สรุป นิติปรัชญา (เล่ม - TopicsExpress



          

สรุป นิติปรัชญา (เล่ม อ.สมยศ) 12 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 20:27 น. สรุป นิติปรัชญา (เล่ม อ.สมยศ) ทฤษฏีว่าด้วยศาสตร์ บทที่ 1 ข้อความคิดทั่วไป 1.วิวัฒนาการของวิชาความรู้ - ความรู้แบ่งออกเป็น A: ความรู้แบบสามัญสำนึก (สะสมมาจากประสบการณ์ชีวิต) มีลักษณะ 1.เกิดจากการจดจำ 2.มีขอบเขตจำกัด 3.นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในคราว ถัดไป / เพื่อแก้ไข (เจ็บแล้วจำ 55) B: ความรู้แบบศาสตร์ (มีการนำความรู้มาเชื่อมโยงเป็นระบบ) แบ่งเป็น 2 ชั้น 1. ศาสตร์ประยุกษ์ (นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์) 2. ศาสตร์ทฤษฏี (ศึกษาเฉพาะความรู้ความเข้าใจ) 2.ความคิดด้านวิชาการหรือศาสตร์สมัยใหม่ - ช่วง ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงวิทยาศาสตร์นิยม คือทุกสิ่งต้องพิสูจน์ได้ โดยต้อง 1.ค้นหาข้อมูล 2. ค้นหากฏเกณฑ์ - ปัจจุบัน ยอมรับแล้วว่าการใช้วิทยาศาสตร์มิใช่วิธีเดียวในการศึกษา แต่จำต้องตีความ หรือค้นหาความหมายของ ปรากฏการณ์ต่างๆประกอบด้วย 3.ข้อคิดว่าด้วยศาสตร์ ลักษณะของศาสตร์ 1.ความรู้มีลักษณะทั่วไปและเป็นนามธรรมในระดับหนึ่ง 2.เป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็นระบบระเบียบ 3.ความรู้ที่มีเหตุผล 4.ความรู้ที่มีวิธีการแน่นอน (เพื่อประกันความน่าเชื่อถือ) การแบ่งหมวดหมู่ของศาสตร์ ก) เราอาจแบ่งโดยอาศัย 1. วัตถุที่ศึกษา (object) 2.แง่มุม (aspect) 3.จุดประสงค์ (objective) 4.วิธีการ (method) ข) การบ่งหมวดหมู่ตามแนวคิดของ Wundt - Wundt แบ่งสาสตร์ออกเป็น 2 ประเภท 1.ศาสตร์เฉพาะ (Particular Science) เป็นการนำปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งมาศึกษา โดยเราอาจแบ่งปรากฏการณ์ออกเป็น I.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และ II.ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม (มนุษย์มีส่วนปรุงแต่ง) 2.ศาสตร์สากล (Universal Science) หรือ ปรัญชา ( Philosophy) คือการศึกษาทุกอย่างแบบองค์รวม ไม่แยกส่วน (as a whole) เพราะวิชาการต่างๆ ต่างไม่สมบูรณ์พร้อมในตัวเอง บทที่ 2 นิติศาสตร์ ก.การแบ่งวิชานิติศาสตร์ตามแง่มุมในการศึกษากฏหมาย 1.นิติศาสตร์ในแง่แบบแผน (Legal Science of Norms) - นิติศาสตร์แขนงนี้ถือเป็นนิติศาสตร์โดยแท้ > ศึกษาแบบแผนที่เป็นมาตราฐานของสังคมที่ใช้ตัดสิน ดี-ชั่ว - นิติศาสตร์โดยแท้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน 1.เนื้อหาทางกฏหมาย 2.นิติวิธี - วิชานิติศาสตรืโดยแท้ มี Dogma ที่จะต้องยอมรับเป็นที่ยุติเพื่อเป็นรากฐานในการแสวงหาเหตุผลทาง วิชาการนั่นคือ หลักกฏหมาย จึงอาจเรียกได้ว่าวิชานิติศาสตร์โดยแท้เป็นวิชาหลักกฏหมาย วิชานิติศาสตร์โดยแท้แบ่งตามขอบเขตการศึกษาได้เป็น 2 ประเภท I.นิติศาสตร์ทั่วไป > ศึกษากฏหมายเพื่อค้นหาลักษณะสามัญของกฏหมาย II.นิติศาสตร์เฉพาะ > ศึกษากฏหมายเฉพาะเรื่องที่ใช้บังคับอยู่ 2.