลการบริหารที่ใช้คือ Dictatorship, communal -Traditional domination รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม -Feudal / Patrimonial (ระบบศักดินา / เจ้าขุนมูลนาย) รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal domination) ระบบราชการ (bureaucracy) จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้ 1. หลักลำดับขั้น (hierachy) 2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility) 3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality) 4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) 5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization) 6. หลักระเบียบวินัย (discipline) 7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization) 1. หลักลำดับขั้น (heirachy) หลักการนี้ มีเป้าลอย่างมีประสิทธิภาพ (work outcome) เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่า จะทำงาน อย่างไร (how to) โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ (มาตราการที่3) วัตถุประสงค์ คือ 1.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยมุ่งตอนสนองความต้องการของประชาชน 1.2 เพื่อพัฒนาข้าราชการที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ (5%) ได้รับการพัฒนาเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพ (outcome) 1.1 สามารถคัดคนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มีผลงานระดับต่ำสุดร้อยละ 5 ของหน่วยงานออกมาได้อย่างแท้จริง 1.2 สามารถแก้ไขและพัฒนาข้าราชการที่ถูกพิจารณาว่ามีผลงานต่ำ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลายเป็นคนที่มีความสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดละพฤติกรรมทำงานแบบเฉื่อยชา เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้มาตราการที่ 3 สามารถถูกนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องกำหนด ระเบียบวิธีปฏิบัติที่ ชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำไป 2. มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก่อนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กระทำ 3. ต้องมีการแยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากทรัพย์สินขององค์การอย่างเด็ดขาด - ตำแหน่งงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาความยุติธรรมในสังคม และต้องการความอิสระในการปฏิบัติงาน ต้องมีการแต่งตั้งด้วยความระมัดระวังการกระทำต่างๆในองค์การต้องทำอย่างเป็น ทางการและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ การบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์ เอกสารหลักฐาน ทำให้เกิดความล่าช้า ยุ่งยากไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำอย่างไรจึงสามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกเพื่อทำให้การทำงานเรียบง่าย รวดเร็ว มั่นใจ ความรวดเร็ว-การลดปริมาณกระดาษที่ใช้ ปริมาณงานที่ทำ หรือการทำให้คนตัดสินใจได้เร็วขึ้น เรียบง่าย – กระบวนการทำงานที่ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ออกแบบให้ง่าย มีกฎเกณฑ์ ขั้นตอนเท่าที่จำเป็น มั่นใจ-การสร้างบรรยากาศที่ให้โอกาสข้าราชการ (พนักงาน) ทำงานด้วยความมั่นใจ กล้าคิดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์การ ทำงานเพื่องาน ไม่ใช่เพื่อให้มีผลงาน 4. หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) - การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ (ประสิทธิผล) - ประสิทธิผล หรือผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่างคือ 1. เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้อง โดยถือหลัก ประสิทธิภาพ หรือ หลักประหยัด หลักประสิทธิภาพ (efficiency) - ในระหว่างทางเลือกหลาย ๆ ทางที่จะต้องใช้จ่ายเงินเท่ากัน ควรเลือกทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หลักประหยัด (economy) - ถ้ามีทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลได้เท่า ๆ กัน หลายทางเลือก ควรเลือกทางเลือกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด 2. ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน 3. การบริหารจะได้รับประสิทธิผลสูงสุดต่อเมื่อมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ ถูกต้อง เหมาะสม กับลักษณะงาน สถานที่ ช่วงเวลา สภาพแวดล้อม ในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเป้าหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการ 5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) - ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน (departmentation) ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้อง ทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับ การจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบ คือ 1. การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และมีการกำหนดภาระกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็น จังหวัด อำเภอ อ.บ.จ. อ.บ.ต. เทศบาล 2. การแบ่งงานตามหน้าที่ หรือภารกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง 3. การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์ 4. การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ 6. หลักระเบียบวินัย (discipline) ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ 7. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization) - ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา - ความเป็นวิชาชีพ “รับราชการ” นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย ความสำเร็จของระบบราชการในอดีตเกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา เพราะ - มีวิธีการจัดองค์การที่ มีระบบการทำงานที่ชัดเจน ตั้งอยู่บนหลักการของความสมเหตุสมผล - มีการใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานตามหลักความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ระบบราชการสามารถทำงานที่มีขนาดใหญ่ และสลับซับซ้อนได้อย่างดี - ระบบราชการพัฒนาและใช้มาในช่วงที่สังคมยังเดินไปอย่างช้าๆและเพิ่งปรับ เปลี่ยนมาจากสังคมศักดินา ประชาชนยังไม่ตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพ - ผู้มีอำนาจในระดับสูงยังเป็นผู้มีข้อมูลที่มากพอต่อการตัดสินใจได้ดีกว่าคนในระดับล่าง หรือประชาชนทั่วไป - คนส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นและต้องการบริการสาธารณะจากรัฐเหมือน ๆ กัน เช่นบริการทางด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา สาธารณูปโภคต่างๆ องค์การภาครัฐที่บริหารแบบระบบราชการจึงสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่มีปัญหา มากนัก สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลเริ่มพบกับสภาพวิกฤติในตั้งแต่ทศวรรษ 1990’s 1. สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เปลี่ยนแปลงไปสังคมข่าวสารข้อมูล การลงทุนข้ามชาติ ทุนเทคโนโลยี่ สามารถถ่ายเทไปอย่างรวดเร็วเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2. เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม 3. ยุคที่ตลาดเป็นของโลก ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ทุกประเทศจำเป็นต้องสร้างและรักษาขีดความสามารถในการแข่งของตน 4. ยุคข่าวสารข้อมูล ที่ทุกคนมีโอกาส ได้รับข้อมูลได้เท่า ๆ กับผู้นำ 5. ยุคที่ระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาคนที่มีความรู้ความสามารถสูง เพราะตลาดเป็นของลูกค้า ประชาชนมีโอกาสได้รับบริการที่ดี มีให้เลือกมากขึ้น จึงเรียกร้องให้รัฐจัดบริการสาธารณะที่ดีมีคุณภาพให้ 6. ประชาชนจึงมีอคติต่อการรวมศูนย์อำนาจ และต้องการมีส่วนร่วมในปกครองบริหารประเทศมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับระบบราชการของ Weber เป็นแนวคิดระบบราชการมีกรอบการวิเคราะห์ที่ว่า ยิ่งรัฐมีการพัฒนา และมีการขยายตัวของชุมชน เมือง การศึกษา เศรษฐกิจฯลฯ เพิ่มมากขึ้นเท่าใด “รัฐ” ก็ยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยระบบราชการ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนกลไกของรัฐที่จะให้บริการหรือจัดการแก้ไขปัญหาในสังคม เพิ่มขึ้น การมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับระบบราชการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบราชการ ขยายตัวไปพร้อม ๆ กับการฝึกฝนอบรมจะยิ่งทำให้ระบบราชการมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ ที่รอบรู้ปัญหาทางเทคนิคมากกว่าผู้ปกครอง ที่เป็นผู้ควบคุมระบบราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รัฐสมัยใหม่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ตัวแทนของประชาชนที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะ “ผู้ปกครอง” ก็จะพบว่า ตัวเองต้องเผชิญกับปัญหาที่มีความยุ่งยากทางเทคนิคสูง ทำให้ระบบราชการในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐ และเป็นแหล่งความรู้ความชำนาญจะเริ่มมีอิทธิพลเหนือผู้ควบคุมระบบ เพราะผู้มีอำนาจทางการเมือง เมื่อเข้ารับตำแหน่งจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย “ข่าวสารข้อมูล” และความรู้ความเชี่ยวชาญของระบบราชการก่อนที่จะทำการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย เพื่อการกำหนดเป็นนโยบายและสั่งการ เพราะผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีกำหนดระยะเวลา ตามรัฐธรรมนูญ และการเมืองยังไม่เข้มแข็ง ฉะนั้นระบบราชการจะยังคงรักษาความได้เปรียบเหนือระบบการเมืองได้ ตราบที่ยังคงรักษาความลับเกี่ยวกับความรู้เอาไว้ โดยปราศจากการบอกเล่าหรือเปิดเผยให้สาธารณชนได้ทราบ กระบวนการวางแผนต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนการตัดสินใจในระบบราชการจึงเป็นความลับทาง การบริหาร ซึ่งสาธารณชนจะถูกกันออกไปจากระบบราชการโดยสิ้นเชิงสำหรับการขยายตัวของ บทบาท และอิทธิพลของข้าราชการในประเทศที่กำลังพัฒนา ตามแนวคิดของ Riggs (อ้างถึงใน ไพบูลย์ ช่างเรียน, 2527, หน้า 107) โดยทั่วไปจะเป็นผลจากการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ขณะที่สถาบันทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ไม่ได้พัฒนาไปด้วย ทำให้เกิดสภาวะที่สังคมไม่มีการพัฒนาทางการเมือง และการที่สถาบันราชการมีการขยายตัวที่รวดเร็ว ขณะที่ระบบการเมืองยังล้าหลัง จะทำให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพต้องหยุดชะงัก Riggs มองว่าสถาบันการเมืองจะเจริญขึ้นมาได้อย่างดีก็เมื่อสถาบันราชการมีความ อ่อนแอกว่า
Posted on: Fri, 28 Jun 2013 05:25:02 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015