ถึงนักศึกษา รุ่น 35 1. - TopicsExpress



          

ถึงนักศึกษา รุ่น 35 1. การศึกษาเปรียบเทียบทำให้ได้รับรู้รับทราบความคิดเห็น (View Points), วิสัยทัศน์ (Visions), จุดประสงค์ (Objectives), แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan), แผนปฏิบัติการ (Action Plan), ผลสัมฤทธิ์ (Achievement), ผลลัพธ์ (Outcome) ของการดำเนินการจัดการศึกษา ของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ และ/หรือนำมาใช้โดยตรงในการพัฒนาการดำเนินการจัดการศึกษาของประเทศเรา 2. การไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของวิชานี้ เพราะจะทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง(Direct Experience) : Listen, Read, Observe, And Getting Ideas and Information that make sense to us then adapting and adopting for upgrading our education. 3. ปรัชญาการศึกษามีมากมายหลากหลาย สำหรับประเทศไทยเราควรยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพองเพียงเป็นปรัชญาการศึกษาของประเทศไทย” 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3 ห่วง : คือ 1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล 3. ความมีภูมิคุ้มกัน 2 เงื่อนไข คือ 1. มีความรู้ 2. คู่คุณธรรม 4. ปรัชญาการศึกษาที่ถือได้ว่าเป็นสากลควรเข้าใจคือ “การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (Education is growth) ความงอกงามทางสติปัญญา (Intellectual Growth) ความงอกงามทางร่างกาย (Physical Growth) ความงอกงามทางสังคม (Social Growth) ความงอกงามทางอารมณ์ (Emotional Growth) 5. ระบบการศึกษาสำหรับประเทศไทยมี 3 ระบบ คือ 1. การศึกษาในระบบ (Formal Education) 2. การศึกษานอกระบบ (Informal Education) 3. การศึกษาตามอัธยาศัย (Independent Education) ซึ่งในประเทศอื่น ก็จะคล้ายคลึงกัน แต่การให้ความสำคัญแตกต่างกันตามบริบท ด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ 6. วิสัยทัศน์ของการศึกษา (Educational Vision) ของประเทศไทย “คนไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วทุกประเทศยอมรับเรื่อง “การศึกษาตลอดชีวิต : Lifelong Education, ทุกคนต้องได้รับการศึกษา ได้เข้าโรงเรียนเพื่อได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ตามคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาสำหรับทุกคนและทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการศึกษา": Education for all; all for education” แต่ประเทศใดจะสามารถดำเนินการจัดการการศึกษาได้มาตรฐานและคุณภาพมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับบริบทและสมรรถภาพของรัฐบาลของแต่ละประเทศ 7. จากการศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบแล้ว ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการจัดการการศึกษา ย่อมแตกต่างกันตามอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศ ที่สำคัญมากคือนโยบายของแต่ละประเทศ เรื่องการลงทุนทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่พัฒนาแล้วจะทุ่มเทลงทุนด้านการศึกษาสูงมาก ขอยกตัวอย่าง 2 ประเทศ 1.ในกลุ่ม AEC ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่พร้อมที่สุดในการเข้าร่วม AEC ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ประเทศสิงคโปร์ได้ลงทุนเรื่องการศึกษามากที่สุด ลงทุนผลิตครูที่มีคุณภาพ อุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าตอบแทนของอาชีพครูสูงทัดเทียมกับอาชีพสำคัญอื่นๆ เช่นวิศวกร สถาปนิก แพทย์ เป็นต้น 2. ประเทศเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างในเอเชียที่ลงทุนทางการศึกษาสูงมาก อย่างต่ำร้อยละ 5 ของ GDP ของแต่ละปีงบประมาณจะใช้ลงทุนทางการศึกษา คืองบประมาณทาการศึกษาแปรผันตาม GDP ของประทศแต่ละปี 8. ประเทศที่มีการศึกษาเจริญแล้ว จะสนับสนุนให้เอกชนลงทุนจัดการศึกษาได้ค่อนข้างอิสระมาก ถ้าเอกชนสามารถทำได้ดีมีคุณภาพแล้ว รัฐบาลจะไม่ลงทุนแข่งเอกชน และโรงเรียนเอกชนจะมีคุณภาพสูง สามารถเก็บค่าเล่าเรียนได้สูงมาก สถานศึกษาที่เด่นดังในประเทศพัฒนาแล้วส่วนมากจะเป็นสถานศึกษาเอกชน แม้รัฐบาลต้องการแข่งเอกชน แต่ก็ทำได้ค่อนข้างยากเพราะ>>คนตัดสินใจเลือกสถานศึกษา เป็นสิทธิของผู้เรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งสังคมตัดสินเองว่า พวกเขาเหมาะสมที่จะเรียนที่ใดดี !!! ขอให้นักศึกษาสอบถามครู Google เอาเอง ทุกปีจะมีจัดอับดับดีเด่นของสถานศึกษาของโลก 9. ประเด็นที่น่าสนใจมากที่พบจากการศึกษาเปรียบเทียบคือ ประเทศไทยเราละเลยการศึกษาระดับปฐมวัย ไม่ได้ให้การสนับสนุน และลงทุนเท่าที่ควร ประเทศที่มีการศึกษาเจริญได้ถือว่าการบริหารจัดการการศึกษาระดับนี้สำคัญที่สุดมานานแล้ว ประเทศไทยปล่อยให้การศึกษาด้านปฐมวัยของคนรากหญ้าที่ยากจนในเขตเมือง และคนในชนบทขาดการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรมานาน ทั้งๆที่ทราบดีจากผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาเจริญเติบโตมันสมองของมนุษย์จะพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุด ตั้งแต่ปฏิสนธิ–3 ขวบ รองลงมาอายุ 4-8 ขวบ เพราะฉะนั้นต้องเลี้ยงดูให้ดีที่สุด ทั้งอาหาร การให้ความอบอุ่น การฝึกให้มีวินัย