นิติศาสตร์แง่ข้อเท็จจริง (Legal Science of Fact) 2.1 วิชาประวัติศาสตร์กฏหมาย ก.ประวัติศาสตร์หลักกฏหมาย > ศึกษาถึงตำนานกำเนิดและวิวัฒนาการของหลัก กฏหมายเฉพาะเรื่อง ข.ประวัติศาสตร์กฏหมายสากล > ศึกษาถึงตำนานกำเนิดและวิวัฒนาการของกฏหมาย โดยทั่วไป 2.2 สังคมวิทยากฏหมาย - ศึกษาสภาพความเป็นจริงของกฏหมายในสังคม ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 แง่ ก.สภาพความเป็นจริงในแง่ตำนานกำเนิดกฏหมาย ข.อิทธิพลของกฏหมายที่มีต่อสังคมในฐานะเครื่องมือที่จะควบคุมพฤติกรรมในสังคม 3.นิติศาสตร์ในแง่คุณค่า (Legal Science of Values) 3.1 วิชานิติบัญญัติ แยกออกเป็น 2 ภาค ก.ภาคทั่วไป > ประวัติความเป็นมาทางกระบวนการนิติบัญญัติ ข.ภาคเฉพาะ > เทคนิคในการบัญญัติกฏหมาย 3.2 วิชากฏหมายเปรียบเทียบ ประโยชน์ในการศึกษา 1.เพื่อเข้าใจกฏหมายประเทศเราให้ลึกซึ้งขึ้น 2.เพื่อช่วยในการบัญญัติกฏหมายใหม่ๆหรือปรับปรุงแก้ไขกฏหมาย 3.เพื่อประโยชน์ต่อกฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 4.เพื่อทำให้กฏหมายของแต่ละชาติมีความใกล้เคียงมากขึ้น ข. การแบ่งวิชานิติศาสตร์ในแง่วิธีการศึกษา 1.นิติศาสตร์อรรถาธิบาย ( Commentary Jurisprudence) 2.นิติศาสตร์เปรียบเทียบ 3.นิติศาสตร์ว่าด้วยการบัญญัติ บทที่ 3 วิชานิติปรัชญา 1.นิติปรัชญา : พิจารณาในแง่ปรัชญา 1.1 ปรัชญาหรือศาสตร์สากล แบ่งเป็น 2 ประเภท ก.ปรัชญาภาคทั่วไป I.อภิปรัชญา (ปรัชญาแท้ๆ ค้นหาว่าความเป็นคืออะไร? What is being as such?) II.ญาณปรัชญา (ความรู้คืออะไร?) III.จริยปรัชญา (ความดีคืออะไร?) IV.สุนทรียปรัชญา (ศึกษามาตราฐานในการหาความงาม) ข.ปรัชญาภาคเฉพาะ (ศึกษาปรัชญาจากศาสตร์เฉพาะ) 1.2 นิติปรัชญา ก) นิติปรัชญาในแง่อภิปรัชญา (ศึกษากฏหมายในระดับความคิดที่บริสุทธิ์ กฏหมายคืออะไร?) ข) นิติปรัชญาในแง่ญาณปรัชญา (ศึกษาว่าจะรู้กฏหมายได้อย่างไร) ค) นิติปรัชญาในแง่จริยปรัชญา ( ศึกษาว่ากฏหมายดี-ไม่ดี ยุติธรรม-ไม่ยุติธรรมอย่างไร) 2.นิติปรัชญา : พิจารณาแง่นิติศาสตร์ 2.1 การศึกษานิติศาสตร์โดยแท้ (ทำการศึกษาเพื่อเข้าใจกฏหมายที่ใช้อยู่เป็นเรื่องๆ) 2.2 การศึกษานิติศาสตร์โดยข้อเท็จจริง (ศึกษากฏหมายในฐานะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม) 2.3 การศึกษานิติศาสตร์โดยแง่คุณค่า - คุณค่าระดับวิชาเฉพาะ (ดูเป็นเรื่องๆเปรียบเทียบ) - คุณค่าระดับทั่วไป ( วินิจฉัยว่ากฏหมายอะไรดี-ไม่ดี) 3.วิชานิติปรัชญากับวิชาธรรมศาสตร์ 3.1 ความทั่วไป - วิชาธรรมศาสตร์ หรือ Jurisprudence - วัตถุประสงค์ของวิชาธรรมศาสตร์ (Jurisprudence) นี้อยู่ที่การวิเคราะห์กฏหมายบ้านเมืองโดยไม่ดูด้าน จริยธรรมหรือความมีเหตุผลจึงมีลักษณะแคบกว่านิติปรัชญา 3.2 วิชาธรรมศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Philosophy of Positive Law) ของ John Austin - วิชานี้มีขอบเขตจำกัดเพียงการศึกษากฏหมายบ้านเมืองที่มีผลบังคับใช้จริงๆเท่านั้น - วัตถุประสงค์ของวิชาเพื่อ การอธิบายข้อความคิดทั่วไปและหลักการทั่วไปจากกฏหมายบ้านเมือง คำสอนของ Austin โดยสรุป 1.