บล.เคที ซีมิโก้ : - TopicsExpress



          

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 27/08/56ลงต่อ • ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ลดลง ในกรอบจำกัด จากวิตกเกิดสงคราม หลังสหรัฐฯยืนยันซีเรียใช้อาวุธเคมี • +/-ไฮไลท์ วันนี้ จับตา USA ดัชนี Consumer Confidence ส.ค.คาดลดลง 79.5 (Vs 80.3) ราคาบ้านใน20เมืองเดือน มิ.ย. คาด+11.9%y-y (Vs 12.2%) Germany: ดัชนี IFO เดือน ส.ค. สำรวจ Business Climate คาดเพิ่มขึ้น 106.9 (106.2) และ Expectations คาด 103 (จาก 102.4) • -ส่งออกไทย เดือน ก.ค. แย่กว่าคาด -1.48%y-y ส่งผล 7 เดือนแรก +0.60% (ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบเป้า 5-7%) • ราคาน้ำมันดิบ และทอง คาดปรับขึ้นระยะสั้น วิตกเกิดสงครามในซีเรีย หลังสหรัฐฯส่งสัญญาณซีเรียใช้อาวุธเคมี (+PTTEP กลุ่มโรงกลั่น –ลบ กลุ่มรับเหมา สายการบิน THAI AAV NOK ITD TASCO ) • -ต่างชาติ ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น -1,688 ล้านบาท รวม 7 วันขายสะสม -27,434.59 ล้านบาท และทั้งเดือนส.ค. ขายสะสม - 36,434.32 ล้านบาทหุ้นในกระแส แนะนำ : เทคนิค แนะนำขาย SPCG แนวต้าน 22.8/24.10 SCC แนวต้าน 415/430 UMI แนวต้าน 12.8/13.3 หุ้นเด่น –หุ้นมีข่าว หุ้นมี Opp.Day วันอังคาร PTTGC MODERN PAP TTA TNDT TUF APCO วันพุธ TRT JUBILE PHOL QTC PPM วันพฤหัสฯ RS ILINK DEMCO BAFS AH NVDR (หน่วย ล้านบาท) ซื้อสุทธิสูง INTUCH +185 BAY+98 KBANK+80 ส่วนขายสุทธิสูง SCC-303 BBL-166 TRUE-154 JAS-128 PTTEP -95 หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูง ได้แก่ JAS 150 KBANK 118 TRUE 106 BBL 104 หุ้นโมเมนตัมลบ ได้แก่ ได้แก่ AIM AUCT PAE PTG TRUE HMPRO TOP NMG MONO ส่วนหุ้นบวกสวนตลาด ได้แก่ JAS CENTEL หลักทรัพย์ที่คาดหลุดจาก Cash Balance 30 ส.ค. BTC CGD LIVE Market Outlook : ลงต่อ โดยกลุ่มน้ำมันอาจช่วยหนุนตลาดชั่วคราวคาดดัชนีฯ ลงต่อ แนวรับ 1315/1300 จุด แนวต้าน 1337/1350 จุด ปัจจัยลบ ระยะสั้น จะมาจากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของ 22 บจ.วันนี้ (เด่นๆ ได้แก่ BJC ROJNA CCET AH ฯลฯ ส่วนปัจจัยลบ ระยะกลางมาจาก 1. ต่างชาติยังคงมุมมองเชิงลบต่อกระแสเงินทุนไหลออกจากกลุ่ม TIPs เห็นได้จาก Goldman Sachs ปรับประมาณค่าเงินสกุล TIPs (เงินบาท รูเปียะห์ ริงกิต) เทียบดอลล์สหรัฐฯ ช่วง 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือนข้างหน้า อ่อนค่าลงตามลำดับ โดยคาดเงินบาทอยู่ที่ 33 บาท 32.5 บาท และ 32 บาท (Vs 31.30 31.0 และ30 บาทตามลำดับ) 2. นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการลดขนาด QE ยังคงมีโอกาสเกิดขึ้นในการประชุมเฟด 17-18 ก.ย. ส่งผล ต่างชาติมีแนวโน้มลดพอร์ตลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหุ้นในประเทศที่มีความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว ขาดดุลบัญชีเดิสะพัดสูง นำโดยอินเดีย อินโดนีเซีย และ ไทย มาเลเซีย ฯลฯ3. ความเสี่ยง จากการเกิดสงครามในซีเรีย หลังสหรัฐฯส่งสัญญาณว่า ซีเรียมีการใช้อาวุธเคมีจริงในการปราบกลุ่มต่อต้าน ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดวิกอุปทานน้ำมันดิบ (+PTTEP ที่มี High Correlation กับราคาน้ำมันดิบ และกลุ่มโรงกลั่น TOP PTTGC จากแนวโน้มStock Gain) และทองคำ ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (วานนี้ ราคาทองคำแตะ $1400ดอลล์ต่อออนซ์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มิ.ย.) และกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นผู้นำเข้า และกลุ่มสายการบิน (มีน้ำมันเป็นต้นทุนขาย 35-40% โดย THAI มีสัดส่วนต่อต้นทุนดำเนินงานรวม เท่ากับ 40% AAV 44% NOK 36% ส่วนการป้องกันความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมัน THAI ทำไว้ 90% AAV NOK ทำไว้ที่ประมาณ 30%) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง รวมถึง TASCO ทางเทคนิค : ระยะสั้น การไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1370 จุดขึ้นไปได้ในสัปดาห์ก่อน เป็นการะสะท้อนว่า ตลาดฯ เลือกที่จะปรับลงต่อในสัปดาห์นี้ และมีโอกาสสูงที่ลงมาสร้างจุดต่ำสุดใหม่กว่า 1325.78 จุด ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดต่ำสุดรอบเกือบ 8 เดือน (ต่ำสุดถัดไป