การละเล่นอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามวัย จะต้องทำในวัยนี้ เมื่ออายุเกิน 8 ขวบ การพัฒนาเจริญเติบโตของสมองจะพัฒนาช้าลง และต้องการความอิสรเสรี จึงควรให้เด็กได้ฝึกคิดและฝึกตัดสินใจได้เอง แต่การจัดการศึกษาระดับนี้ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะสวนทางกับแนวความคิดนี้ คือ “จะโอ๋และเอาใจมากเมื่ออยู่ทารก จะเข้มงวดเมื่ออยู่ในวัยเด็ก” ซึ่งเป็นเรื่องผิดพลาด เราต้องรีบทบทวนและปฏิรูปกันใหม่โดยเร็ว 10. ดังนั้นการจัดการศึกษาที่จะได้ผลคือ “เก่ง ดี มีสุข” “คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น มีวินัย คิดดี ทำดี มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ” ต้องได้รับการศึกษาที่ดีเยี่ยมจากครอบครัว คำสำคัญที่เคยใช้กันมาแล้ว คือ “บวร” ความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่าง “บ้าน วัด โรงเรียน” ประเทศที่มีการศึกษาที่เจริญได้ปฏิบัติมานานแล้ว เพียงแต่ เขาใช้คำว่า “HCS” : “Home>Church>School” ที่สำคัญเขาได้ศรัทธาและปฏิบัติจริงจังตั้งแต่เกิดจนตาย 11. ตัวอย่าง “บวร” “HCS” ของต่างประเทศที่ควรใช้เป็นแบบอย่างที่ดีได้ ซึ่งนักศึกษาชั้นป.โท และคณาจารย์ ม.ราชธานีได้ไปศึกษาดูงานโครงการของโรงเรียน St. Francis Methodist School : เรื่อง “The YCDI programme” ขอนำมาเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ตามหลักวิชาการศึกษาวิชาการศึกษาเปรียบเทียบดังนี้ 12. ถ้าจะดูว่าการศึกษาประเทศที่เจริญ ดูจากอะไร คำตอบ: คุณภาพของประชากรของประเทศ คือเก่ง ดี มีสุข ประเทศมั่นคงประชาชนมั่งคั่ง “NICE” &“Well Being”& “ENJOY LIFE” กันทั้งประเทศ ถ้าพูดให้เป็นรูปธรรม ก็ดูจาก GDP และการเสียภาษีตามกฎหมาย,ดูจาก “Income per capita” และเป็นผู้ Give-more, Take-less, ก่อตั้งมูลนิธิการกุศลมากๆ ปัจจุบันมีคนพูดถึง GDH อยู่บ้าง แต่รู้สึกว่าจะเริ่มไม่มั่นใจกันแล้ว ประเทศภูตานก็เริ่มปรับเปลี่ยนมาสนใจ GDP กันแล้ว พวกขัดขวางการคมนาคมขนส่งระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ให้นี้ไปขี่ม้าบักจ้อนได้แล้วและห้ามใช้สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ขออภัยขอเข้าเรื่องดังนี้:>>> 12.1 Pastoral Care:>>>The school officially adopted the You Can Do It!(YCDI) model as the framework for pastoral care in St. Francis Methodist School in 2008. The YCDI programme was developed by Professor Michael E Bernard, a Professorial Fellow at the University of Melbourne, Faculty of Education, Australia. The YDCI programme has been used in over 6,000 schools in Australia, New Zealand, England and North America. 12.2 The YCDI programme focuses on building the social, emotional and motivational capacity of young people rather than on their problems and deficits. It encourages prevention, promotion and intervention efforts in order to build the social and emotional strengths of young people. In addition to this, the programme sets out to eliminate social and emotional difficulties and disabilities (known as blockers) that constitute barriers to young people’s learning and well-being. 12.3 The YCDI Curriculum: Objective Achievement, Positive Relationships and Behaviour, Emotional Well-Being Outside Influence on Students Effective Teaching, Positive Parenting and Community Support Inside Characteristics of Students (The 5 Foundations) Getting along, Organization, Persistence, Confidence and Resilience Social Responsibility Accepting Myself Playing by the Rules Taking Risks Thinking First Being Independent Being Tolerant of Others I Can Do It Planning my Time Giving Effort Setting Goal Working Tough Habits of the mind (Ways of Thinking) 12.4 The YCDI curriculum is done weekly in the classrooms during Contact Time, extended to Chapel and the daily morning devotions as well as incorporated into the ethos of the school, developing a well-balance and competent student. 13. ครูต้องการให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจไม่เห็นใจนักศึกษาที่ไม่เก่งและไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่ได้เคยเรียนให้ทราบว่า “ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอาเซียน” เป็นภาษาของเราชาวประชาคมอาเซียน ในปี 2558 (2015) นี้ การเคลื่อนย้ายแรงงาน การค้าขาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะต้องใช้ “ภาษาอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ภาษาทุกภาษาเป็นวิชาต้องอาศัยทักษะ (Skill : You learn to walk, you have to walk; also you learn to speak English, of cause you have to communicate with others in English!) 14. “Four keys to success in life:>>> Dream Big, Work Hard, Learn Every Day, and Enjoy Life” “Five keys to success in learning:>>> Getting Along, Organization, Persistence, Confidence, and Resilience”
Posted on: Sat, 31 Aug 2013 04:12:48 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015