ทฤษฏีกฏหมาย (Theory of Law) = กฏหมายคือคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์และต้องมี Authority 2.ทฤษฏีวิชาการนิติศาสตร์ (Theory of Legal Science) = ศึกษาเฉพาะกฏหมายบ้านเมืองโดยไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นประกอบเลย 3.ทฤษฏีนิติวิธี (Theory of Legal Methodology) = นำข้อความคิดในกฏหมายมาแยกแยะเปรียบเทียบ 4.ขอบเขตของวิชานิติปรัชญา ก) นิติปรัชญาภาคทั่วไป (ศึกษาทฤษฏีทั่วๆไปของกฏหมาย) มีรากฐานสำคัญ 3 ประการ I.ปัญหาว่ากฏหมายคืออะไร (ทฤษฏีว่าด้วยกฏหมาย, ทฤษฏีบ่อเกิดของกฏหมาย, ทฤษฏี วิวัฒนาการของกฏหมาย) II.ปัญหาเกี่ยวกับวิชานิติศาสตร์และตรรกะวิทยา (ทฤษฏีวิชานิติศาสตร์, ทฤษฏีนิติวิธีวิทยา) III.ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าของกฏหมาย (ทฤษฏีว่าด้วยกฏหมาย, ทฤษฏีการนิติบัญญัติ) ข) นิติปรัชญาภาคเฉพาะ > ศึกษาเฉพาะเรื่องแล้วแต่ความสนใจ ความคิดของสำนักต่างๆ สำนักธรรมนิยิม/สำนักกฏหมายธรรมชาติ (Natural Law School) 1.ความเบื้องต้น - เชื่อว่ามีกฏเกณฑ์ที่ยุติธรรมและถูกต้องเหนือกว่ากฏหมายบ้านเมือง - กฏเกณฑ์ต่างๆมีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ขึ้นตามอำเภอใจของบุคคล แต่มนุษย์สามารถใช้ปัญญาไปค้นพบได้ ก) ลักษณะของกฏหมายธรรมชาติ I. ต้องเป็นกฏเกณฑ์ทั่วไป II. มีลักษณะเป็นนิรันดร ข) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฏหมายธรรมชาติและกฏหมายบ้านเมือง - มีด้วยกัน 2 แนวคิด 1.บอกว่ากฏหมายธรรมชาติสูงกว่ากฏหมายบ้านเมือง 2.บอกว่ากฏหมายธรรมชาติเป็นอุดมคติ แต่กฏหมายบ้านเมืองจึงเป็นของจริง ค) ความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ มีด้วยกัน 2 ทฤษฏี I.ทฤษฏีกฏหมายธรรมชาติแง่อุดมคติ (Das ideele Naturecht) ทฤษฏีนี้บอกว่าพื้นฐานของ มนุษย์มีเหตุผล สามารถที่จะเข้าใจหลักเกณฑ์ในธรรมชาติได้ (กฏหมายธรรมฃาติ) II.ทฤษฏีกฏหมายธรรมชาติในแง่กายภาพหรือปรากฏการณ์ (Das existentielle Naturecht) ทฤษฏีนี้บอกว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลแต่เป็นสัตว์ที่ทำตามความอยากจึงต้องมีระบบอำนาจใรการที่ชี้ ว่าอะไรถูก-ผิด กฏหมายที่ออกมาจึวเป็เนครื่องมือในการรักษาอำนาจหรือผลประโยชน์ 2.ความคิดเกี่ยวกับกฏหมายธรรมชาติในสมัยกรีก-โรมัน - (ความคิดของ Sophist ท้ายชีท) ก) Aristotle Aristotle โต้แย้งความคิดของด้วยกัน Plato 3 ประเด็น (ความคิดของ Plato ท้ายชีท) 1.ทัศนะคติเกี่ยวกับคน Aristotle นั้นเห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน สังคมในอุดมคติจึงควรเป็นสังคมที่ประสานความแตกต่างนั้นให้ลงตัว แต่ Plato เห็นว่าเมื่อทุกคนต่างกัน แต่ละคนก็ควรทำหน้าที่เฉพาะตามที่ตัวเองถนัดก็พอแล้วมาแบ่งกัน (แบบ Republic) 2.ทัศนะคติเกี่ยวกับทรัพย์สิน Aristotle มองว่าควรให้ทุกคนมีทรัพย์สินส่วนตัวเพราะจะได้เกิดกำลังใจในการหาเลี้ยง เป็นการทำให้เกิดการพัตนาในระบบเศรษฐกิจ แต่ Plato เห็นว่าทรัพย์สินทุกอย่างควรเป็นของส่วนรวม 3.