วันนี้ว่างๆ อารมณ์ดี - TopicsExpress



          

วันนี้ว่างๆ อารมณ์ดี เลยจะขอเขียนยาวๆซักหน่อย หากมีเวลาว่างๆ ก็ลองอ่านกันดูนะครับ ======================================== วันนี้อยากจะขอนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ DCA ด้วยความรู้งูๆปลาๆของผมที่มีอยู่ แต่! อย่าเพิ่งตกใจว่า DCA คืออะไร? อ่านไปเรื่อยๆนะครับ เดี๋ยวจะค่อยๆเล่าให้ฟัง ^^ ก่อนอื่น ขอพูดถึงแรงบันดาลใจในการเขียนในวันนี้ก่อนนะครับ มันเริ่มมาจากการที่ได้คุยกับเพื่อนซึ่งเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วมีโอกาสได้เห็นข้อความๆนึง จากบทสนทนาที่เกี่ยวกับการลงทุนในระยะยาว ระหว่างท่านศาสดาที่เคารพรักกับเพื่อนนักลงทุนคนนั้น เป็นประโยคที่ว่า .. .. "ทำ DCA กับกิจการที่มี DCA" .. สวยงาม สั้น ง่าย ได้ใจความ ผมเชื่อว่ามีหลายท่านที่รู้และเข้าใจถึงแก่นแท้ของ DCA ทั้งตัวข้างหน้า และตัวข้างหลังอยู่แล้ว ว่ามันหมายความว่าอย่างไร และประโยคนี้สื่อถึงอะไร แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้ ผมจะลองอธิบายแบบง่ายๆให้อ่านกันนะครับ "1 อักษรย่อ .. 2 ความหมาย" DCA ตัวหน้า ตัวแรกที่จะพูดถึง มันถูกย่อมาจาก "Dollar Cost Averaging" หรือการซื้อแบบเฉลี่ยต่อเนื่องนั่นเอง ซึ่งเป็นการซื้อด้วยปริมาณเงินลงทุนที่เท่าๆกัน ตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นรอบๆ เป็นงวดๆ ดังนั้น คุณจะสามารถลงทุนในขณะที่หุ้นมีราคาถูกได้ในปริมาณมากขึ้น และลงทุนในขณะที่หุ้นมีราคาแพงด้วยปริมาณที่น้อยลง ซึ่งการวางแผนการซื้อด้วยแนวคิดนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงที่เราอาจจะเข้าไปซื้อหุ้นของกิจการในราคาแพงเกินไปด้วยเงินก้อนใหญ่เพียงไม่กี่ครั้ง และยังช่วยให้ผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลามานั่งเฝ้านั่งเกาะหน้าจอตลอดเวลา ให้สามารถลงทุนได้ด้วยค่าเฉลี่ยของราคาที่ซื้อตลอดช่วงของการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น บางท่านที่สนใจลงทุนในกองทุน LTF ซึ่งอาจจะเคยได้เห็นบริการจากกองทุนที่จะหักเงินลงทุน ผ่านบัญชีออมทรัพย์เป็นรายเดือนแบบอัตโนมัติเพื่อซื้อหน่วยลงทุน นี่แหละครับตัวอย่างของ Dollar Cost Averaging เลย ไม่ต้องสนใจเลยว่า ตอนที่กองทุนหักเงินจากบัญชีของคุณ ราคาหน่วยลงทุนจะเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องลุ้นให้เมื่อย ไม่ต้องเสียเวลามาหาจังหวะเข้าซื้อให้เหนื่อย แต่ได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยค่าเฉลี่ยของราคาหน่วยตลอดทั้งปี รูปแบบการลงทุนด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่สนใจออมเงินระยะยาวไว้กับกองทุนหรือหุ้น ซึ่งแทบจะไม่มีเวลามานั่งติดตามสถานการณ์การลงทุน (ยกเว้นแต่จะอู้งานมาเฝ้าจอ อิอิ) ข้อดีของแนวทางการลงทุนแบบนี้ คือการ "จำกัด" ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการเข้าซื้อผิดจังหวะ (พลาดไปซื้อในราคาที่สูง ที่มี Margin of Safety น้อย ด้วยเงินลงทุนเยอะๆ) ทั้งยังช่วยตัดปัจจัยจากอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความผันผวน ไม่ให้ราคาเป็นมายาคอยหลอกหลอน และยังสร้างวินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้อีกด้วย DCA ตัวที่สอง หมายถึง "Durable Competitive Advantage" หรือความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน เพื่อความสามารถในการทำกำไรอย่างต่อเนื่องโดยที่กิจการคู่แข่งไม่สามารถเอาชนะได้ ซึ่งหลายๆท่านคงคิดแล้วว่า ถ้ามีแต่ DCA ตัวแรกเพียงอย่างเดียว โดยไม่ศึกษากิจการที่ลงทุนไป ว่าสามารถแข่งขันเพื่อเติบโตในระยะยาวได้หรือไม่ ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจไม่ถูกใจนัก ถ้าโชคดีหน่อยก็อาจได้เจอกับบริษัทที่เติบโตแต่ช้า หรือที่แย่กว่านั้นก็คือการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ในมุมมองผม DCA ตัวที่สองนี้มีความสำคัญมากกว่าตัวแรกเสียอีก และการที่เราจะสามารถค้นหากิจการที่มีความสามารถ มีศักยภาพแบบนี้ได้ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของกิจการให้แตกฉาน (บอกตามตรงผมเองก็ยังทำไม่ได้ดีนัก 555) และผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหานั้นก็อาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน จากบทความของดร.นิเวศน์ ที่ได้กล่าวถึง Durable Competitive Advantage ไว้ ว่า การจะดูว่ากิจการที่เราสนใจ มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่ ท่านดร.ได้แนะนำเอาไว้ว่า กิจการนั้นควรจะมีคุณสมบัติอยู่คร่าวๆดังต่อไปนี้ 1. มีทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ หรือ Intangible Asset อย่างเช่น Brand Loyalty ที่แข็งแกร่งและโดดเด่น หรือเอกลักษณ์เฉพาะในผลิตภัณฑ์ 2. ผลิตภัณฑ์ของกิจการนั้นมี Switching Cost สูง คือถ้าลูกค้าจะเลิกใช้ผลิตภัณฑ์นี้ อาจจะเสียค่าใช้จ่ายอีกเยอะพอตัว 3. มี Network ที่ดี คือมีเครือข่ายที่ใหญ่และสร้างประโยชน์ สร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าเครือข่ายที่เล็กกว่า และ 4. มี Cost Advantage คือสามารถทำการผลิตได้ที่ต้นทุนต่ำกว่า ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ได้เปรียบกิจการคู่แข่ง การจะเฟ้นหากิจการที่มีความสามารถแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่หากคุณมีโอกาสได้พบ สนใจที่จะเข้าไปร่วมเป็นเจ้าของกิจการ โดยที่ศึกษามาอย่างถี่ถ้วน และมั่นใจว่าศักยภาพเหล่านี้มีพร้อมอยู่ในกิจการที่คุณสนใจ เชื่อผมเถอะครับ กอดมันไว้ให้แน่นๆเลย! ทีนี้ ทุกท่านคงพอจะเห็นภาพ หรือเข้าใจความหมายของประโยคข้างต้นแล้วบ้างหรือยังครับ? กับการลงทุนที่มีการ "จำกัด" ความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเรื่องของราคาที่ผันผวน และพื้นฐานของกิจการที่แตกต่างกันไปของแต่ละกิจการ นี่เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมการลงทุนของคุณ ในการสร้างพอร์ตการลงทุนระยะยาวที่จะ "เติบโต" ได้อย่าง "มั่นคง" และ "ต่อเนื่อง" และยังทำให้คุณ "มีความสุข" กับการลงทุนนั้นๆนะครับ โชคดีในการลงทุนครับ :D กษิดิศ สุวรรณอำไพ cc: Kaew Petai ======================================== บทความสำหรับอ่านเพิ่มเติมเผื่อคนที่สนใจ :: Dollar Cost Averaging :: >> cway-investment/2011/01/dca-dollar-cost-averaging.html >> 10000li.net/2012/09/14/dollar-cost-average/ :: Durable Competitive Advantage :: >> https://facebook/note.php?note_id=300726523289865 และขอแนะนำเว็บไซต์สำหรับการคำนวนผลตอบแทนจากการทำ Dollar Cost Averaging ครับ ใช้ง่ายดีนะ ลองเล่นกันดูๆ >> panphol/data/page/stockdca/hmpro (ตัวอย่างเป็นหุ้น HMPRO นะครับ)
Posted on: Mon, 30 Sep 2013 17:12:21 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015