คือ 1313.68 จุด เมื่อ 30/11/55) จากอิทธิพลของแรงกดของกรอบขาลง Down Channel ใหญ่ 1200-1450จุด โดยมีแนวรับลุ้นรีบาวด์เป็นรอบๆ ที่ 1300/1280 จุด หุ้นเด่นระยะสั้น เราแนะนำ 1. หุ้นอิงเศรษฐกิจโลก เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ PTT PTTGC TOP กลุ่มนิคมฯ HEMRAJ AMATA ROJNA กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กฯ DELTA KCE HANA ยังคงเป็นหุ้นสะสมเมื่ออ่อนตัวได้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. หุ้นมีรายได้แน่นอน โทรศัพท์ฯ INTUCH ADVANC คำแนะนำ -ใครที่ขายไปตามคำแนะนำ บริเวณ 1370 จุด ให้พิจารณารอซื้อเล่นรอบอีกครั้งบริเวณต่ำกว่า 1300 จุด เน้นหุ้นกลุ่มส่งออก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ (ดูชื่อหุ้น ข้างบน)ประเด็นที่มีผลต่อตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้Fact : 1. USA: ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ สะท้อนเศรษฐกิจ 3Q56F อาจอ่อนแอ และช่วยหนุนให้เฟดคงมาตรการ QE ต่อไป -กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนดิ่งลง - 7.3 % ในเดือน ก.ค (Vs คาดการณ์ -4.0% และมิ.ย. +3.9%). ซึ่งถือเป็นการ ดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2012 ในขณะที่อุปสงค์ในเครื่องบิน, คอมพิวเตอร์ และอาวุธร่วงลงยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมอาวุธและเครื่องบินดิ่งลง -3.3 % ในเดือน ก.ค. (คาด +0.5%m-m และเดือนมิ.ย.-0.1%) ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. โดยยอดสั่งซื้อ สินค้าทุนพื้นฐานนี้ถือเป็นมาตรวัดแผนการลงทุนทางธุรกิจตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในระยะนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเติบโตอ่อนแอเกินคาด ในไตรมาสสาม โดยตัวเลขเหล่านี้รวมถึงตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค., ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้าน และยอดขายบ้านใหม่ 2. -ดุลการค้าไทยเดือน ก.ค. แย่กว่าคาด -กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค. มีมูลค่า 19,064 ล้านเหรียญสหรัฐ - 1.48%y-y (Vs คาด+0.8% ) โดยส่งออกหดตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (เศรษฐกิจคู่ค้าหลักๆ เช่น Europe USA จีน อินเดีย ฯลฯ) ขณะที่การนำเข้าใน ก.ค. มีมูลค่า 21,345 ล้านเหรียญสหรัฐ +1.08%y-y (จากคาด +1.56%) ทำให้ไทยขาดดุลการค้าประมาณ 2.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ (จากคาด -2.01 พันล้านเหรียญสหรัฐ)หมวดส่งออกที่ลดลงสูงสุด คือ 1. หมวดสินค้าเกษตร/อุตฯ เกษตร -8.8%y-y (กุ้งแช่แข็งและแปรรูป -45.7% น้ำตาล -31.7% ยางพารา -20.55% อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) -13.4% ฯลฯ ส่วนส่งออกเพิ่มขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง +48.2% ข้าว +8.2% 2.หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ -3.1%y-y (ทองคำยังไม่ขึ้นรูป -19.3% เครื่องสำอางค์ สบู่ และผลิตภัณฑ์ -15.2% วัสดุก่อสร้าง -9.7% ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ -5.4% ขณะที่ส่งออกเพิ่มขึ้น คือ ของเล่น +36.8% นาฬิกา และส่วนประกอบ +23% อัญมณี (ไม่รวมทองคำ) +20.4% ขณะที่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยขยายตัว 0.60%y-y ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.85%yy ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้า 1.81 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกของไทยในปี 56 จะขยายตัว 7.0-7.5% หรือคิดเป็นมูลค่าราว 2.46-2.47 แสนล้านดอลลาร์ 3. +ไทย คาด 2H56F GDP ดีขึ้น : เลขาธิการ สภาพัฒน์ กล่าวว่า GDP 3Q56F ที่คาดว่าจะเป็นบวกนั้น มองว่าเป็นผลจากการลงทุนที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การส่งออก น่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐ ก็พยายามจะเร่งรัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่วนใน 4Q56F มองว่า จากฐานที่ค่อนข้างสูงเมื่อปีที่แล้ว เมื่อการผลิตและการบริโภคกลับมาอยู่ในอัตราปกติในปีนี้ ก็อาจทำให้การขยายตัวไม่สูงมากนัก สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาส 2/56 อยู่ที่ 0.73% หรือมีผู้ว่างงาน289,491 คน ต่ำกว่าระดับ 0.86% ในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีผู้ประกันตนที่ ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จำนวน 144,838 คน +4.0%y-y 4. +กฎหมายฯ - การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตราที่ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จะพิจารณาต่อในสัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 27-30 ส.