ทัศนะคติด้านครอบครัว Plato เสนอให้ยกเลิกระบบครอบครัวเสีย (ความเห็นผู้เขียน น่าจะมองว่าทุกคนควรเป็นคนของรัฐ ทำเพื่อรัฐ เท่านั้น ลดความเป็นตัวเองลง ) แต่ Aristotle บอกว่าควรมีระบบครอบครัวเพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ว่าด้วยแบบ (Form) - Aristotle บอกว่าโลกมี 2 แบบ แบบกแรกคือโลกของแบบ โลกที่ทุกสิ่งสมบูรณ์แบบ พัฒนาถึงขีดสุด อีกโลกคือโลกของความจริง โลกที่เราอาศัยอยู่ที่ไม่สมบูรณ์ โดยที่โลกที่ไม่สมบูรณ์จะพยายามพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์แบบให้มากที่สุด - Aristotle ยังกล่าวว่ามนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ (Part of Nature) ที่มุ่งสู่ความสมบูรณ์-แบบ เพื่อเป็นนายเหนือธรรมชาติ (Master of Nature) ซึ่งสามารถใช้เหตุผลตรึกตรองการกระทำ และเป็นเหตุให้มนุษย์อยู่สูงกว่าสัตว์อื่นๆ การปกครองด้วยกฏหมาย - คำกล่าวในหนังสือ Politics กล่าวว่า “ การให้อำนาจแก่กฏหมายเสมือนหนึ่งการให้อำนาจแก่พระผู้เป็นเจ้า แต่การให้อำนาจแก่มนุษย์ก็ประหนึ่งการให้อำนาจแก่สัตว์เดรัจฉาน” ซึ่งหมายถึงว่าการปกครองด้วยกฏหมายนั้นจะยุติธรรมเสมือนพระเจ้าปกครอง แต่ให้มนุษย์ปกครองกันเองก็ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน อย่างไรก็ตาม Aristotle ก็ยอมรับว่าการปกครองด้วยกฏหมายนั้นอาจจะไม่เป็นธรรมแต่ก็ยังถือว่าเป็นการปกครองด้วยเหตุผล = กฏหมายเลวดีกว่าไม่มีกฏหมายเลย Aristotle แบ่งกฏหมายออกเป็น 2 ประเภท I.กฏหมายธรรมชาติ คือกฏเกณฑ์ที่กำหนดแบบแผนการปฏิบัติของมนุษย์ที่อยู่ตามธรรมชาติ II.กฏหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น คือกฏเกณฑ์ที่กำหนดแบบแผนการปฏิบัติโดยมนุษย์ที่เป็นผู้ปกครองเป็นผู้กำหนดขึ้น Aristotle แบ่งความยุติธรรมออกเป็น 2 ประเภท I.ความยุติธรรมทั่วไป โดยความยุติธรรมทั่วไปสามารถแบ่งอีกเป็น I.ความยุติธรรมตามธรรมชาติ (สากลและไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของมนุษย์คนใด) กับ II.ความยุติธรรมที่มนุษย์สมมติขึ้น (มนุษย์ตกลงความถูกผิดขึ้นมาเองในแต่ละเรื่อง โดยที่เรื่องนั้นๆไม่มีความถูกผิดในตัวเอง) II.ความยุติธรรมเฉพาะ แบ่งได้เป็น ก.ความยุติธรรมในแง่แบ่งปัน คือ แนวคิดว่าทุกคนนั้นแบ่งปันในแง่สิทธิ อำนาจ หน้าที่ เกียรติ และภาระต่างๆในกิจสาธารณะทุกคนจึงมีส่วนแบ่งในส่วนของตัวเอง โดย คำนึงถึงคุณสมบัติของแต่ละบุคคลด้วย ข.ความยุติธรรมในแง่แลกเปลี่ยนทดแทน คือ พวกความสัมพันธ์ของเอกชน เช่นการ แลกเปลี่ยนกันที่เท่าเทียม หรือการละเมิดคนอื่นก็ต้องทดแทน (ต้องเชื่อมโยงกับความ ยุติธรรมแบบแบ่งปัน) ข) Cicero - Cicero ได้แนวคิดจาก Stoic (แนวคิด Stoic ดูท้ายชีท) ว่าในจักรวาลมีเหตุผลสากลที่เรียกว่า Logos โดย ที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ทุกคนด้วยตัวเอง - Cicero กล่าวว่า “กฏหมายที่แท้จริง คือเหตุผลที่ถูกต้อง” Cicero สรุปว่า กฏหมายธรรมชาติมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.เป็นเรื่องของเหตุผลที่สอดคล้องกับธรรมชาติ 2.มีลักษณะทั่วไป ดังข้อความว่า “แผ่ซ่านไปยังทุกสิ่งทุกอย่าง” 3.ผูกพันทุกคนให้ต้องทำตาม 4.เหนือกว่ากฏหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น 5.อยู่ในจิตใจทุกคน 6.เป็นสากลและไม่เปลี่ยนแปลง 3.กฏหมายธรรมชาติในระบบกฏหมายโรมัน - Jus Gentium > เป็นหลักกฏหมายนานาชาติที่เป็นหลักกฏหมายที่ได้รับการยอมรับในหมู่ชนชาติต่างๆ มีลักษณะทั่วไปและสอดคล้องกับหลักธรรมชาติ อย่างไรก็ดี Jus Gentium ก็ยังต่างจากกฏหมายธรรมชาติ เช่น เรื่องทาส - กฏหมายโรมันในตอนแรกเป็นเพียงกฏหมายของชนชาติเล็กๆ ต่อมาได้กลายเป็นระบบกฏหมายที่ยิ่งใหญ่เพราะส่วนสำคัญของระบบมีความคิดในเรื่องของหลักเหตุผล จึงนับได้ว่าเป็นการคลี่คลายตัวของกฏหมายธรรมชาติในระบบกฏหมาย (กฏหมายธรรมชาติถูกกำหนดให้มีรูปแบบชัดเจนในระบบกฏหมาย) - กฏหมายโรมันถือว่า กฏหมายธรรมชาติเป็นกฏเกณฑ์ที่ชักนำให้กฏหมายบ้านเมืองคล้อยตาม 4.กฏหมายธรรมชาติในสมัยกลาง - (ความคิดของ St.Auguatine หลังชีท) St.Thomas Aquinas สอนว่า กฏเกณฑ์ในจักวาลและโลกมนุษย์มีด้วยกัน 4 ประเภท I.กฏหมายนิรันดร (Lex Aeterna) คือ แบบแผนของพระเจ้าเป็นกฏเกณฑ์ของทุกสิ่งที่พระเจ้าใช้เหตุผลและปัญญาในการกับกำสรรพสิ่งในจักรวาล มีพระเจ้าเท่านั้นที่รู้โดยสมบูรณ์ ไม่มีมนุษย์สามารถรู้ถึงกฏหมายนิรันดรแบบที่มันเป็นจริงๆ II.กฏหมายธรรมชาติ (Lex Naturalis) คือกฏหมายนิรันดรในส่วนที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน โดยแบ่งเป็น 2 ลำดับ ก) กฏหมายธรรมชาติลำดับต้น คือ ดี-ชั่ว สัญชาติญาณในการเอาตัวรอด ความปราถนาในชาย- หญิง ความปราถนาตามธรรมชาติในการแสวงหาสัจธรรม ข) กฏหมายธรรมชาติลำดับรอง คือ กฏหมายธรรมชาติลำดับต้นที่แยกย่อยลงมาอีก III.กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ (Lex Divina) คือ พวก Bible และ Dogma ที่ศาสนจักรประกาศ (พระเจ้าเปิดเผยกฏหมายนิรันดรให้มนุษย์สามรถเข้าถึงได้ผ่านทางศาสนจักร) IV.กฏหมายที่มนุษย์บัญญัติ (Lex Humana) - จากคำสอนของ St.Thomas กฏหมายต้องมีลักษณะต่อไปนี้ 1.เป็นบัญชาของเหตุผล 2.บัญญัติโดยผู้มีหน้าที่ปกครอง 3.ต้องมีการประกาศให้ทราบ - การแบ่งกฏหมายออกเป็น 4 ประเภทจึงนับว่าเป็นการประณีประนอมระหว่างความคิดชาวกรีกและศาสนาคริสต์ - ในความคิดของ St.Thomas ถ้ากฏหมายบ้านเมืองขัดต่อกฏหมายธรรมชาติ กฏหมายฉบับนั้นย่อมไร้ผลและราษฏรย่อมีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง (The Right of Disobedience) (อ.วรเจต บอกว่ามีกรณียกเว้นที่ว่าหากกฏหมายมนุษย์ขัดต่อกฏหมายธรรมชาติก็ยังบังคับใช้ได้เพราะมีกฏหมายย่อมดีกว่าไม่มีกฏหมายบังคับเลย มองในแง่ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ – แต่หนังสือนิติปรัชญา 2เล่ม ไม่มีอ้างอิงแนวคิดนี้ เลยไม่แน่ใจว่ายังไง) 5.ความคิดกฏหมายธรรมชาติสมัยใหม่ จากอิทธิพลของกฏหมายธรรมชาติทำให้กฏหมายสมัยใหม่มีลักษณะดังนี้ I.ตัวการแห่งกฏหมาย (Subject of Law) ศักศรีดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ II.ตัวกรรมแห่งกฏหมาย (Object of Law) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคล III.