ค.นี้ ส่วนร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท นั้น คาดว่าจะพิจารณาได้ช่วงต้นเดือนกันยายน เราคาดว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ลดลงในระยะสั้น 5. +กลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย Gold, Oil ขยับขึ้นระยะสั้น หลังจาก ตลาดประเมินคำพูดของรัฐมนตรีสหรัฐฯ ที่ยืนยันว่าซีเรียมีการใช้อาวุธเคมี ซึ่งเป็นภัยคุกคาม และคาดว่า สหรัฐฯจะกดดันผ่านสหประชาชาติ ก่อนจะส่งทหารเข้าไปร่วมรบเหมือนกรณี อิรักOutlook: 1. +/- รายงานเศรษฐกิจสำคัญ ยังคงจับตาที่รายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯโดยเฉพาะ 2Q56F GDP ครั้งที่ 2 -กล่มุ TIPS และอินเดีย : คาดทางการจะมีการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนค่าเงินไม่ให้อ่อนค่าเกินไป ไทย จับตารายงานการค้าระหว่างประเทศเดือน ก.ค. (คาดส่งออก +0.8%y-y Vs มิ.ย..-3.38% นำเข้า +1.55%y-y Vs +3.01% และดุลการค้า ขาดดุล -$2.01 พันล้านดอลล์ Vs -$1.9 พันล้านดอลล์) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. (ประกาศวันศุกร์) คาด +$0.05bn. (Vs -$0.66bn.) จากแนวโน้มนำเข้าที่ชะลอตัวและการขาดดุลบริการที่แคบลง ช่วยหนุน / Philippines 2Q56F GDP (วันพฤหัสฯ) คาดเติบโต 6.9% (Vs 7.8% ใน 1Q56) / India: 2Q56F GDP (วันศุกร์) คาด4.6%y-y (Vs 4.8%) +/-กลุ่ม US, EU, Japan : ยุโรปจะมีรายงานเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่อง ส่วนญี่ปุ่นจับตา Consumption Tax Debate สหรัฐฯ จับตามรายงาน GDP +/-USA : ไฮไลท์อยุ่ที่ 2Q56F GDP ครั้งที่ 2 (วันพฤหัสฯ) คาดดีขึ้น +2.2%q-q (Vs ครั้งแรก +1.7%y-y และ 1Q56 +1.1%q-q) และคาด 3Q-4Q56F เติบโต 2.2% 2.6% ตามลำดับ และ ตัวเลข Consumer and business sentiment data ซึ่งจะอิงเศรษฐกิจ 3Q56F ได้แก่ Personal Spending กค (วันศุกร์) คาด +0.3%m-m (Vs +0.5%) +Japan ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. (วันพฤหัสฯ 8kf +0.4%y-y (Vs 1.6%) Industrial Production กค คาด +3.6%m-m (Vs -3.1%) +EU Economic Sentiment ส.ค. (วันศุกร์) คาดดีขึ้น 93.4(Vs 92.5) Germany IFO Survey ส.ค. (วันอังคาร) คาดดีขึ้น 2. + การประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลของบจ.ช่วยหนุนราคาหุ้นระยะสั้น จาก Short Covering (ดูตาราง) โดยมีจำนวน 22 บจ.วันนี้ 3. -QE โอกาสลดขนาดในการประชุมเฟดเดือน ก.ย. ยังคงมีความเป็นไปได้สูง แม้ ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ ก.ค. จะลดลงอย่างมีนัย -13.4% เป็น 394 k (จาก Consensus คาด -1.4%m-m เป็น 490k และเดือนมิ.ย. +8.3%m-m เป็น 497k) และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.ค. - 7.3 % ในเดือน ก.ค. (Vs คาดการณ์ -4.0% และมิ.ย. +3.9%).ส่งผลยิลด์พันธบัตรสหรํฐฯ 10ปี ลดลงเหลือ 2.78% จากวันศุกร์ 2.82% (ระดับสูงสุด 2 ปีอยู่ที่ 2.94% Vs ต้นเดือน พค อยู่ที่ 1.6%) อิง 1. ตลาดแรงงาน ยังคงดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ น้อยกว่า 350k ตลอดช่วง 6 สัปดาห์ และลดลงเหลือ 330k สำหรับค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ล่าสุด (ต่ำสุดตั้งแต่ สัปดาห์สิ้นสุด 17 ก.ย. 2007) 2. ผลประชุมเฟดล่าสุด อิงเศรษฐกิจเดือน ก.ค. ยังคงมีการเติบโต แม้อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นอย่างมีนัย 4. +Thailand Focus 2013 : ตลาดหลักทรัพย์ฯร่วมกับ เมอรริลลินซ์ ภัทร จัดงาน ไทยแลนด์โฟกัส 28-31 สิงหาคม โดยจะมี114 บจ.เข้าร่วม Thailand Focus 2013 28-31 สิงหาคม จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ เมอรริลลินซ์ ภัทร โดยจะมี 114 บจ.