หลักแดนอิสระส่วนเอกชน (Sphere of Private Autonomy) IV.หลักการของกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ (Criminal Justice) V.หลักการปกครองภายใต้กฏหมาย (The Rule of Law) ความคิดของนักคิดต่างๆในสมัยใหม่ ก) Hugo Grotius - Grotius ได้อธิบายกฏหมายธรรมชาติโดยใช้เหตุผลให้เป็นอิสระจากพระเจ้า (The Law of Nature is so unalterable, that it cannot be changed even by God himself) - โดยที่ Grotius ก็เชื่อว่ากฏหมายธรรมชาติ คือ เหตุผลที่ถูกต้อง และเป็นตัวบอกว่าอะไรถูก-ผิด ดี-ชั่ว โดยที่คุณภาพของตัวกฏหมายเองไม่ขึ้นกับใคร ข) Samuel Pufendorf - คำสอนของ Pufendorf มีสาระสำคัญดังนี้ I.ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีทั้งดีและไม่ดี II.เรื่องภววิทยา (Ontology) โดยที่ Pufendorf แยก “ความเป็น” ออกเป็น 2 ขอบเขต คือความเป็นทางกายภาพและความเป็นทางศีลธรรม โดยที่กฏหมายอยู่ในโลกของศีลธรรม กฏเกณฑ์ทางกฏหมายจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความผิดถูกชั่วดีซึ่งไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฏเกณฑ์ทางกายภาพ Pufendorf จึงเสนอหน้าที่ทางสังคมอันเป็นรากฐานความประพฤติของมนุษย์เพื่อควบคุมส่วนที่เป็นกายภาพ III.ทัศนะเกี่ยวกับกฏหมายธรรมชาติ Pufendorf แยกกฏหมายออกเป็นกฏหมายที่สมบูรณ์ (Jus Perfectum) ซึ่งคือกฏหมายที่สามารถบังคบให้เป็นไปตามสิทธิได้ และกฏหมายที่ไม่สมบูรณ์ (Jus imperfectum) เป็นกฏหมายที่ขาดลักษณะบังคับ ค) John Locke - เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีและเพื่อทำให้สังคมดียิ่งขึ้นจึงตกลงร่วมกันทำสัญญาประชาคมที่ใช้ก่อตั้งผู้ปกครอง - สัญญาประชาคมแบบของ Locke เป็นแบบ “สัญญาสหภาพ” (Pactum Unions) คือสัญญาที่แต่ละคนโอนอำนาจบางส่วนที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้แก่รัฐ โดยที่ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองเป็นคู่สัญญากัน ผู้ปกครองจึงไม่อาจละเมิดได้และหากละเมิดผู้ใต้ปกครองจะมีสิทธิปฏิวัติ (Revolution) - Locke มีแนวคิดให้รัฐแบ่งแยกอำนาจโดยให้แบ่ง อำนาจการตรากฏหมายออกจาก อำนาจการบังคับใช้กฏหมาย - โดยสรุป ความคิดของ Locke เป็นรากฐานของความคิดรัฐสมัยใหม่ 2 ประการ 1.คือการเน้นให้รัฐมีอำนาจจำกัด 2.เสนอหลักแบ่งแยกอำนาจของรัฐ ง) Montesquien - Montesquien เห็นว่ามนุษย์ทั่วไปทั้งหลายมีแนวโน้มใช้อำนาจไปในทางที่ผิดจึงได้เสนอหลักแบ่งแยกอำนาจ (หลักการแบ่งและคานอำนาจ - อ.วรเจต) ให้มีการ Check and Balance เป็น นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และหลักปกครองภายใต้กฏหมาย (เป็นการแบ่งแยกอำนาจโดยใช้กฏหมายเป็นศูนย์กลาง) - Montesquien ยืนยันว่าสาระสำคัญของกฏหมายคือเหตุผลของเรื่อง แต่เน้นไปที่เหตุผลภายนอก จ) Christian Thomasius - Thomasius ได้เสนอ I.ให้มีการแยกกฏหมายกับศีลธรรม II.ให้มีการลงโทษที่การกระทำของคนมิใช่ความคิดของคน III.คัดค้านระบบไต่สวน ฉ) Jean Jacques Rousseau - Rousseau เห็นว่ามนุษย์พื้นฐานเป็นคนดี แต่เพื่อให้เกิดหลักประกันจึงได้ตกลงเข้าทำสัญญาประชาคมสละสิทธิ เสรีภาพ ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดเพื่อมาอยู่ด้วยกัน โดยที่การจำกัดนั้นกระทำโดยกฏหมาย จึงนับได้ว่าประชาชนเป็นทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองในขณะเดียวกัน - การปกครองถูกแสดงออกในรูปของเจตจำนงทั่วไป (General Will) ของประชาชน - โดยสรุปสัญญาประชาคมของ Rousseau มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ I.คัดค้านทฤษฏีสัญญาประชาคมแบบสวามิภักดิ์ของ Hobbes II.ยืนยันเสรีภาพของประชาชน III.ยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยของประชาชนแต่ละคน บทบาทของความคิดสำนักกฏหมายธรรมชาติสมัยใหม่ - ก่อให้เกิดกฏหมายเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ เช่น เรื่องทาส, ระบบวิธีพิจารณาแม่มด, ระบบราชทัณฑ์, การปกครองแบบประชาธิปไตย *อ่านสรุปหน้า 108-109 สำนักประวัติศาสตร์ (Historical School) 1.ความเป็นมาและสาระสำคัญของความคิด - Savigny บอกว่า “กฏหมายไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างได้ตามใจชอบแต่เกิดและเติบโต เปลี่ยนแปลง คลี่คลายไปตามประวัติศาสตร์”, “การบัญญัติกฏหมายจึงต้องศึกษาถึงจารีตประเพณีของชนชาติก่อน”, “การบัญญัติของกฏหมายของสำนักกฏหมายธรรมชาติไม่ถูกต้องเพราะไม่คำนึงถึงจารีตประเพณีของชนชาติ” โดยสรุปสำนักประวัติศาสตร์เสนอทฤษฏีทางกฏหมายที่สำคัญ 3 ประการ I.ทฤษฏีกฏหมาย (Theory of Law) - สำนักประวัติศาสตร์บอกว่ารากฐานของกฏหมาย คือ “จิตวิญญาณประชาฃาติ” (Volksgeist) II.ทฤษฏีวิวัฒนาการของกฏหมาย - กฏหมายวิวัฒนาการจากจิตวิญญาณประชาชาติ การนิติบัญญัติถือเป็นเพียงการบันทึกผลของนิติศาสตร์เท่านั้น III.ทฤษฏีวิชาการนิติศาสตร์ - การตีความกฏหมายต้องสืบสวนความเป็นมาของตัวบท เรียกว่านิติวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical Juristic Method) 2.ข้อสรุปและวิเคราะห์วิจารณ์ - สำนักประวัติศาสตร์มีข้อดีที่ทำให้กฏหมายไม่ใช่สิ่งโดดเดียวที่ไม่เกี่ยวกับจิตใจหรือความรู้สึกผิดชอบของประชาชน - แต่มีข้อบกพร่องตรงไม่เห็นบทบาทที่กฏหมายจะตอบสนองการพัตนาในอนาคต - การนิติบัญญัติในทัศนะของสำนักประวัติศาสตร์จะกระทำได้ต้องมีฐานทางวิชาการที่ชัดเจน - ความคิดของสำนักกฏหมายประวัติศาสตร์และสำนักกฏหมายธรรมชาติ ต่างก็เชื่อว่ากฏหมายไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามเจตจำนงของผู้ใด แต่ก็แตกต่างกันในข้อสำคัญคือเหตุผลของสำนักประวัติศาสตร์มีความซับซ้อนมากกว่าเพราะนอกจากเหตุผลในจิตใจของมนุษย์แล้ว ยังมีข้อเท็จจริงทางสังคม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ประกอบด้วย และสำนักประวัติศาสตร์สามารถอธิบายการวิวัฒนาการของกฏหมายเป็นขั้นๆได้ แต่สำนักธรรมชาติอธิบายไม่ได้ -โดยสรุปสำนักประวัติศาสตร์สอดคล้องกับปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของรัฐตามประชาชาติ (Principle of Nationality) สำนักกฏหมายบ้านเมือง (Legal Positivism) 1.