ของไทยและผู้จัดการกองทุนต่างชาติกว่า 170 ราย เข้าร่วมให้ข้อมูลในงานนี้ หุ้นเด่นที่ทางผู้จัดงานแนะนำ ADVANC CPF AAV BBL CPALL LH MINT PTTEP 5. -ค่าเงินสกุล TIPS มีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง (ต่างชาติยังคงมุมมองเชิงลบต่อกระแสเงินทุนไหลออกจากกลุ่ม TIPs) -Goldman Sachs ออกรายงานวันศุกร์ พร้อมปรับประมาณการ ค่าเงินสกุล TIPs (เงินบาท รูเปียะห์ ริงกิต) เทียบดอลล์สหรัฐฯ ช่วง 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือนข้างหน้า อ่อนค่าลงตามลำดับ โดยคาดเงินบาทอยู่ที่ 33 บาท 32.5 บาท และ 32 บาท (Vs 31.30 31.0 และ30 บาทตามลำดับ) เงินรูเปียะห์ เป็น 12,000 / 12,000/ 11,800 Vs 10.000/ 10,200/10,500 รูเปียะห์ต่อดอลล์ เงินริงกิต เป็น 3.48 ริงกิต 3.30 ริงกิต 3.20 ริงกิต (Vs 3.20 ริงกิต 3.15 ริงกิต และ 3.10 ริงกิต ตามลำดับ) โดยเหตุผลของการปรับค่าเงินอ่อนค่าลง จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะส่งผลให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกไปจนกว่าจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวที่ดี -FITCH rating ส่งสัญญาณเตือนอาจมีการปรับลดเครดิตเรตติ้งจากปัจจุบัน BBB- และ Stable Outlook ของทั้งสองประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย โดยทางกานจะต้องเร่งสร้างความมีเสถียรภาพทางการเงินให้กลับคืนมาโดยเร็ว หลังจากที่มีปัญหาขาดความเชื่อมั่น จากกระแสเงินทุนของ QE ที่อาจไหลออก และการเป็นประเทศที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเงินเฟ้อสูง การปล่อยสินเชื่อเติบโตอย่างเร่งตัวเร็ว เราคาดว่า FX risk จะส่งผลให้ต่างชาติยังคงลดพอร์ตลงทุนในหุ้นกลุ่ม TIPs รวมถึง อินเดีย อินโดฯ "เหตุการณ์ครั้งนี้คล้ายกับวิกฤติก่อนหน้านี้ในปี 1997-1998 โดยเรามีสองประเทศที่กำลังทรุดตัวลง คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย และขณะนี้คุณต้องเริ่มคิดถึงประเทศที่ 3 และ 4 แล้ว" นายประทีป โมฮินานิ นักวิเคราะห์ด้านสินเชื่อของโนมูระจากฮ่องกงกล่าว "ประเทศที่อาจจะเข้าข่ายได้แก่ประเทศที่มียอดขาดดุลทางการคลังสูง, เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และนักลงทุนต่างประเทศถือครองพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งไทยและมาเลเซียก็เข้าข่ายมากที่สุดในแง่นี้" 6. Downside ของตลาดหุ้นไทย (ดูรายงานกลยุทธ์ วันที่ 13 ส.ค.) เรื่อง QE กับ SET พบว่า กรณีที่แย่สุด อิงระดับ PER เฉลี่ย 11.24 เท่า (ค่าเฉลี่ย 10 ปี – 0.5 SD) และ 13F EPS Growth 9% (KTZ)-19%(ค่าเฉลี่ยโบรกฯ) อยู่ที่ 1130-1232 จุด โดยมีแนวรับย่อยบริเวณ 1276-1317 จุด อิง PER เฉลี่ย 10 ปีที่ 12.7x และ 13F EPS growth +9% ถึง 12.5% กลยุทธ์ลงทุน : - Upside อยู่ที่ 1400/1420 จุด ส่วน Downside Risks อยู่ที่ 1328/1310 จุด - Portfolio เดือนสิงหาคม : คงคำแนะนำ ถือหุ้น 50% ของพอร์ตพันธบัตร 30% น้ำมันดิบ 5% ทองคำ 5% และสัญญา SHORT SET50 INDEX (S50U13) 10% เพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลง แนะนำ BECL BTS INTUCH (เป็นหุ้น Dividend Play และมีผลกำไรเติบโตดีต่อเนื่อง) STPI THCOM CENTEL LOXLEY SC WORK VGI (คาดกำไรเติบโตดี) -หุ้นเชื่อมโยงนโยบายของรัฐบาล เช่น รับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง สื่อสารประเภทประมูลงานรัฐ แบงก์ บ้าน ฯลฯ จะเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวสูงสุด +กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรม พลังงาน ปิโตรเคมี จะโดดเด่นจากการได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และกลุ่มสื่อประเภท Content Provider และสิ่งพิมพ์ อาจมีการเก็งกำไร จากการลุ้นชนะประมูลทีวีดิจิตอล รายสัปดาห์ – แนะนำ ทยอยขายทำกำไรบริเวณ 1370-1380 จุด เพื่อรอซื้อคืนเมื่อเกิด Panic Sell บริเวณ 1328/1310 จุดอีกรอบหลักทรัพย์ที่น่าสนใจ ได้แก่ 1.หุ้น High Beta Play (ขึ้นแรง ลงเร็ว) MDX ITD UV CK LOXLEY STEC TRUE QH DEMCO GOLD BJC PF 2.หุ้น Laggard Plays SPCG SC QH HMPRO STEC CK ROBINS PS SAT THRE /TRUE TTCL MDX BLAND ซึ่งเป็นหุ้นที่ร่วงลงแรง และมี %Upside ต่อราคาเป้าหมาย >25%, กำไรเติบโตกว่า 20% และมี Dividend Yield > 2% สรุปภาวะซื้อขายของตลาดหุ้นไทย และการซื้อขายแยกตามประเภทนักลงทุนต่างๆ วันที่ 22 ส.ค.. 56Market Brief SET Index ปิดที่ระดับใกล้จุดต่ำสุดของวันที่ 1329.18 จุด -8.95 จุด – 0.67%d-d (กรอบสูงสุด-ต่ำสุด 1354.39 – 1328.51 จุด)ด้วยวอลุ่มซื้อขายลดลงเหลือ 2.95 หมื่นลบ. โดยดัชนีฯ ปรับขึ้นในช่วงแรกของการซื้อขายตามภูมิภาค และลดลงตลอดช่วงที่เหลือของการซื้อขายจำนวนหุ้นที่ปรับลดลง เพิ่มขึ้นเป็น 473 จาก 437หลักทรัพย์ และจำนวนหุ้นที่ปรับสุงขึ้น ลดลงเหลือ 208 จาก 252 หลักทรัพย์ กลุ่มอุตฯ ที่ปรับลดลงสูงสุด ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -3%อาหาร -1.55% ส่วนกลุ่มปรับขึ้น ได้แก่ ICT +0.82% มีเดีย +0.21% หุ้นโมเมนตัมลบ ได้แก่ AIM AUCT PAE PTG TRUE HMPRO TOP NMG MONO ส่วนหุ้นบวกสวนตลาดได้แก่ JAS CENTELType of Investors • นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อต่อ และฝรั่ง พอร์ตโบรกฯ ขายต่อ • Foreign Investor: ต่างชาติ ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น -1,688ล้านบาท รวม 7 วันขายสะสม -27,434.59 ล้านบาท และทั้งเดือน ส.ค. ขายสะสม - 36,434.32 ล้านบาท • นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อต่อเป็นวันที่ 5 ด้วยจำนวน + 1,252 ลบ. รวม 5 วัน ซื้อสะสม +11,782.30 ล้านบาท และทั้งเดือน ส.ค. ซื้อสะสม +16,022.95 ล้านบาท • ส่วนพอร์ตโบรกเกอร์ ขายต่อ -324 ล้านบาท รวม 2 วันขายสะสม - 2.739ลบ. และทั้งเดือน ส.ค. ขายสะสม - 5,548.74 ลบ.ข่าวดี : 1. UK- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า เศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ในไตรมาส 2 โดยมีปริมาณการค้าสุทธิเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ ทั้งนี้ ONS ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัว 0.7% ในไตรมาส 2 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการขั้นต้น ที่ 0.6% และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ 2. USA : เฮดจ์ฟันด์เพิ่มสถานะซื้อทองสูงสุดในรอบ 6 เดือน คณะกรรมาธิการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) เปิดเผยว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และผู้จัดการกองทุนได้เพิ่ม สถานะซื้อสัญญา และออปชั่นทองสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. โดยได้แรงหนุนจากกำหนดเวลาที่ไม่แน่นอนในการปรับลดมาตรการกระตุ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 3. ไทย เลขาธิการ สภาพัฒน์ กล่าวว่า GDP 3Q56F ที่คาดว่าจะเป็นบวกนั้น มองว่าเป็นผลจากการลงทุนที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การส่งออก น่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐ ก็พยายามจะเร่งรัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่วนใน 4Q56F มองว่า จากฐานที่ค่อนข้างสูงเมื่อปีที่แล้ว เมื่อการผลิตและการบริโภคกลับมาอยู่ในอัตราปกติในปีนี้ ก็อาจทำให้การขยายตัวไม่สูงมากนักข่าวร้าย : 1. G20 :จับตาจี-20 ประชุม 5-6 ก.ย. ออกกฎคุมธนาคารเงา หวั่นสร้างความเสี่ยงต่อศก.โดยเป็นที่คาดกันว่ากลุ่มจี-20 จะสนับสนุนการปฏิรูปภาคธนาคารเงา แต่จะไม่เร่งรีบผลักดันมาตรการปฏิรูปที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากภาคธนาคารเงามีบทบาทในการจัดหาสภาพคล่องให้แก่ภาคธนาคารที่ยังคงอยู่ในภาวะเปราะบาง 2. อินเดีย : "ฟิทช์ เรทติ้งส์" เผยอินเดียต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการบรรลุเป้าขาดดุลงบประมาณปีงบประมาณ 2556 และอยู่ระหว่างการพิจารณาเครดิตเรตติ้งจากปัจจุบัน BBB- และ Stable Outlook 3. ค่าเงินอินเดีย-อินโดฯยังคงอ่อนค่า -รูเปียห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 4 ปี และรูปีอ่อนค่าลง เนื่องจากความวิตกต่อสถานการณ์ภายนอกที่จะกระทบต่อสกุลเงินทั้ง 2 แม้สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ของเอเชียได้รับปัจจัย หนุนจากข้อมูลยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างมากก็ตาม รูเปียห์ร่วงลงเกือบ 1% มาที่ 10,875 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2009 ในตลาดอินเตอร์แบงก์ ขณะที่เทรดเดอร์กล่าวว่า มีคำสั่งซื้อดอลลาร์/รูเปียห์ที่เหนือระดับ 11,000 อันเนื่องจากความต้องการดอลลาร์ของบริษัทในอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียและธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ประกาศ มาตรการเพื่อพยุงค่าเงินรูเปียห์เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ทางการ พยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่นในอินโดนีเซีย แต่ตลาดก็ไม่แน่ใจว่า มาตรการดังกล่าวจะทำให้รูเปียห์มีเสถียรภาพหรือไม่ รูเปียห์ และรูปีมีสถานะเปราะบางมากที่สุดต่อการปรับลด มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เนื่องจากอินเดีย และอินโดนีเซียมียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น, เศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเผชิญแรงต้านอย่างมากต่อการดำเนินมาตรการปฏิรูป 4. กลุ่มน้ำตาลไทย- องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำตาลส่วนเกินทั่วโลกจะยังคงกดดันราคาน้ำตาลในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ไม่มีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงต่ำกว่าระดับ 15 เซนต์สหรัฐต่อปอนด์ ส่วนราคาน้ำตาลดิบนิวยอร์คแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 15.93 เซนต์/ปอนด์ ในเดือน ก.ค. 5. ค่าไฟไทย- คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ให้ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.2556) จำนวน 6-7 สตางค์ต่อหน่วย "แม้เคยพูดว่าค่าเอฟทีงวดใหม่นี้จะไม่ปรับขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชน แต่ในขณะนี้เงื่อนไขเปลี่ยนแปลงไป เพราะต้นทุนค่าเอฟทีงวดใหม่โดยรวมความจริงปรับเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 14 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้น หากค่าไฟฟ้าไม่ปรับเพิ่มขึ้นบ้างต้นทุนเหล่านี้จะไปรวมในปี 2557 "ต้นทุนค่าเอฟทีที่ปรับขึ้นครั้งนี้เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจากระดับ 30 บาท และขณะนี้ 32.08 บาทต่อดอลลาร์ รวมถึงต้นทุนราคาที่เพิ่มขึ้นผันแปรตามสถานการณ์โลกหลายประการ เช่น กรณีปัญหารุนแรงในอียิปต์หุ้นแนะนำ ตามปัจจัยพื้นฐาน :+JAS เตรียมจัดตั้ง Infra Fund – ซื้อ/มูลค่าพื้นฐาน10.80 บาท ประเด็นข่าว JAS แจ้งต่อ ตลท. หลังตลาดฯปิดภาคเช้านี้ว่า คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน(infra fund) ที่มีมูลค่า 5-7 หมื่นล้านบาทภายในปี2556 เพื่อนำเงินที่ได้ไปขยายธุรกิจอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ รวมทั้งโครงข่าย Fiber Optic FTTX โดยรายละเอียดของสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองทุนมีรายละเอียดดังนี้ สินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองทุนฯ จำนวน1. โครงข่ายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable) 610,000 คอร์กิโลเมตร2. Access Node 16,000 Node3. Cable ที่เชื่อมโยงถึง ลูกค้าทั้งหมดทั้งนี้บริษัทจะต้องขอมติจากผู้ถือหุ้นก่อน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้มีกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นความเห็น - จากการที่ JAS จะต้องเข้าถือกองทุนไม่เกิน 1/3 ของกองทุนฯที่จะจัดตั้ง ดังนั้น JAS จะได้รับเงินจากการขายกองทุนฯไม่ต่ำกว่า 2/3 ของกองทุน หรือประมาณ 3.3 – 4.7 หมื่นล้านบาท - เนื่องจากสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองทุนมีมูลค่า ณ สิ้นงวด 2Q56 รวมกัน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรในการขายกองทุนฯก่อนภาษีครั้งนี้ราว 2.67 หมื่นล้านบาท – 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้มูลค่าทางบัญชี (Book value)เพิ่มขึ้นจาก 1.5 บาท/หุ้น ในงวด 2Q56 เป็น 5.3-7.1 บาท/หุ้น - และโดยที่วัตถุประสงค์ของการออกกองทุนฯครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ขยายธุรกิจบรอดแบนด์ รวมถึง Fiber Optic FTTX เพื่อขยายฐานลูกค้า FTTX ให้มีสัดส่วน 50% ของลูกค้าทั้งหมด ภายในระยะ 3 ปี จะส่งผลดีต่อการดำเนินงานในระยะยาว เนื่องจากบริการ FTTX จะให้รายได้เฉลี่ย/ลูกค้า/เดือน (ARPU) ที่สูงกว่าบริการบรอดแบนด์ในปัจจุบัน - ในส่วนของการดำเนินงานหลังจัดตั้งกองทุนฯแล้ว บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายจากการค่าเช่าโครงข่ายใยแก้วนำแสง Access Node และ Cable แต่จะชดเขยได้บางส่วนจากค่าเสื่อมราคาที่จะลดลง หลังไม่ต้องบันทึกค่าเสื่อมฯของสินทรัพย์ที่ได้ขายเข้ากองทุนฯไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ชัดเจน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับอายุของกองทุนฯ และราคาค่าเช่าสินทรัพย์ ที่ JAS จะต้องเช่ากลับ ซึ่งเราจะติดตามประเมินผลกระทบอีกครั้ง หลังได้ข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมจากบริษัท*BTS จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิใหม่ (BTS-W3) - ซื้อ (มูลค่าพื้นฐาน 9.80 บาท) เราเชื่อว่าการออก BTS-W3 จะมีผลบวกเชิงจิตวิทยาต่อราคาหุ้น BTS ในระยะสั้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินสำหรับการลงทุนในอนาคต โดยที่จะยังไม่ส่งผลให้เกิด dilution effect ต่อกำไรต่อหุ้นในปีการเงิน FY57-59 รวมทั้งไม่กระทบต่อมูลค่าพื้นฐานที่ 9.80 บาทต่อหุ้น (อิงวิธี SOTP)Event • BTS จะเพิ่มทุนจำนวน 3,971.62 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิ BTS-W3 ที่ออกใหม่ โดยจะจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 3 หุ้นเดิม ต่อ 1 หน่วย BTS-W3 โดยไม่คิดมูลค่า • BTS-W3 มีอายุ 5 ปี โดยผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิการแปลงสภาพได้ครั้งแรกในวันทำการสุดท้ายของสิ้นไตรมาสแรกของปีที่ 4 นับจากวันที่ออกและเสนอขาย โดยมีอัตราการใช้สิทธิ 1 BTS-W3 ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคา 12 บาทต่อหุ้น กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XW วันที่ 16 ต.ค. 56Analysis • เรามีมุมมองว่าข่าวดังกล่าวจะส่งผลเชิงบวกทางด้านจิตวิทยาต่อราคาหุ้น BTS เนื่องจากราคาใช้สิทธิ 12 บาทต่อหุ้น สูงกว่าราคาปัจจุบัน ซึ่งในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XW ราคาหุ้นของ BTS (ตามทฤษฏี) จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 9.00 บาทต่อหุ้น อิงจากราคาหุ้นในปัจจุบันที่ 8.00 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาตลาดที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่สะท้อนราคาตามทฤษฏีมากนัก • ผลกระทบทางด้าน Dilution effect จากการเพิ่มทุนใหม่อยู่ที่ 25.6% เนื่องจากจำนวนหุ้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,498 ล้านหุ้น เทียบกับ 11,526 ล้านหุ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการใช้สิทธิจะเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ 4 นับจากวันที่ออกและเสนอขาย จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้นจนกว่าถึงปีงบการเงิน FY60 • วัตถุประสงค์การออก BTS-W3 เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการเงินในการดำเนินการโครงการอนาคตรวมถึงการลงทุนในโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง • โดย BTS มีความสนใจลงทุนในโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ โดยเตรียมแผนเข้าประมูลงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีชมพู มูลค่ารวมกว่า 90 พันล้านบาท โดยโครงการแรก (คาดเริ่มประมูลในช่วง 1H57) จะเป็นการประมูลงานบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) สำหรับโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา อย่างไรก็ตาม บริษัทจะต้องรอ พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านเป็นกฎหมายด้วยHighlight :1) ตัวเลขเศรษฐกิจ และ Events สำคัญ : วันนี้ : จับตา USA ดัชนี Consumer Confidence ส.ค. คาดลดลง 79.5 (Vs 80.3) ราคาบ้านใน 20 เมืองเดือน มิ.ย. คาด +11.9% y-y (Vs 12.2%) Germany: ดัชนี IFO เดือน ส.ค. สำรวจ Business Climate คาดเพิ่มขึ้น 106.9 (106.2) และ Expectations คาด 103 (จาก 102.4) วันพุธ : จับตา USA Pending Home Sales ก.ค. คาดดีขึ้น +0.3%m-m (Vs -0.4%) Thailand: Industrial Production ก.ค. คาด -1.8%y-y (Vs -3.5%) Brazil ผลประชุมธนาคารกลาง คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 9.0% วันพฤหัสบดี : จับตา USA 2Q56F GDP ครั้งที่ 2 คาดดีขึ้น +2.2%y-y (Vs 1.7%) ,Philippines คาด 2Q56FGDP +7.3%y-y(Vs 7.8%) Japan ยอดค้าปลีก ก.ค. คาดเติบโตน้อยลง +0.4% (Vs +1.6%) Germany : HICP Inflation ส.ค. คาด 1.8%y-y (Vs 1.9%) วันศุกร์ : จับตา USA Chicago PMI ส.ค. คาดดีขึ้น 53 (Vs 52.3) Personal Spending กค คาดเติบโตน้อยลง +0.3%m-m (Vs +0.5%) Canada 2Q56F GDP คาด +1.6% (Vs 2.5%) India: Real 2QGDP +4.6%y-y (Vs 4.8%y-y) Japan: Core CPI ก.ค. คาด 0.6%y-y (Vs 0.4%) Industrial Production ก.ค. +3.6%m-m (vs -3.1%)ส่วนปัจจัยในประเทศ สัปดาห์นี้ จับตา การส่งออก-นำเข้า เดือน ก.ค. (26-28 ส.ค.) รายงานดัชนีอุตสาหกรรม ของ สศอ (28/8) ภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน (30ส.ค.)2.Earnings : เราพบว่า Downward Earnings Revision มีต่อเนื่อง อิงจาก Bloomberg Consensus ล่าสุดพบว่า 13F EPS Growth ของไทย เติบโตเพียง +20.5% (Vs 27% ในเดือน เม.ย. หลังสิ้นสุดงบการเงิน 1Q56) ส่วน KTZMICO ปรับลดเป็น 9% จากเดิม +19% จากหุ้นกลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ แบงก์ Media และกลุ่มอิงเศรษฐกิจโลก PTTGC PTTEP PTT จากการปิดซ่อมบำรุง ฯลฯ ผลกำไรบจ.ที่ปรับลดลงสะท้อนราคาหุ้นระยะสั้นมีโอกาสอ่อนตัวลงในทิศทางเดียวกัน3) Global Momentum สรุปทิศทางตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 26 ส.ค.-ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลดลง จากรายงานสินค้าคงทนแย่กว่าคาด วันที่ผ่านมา DJIA ปิดที่ 14,946.46 จุด -64.05 จุด -0.43%d-d S&P 500 ปิดที่ 1656.78 จุด -6.72 จุด -0.40%d-d Nasdaq ปิดที่ 3657.57 จุด -0.22 จุด -0.01%d-d ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง หลังจากนายจอห์น เคอร์รี่ รมว.ต่างประเทศของสหรัฐระบุว่าการใช้อาวุธเคมีของซีเรียเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ความเห็นของนายเคอร์รี่ถ่วงตลาดลง โดยดัชนีลดช่วงบวกและติดลบในชั่วโมงสุดท้ายของการซื้อขาย หลังจากปรับตัวขึ้นเกือบตลอดทั้งวัน นายเคอร์รี่กล่าวว่า หลักฐานการใช้อาวุธเคมีร้ายแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และกล่าวหาว่ารัฐบาลซีเรียกำลังพยายามที่จะปกปิด ซึ่งเป็นสัญญาณว่า สหรัฐใกล้ที่อาจจะตอบโต้ทางทหาร ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐร่วงลง 7.3% ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี และการใช้จ่ายทุนร่วงลง ซึ่งได้บดบังภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาส 3+ตลาดหุ้นยุโรป ลดลงวิตกปัญหาการเมืองในอิตาลี วันทำการที่ผ่านมา FTSE ปิดทำการ CAC40 ปิดที่ 4067.13 จุด -2.34 จุด -0.06%d-d DAX ปิดที่ 8435.15 จุด +18.16 จุด +0.22%d-d โดยได้รับแรงกดดันจาก ภาวะตึงเครียดทางการเมืองในอิตาลี ในขณะที่วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบาง เนื่องจากตลาดหุ้นอังกฤษปิดทำการในวันจันทร์เนื่องในวันหยุดธนาคารประจำฤดูร้อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้น หลังจากสมาชิก พรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ขวาของนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนีกล่าวเตือนว่า พวกเขาจะถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งจะทำให้รัฐบาลอิตาลีล่มลง ถ้าหากมีการขับนาย เบอร์ลุสโคนีออกจากรัฐสภา โดยเป็นผลจากการที่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฉ้อโกงภาษีหุ้นกลุ่มธนาคารของอิตาลีดิ่งลงหลังจากที่เคยพุ่งขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิ.ย. โดยหุ้นธนาคารยูนิเครดิต, อินเตซา ซานเปาโล และบังโก โปโปลาเรรูดลง 3.3-4.2 %-ราคานํ้ามันดิบลดลงจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯอ่อนแอ วันทำการที่ผ่านมา Brent เดือน ต.ค. ปิดที่ $110.73 -$0.31 -0.28%d-d Nymex สัญญาเดือน ต.ค. ปิดที่ $105.92 -$0.50 -0.47%d-d โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนที่ 111.68 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน ในขณะที่สหรัฐส่งสัญญาณว่า สหรัฐใกล้ที่จะดำเนินมาตรการทางการทหารเพื่อตอบโต้ต่อการโจมตีด้วยอาวุธเคมีในซีเรียในสัปดาห์ที่แล้ว+ราคาทองคำสหรัฐฯ ปรับขึ้นแตะระดับเหนือ $1400 เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ มิ.ย. วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน ธ.ค. ปิดตลาดที่ 1393.10 ดอลล์ต่อออนซ์ -$ 2.70 -0.19%d-d ส่วนราคา Spot ปิดที่ $1404.40 ดอลล์ต่ออนซ์ +$8.05 ดอลล์ต่อออนซ์โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่อ่อนแอเกินคาดในสหรัฐ โดย ตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะดำเนิน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปBy... ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501Thanomsaks@ktzmico02-624-6244 เรียบเรียง โดย ประน้อม บุญร่วม อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 27/08/13 เวลา 14:12:13
Posted on: Tue, 27 Aug 2013 07:50:27 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015