ความเป็นมาและสาระสำคัญ - ยุคหลังๆมาเกิดกฏหมายลายลักษณ์อักษร ทำประมวลกฏหมาย จนทำให้เกิดความรู้สึกว่า กฏหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติขึ้นเป็นส่วนสำคัญเพียงส่วนเดียวที่พึ่งมีอยู่ -สำนักฯนี้ปฏิเสธกฏหมายที่สูงกว่าหรือกฏหมายธรรมชาติโดยยอมรับเฉพาะกฏหมายบ้านเมืองที่บังคับใช้อยู่จริงเท่านั้นที่เป็นกฏหมายที่แท้จริง (อิทธิพลจากแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์) นักคิดที่สำคัญของสำนักกฏหมายบ้านเมือง ก) Jean Bodin - เป็นคนแรกที่เสนอเรื่องอำนาจอธิปไตยโดยบอกว่าเป็นอำนาจที่เด็ดขาดและถาวร โดยที่อำนาจอธิปไตยจะไม่ถูกยับยั้งหรือจำกัดโดยกฏหมายใดๆ - แนวคิดนี้เป็นการแยกรัฐสมัยใหม่ออกจากการควบคุมของศาสนจักรและแยกกฏหมายออกจากศีลธรรม - โดย Bodin ทำให้เกิดความเชื่อว่า “กฏหมายคือสิ่งที่มนุษย์ต้องบัญญัติ” ข) Thomas Hobbes - Hobbes เห็นว่าคนมีลักษณะเลวทราม จึงทำสัญญาประชาคมมอบอำนาจให้รัฏฐาธิปัตย์เพื่อรักษาให้ทุกคนมีชีวิตรอดและเนื่องจากเป็นสัญญาที่ทำเองระหว่างเอกชนในการมอบอำนาจให้แก่รัฤฐาธิปัตย์ จึงทำให้สัญญาสมบูรณ์เด็ดขาด ไม่ถูกจำกัดโดยสิ่งใดๆจึงเรียกว่าเป็น สัญญาสวามิภักดิ์ (Pactum Subjectionis) - กฏหมายบ้านเมืองก็คือกฏเกณฑ์ทั้งตรงและโดยปริยายที่รัฏฐาธิปัตย์สั่งการหรือกำหนดถูกผิดได้เอง กฏหมายจึงเป็นธรรมเสมอและราษฏรต้องยอมรับโดยสดุษฏี ค) John Austin - ผู้ก่อตั้งวิชาธรรมศาสตร์ (Jurisprudence) - Austin สอนว่า กฏหมายแท้จริงมี 2 ประเภท I.กฏหมายที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนด (กฏหมายศักดิ์สิทธิ์) II.กฏหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น แบ่งเป็น กฏหมายที่ผู้มำอำนาจกำหนด และกฏหมายที่คนทั่วไป กำหนด (เช่น พ่อแม่-ลูก ครู-นักเรียน) - กฏหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งและต้องมีสภาพบังคับ คือหากไม่ทำจะเกิดผลร้ายตามมา ซึ่ง กฏหมายก็คือคำสั่งทั่วไปของรัฏฐาธิปัตย์ ง) Hans Kelsen - ผู้เสนอทฤษฏีกฏหมายบริสุทธิ์ (Reine Rechslehre) คือ วิชานิติศาสตร์ที่สอนและอธิบายเฉพาะในส่วนกฏหมายที่บังคับใช้อยู่ในบ้านเมืองเท่านั้น ที่เป็นภาวะวิสัยไม่รวมส่วนที่เป็นอัตวิสัย - Kelsen เห็นว่ากฏหมายและศีลธรรมมีส่วนซ้อนทับกันอยู่ แต่ต่างกันที่สภาพบังคับ *อ่านสรุปบทหน้า 134-138 สำนักความคิดกฏหมายสังคมวิทยา (The Sociological School of Law) 1.ความเป็นมาและสาระสำคัญของความคิด - การศึกษากฏหมายมิใช่เฉพาะส่วนแต่ในระบบกฏหมาย แต่ต้องดูบริบทต่างๆด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการปรุงแต่งกฏหมาย มิใช่เป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์แต่เป็นกฏหมายในสังคมมนุษย์ ความคิดในประเทศต่างๆ ก) ความคิดในฝรั่งเศส - ความเชื่อว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวบทไม่ต้องพึ่งพาอย่างอื่นนั้นเป็นความเข้าใจผิด ตัวบทนั้นเป็นเพียงแต่ หลักเกณฑ์หรือกรอบกว้างๆที่วางเอาไว้ แล้วใช้เหตุผลและดุลพินิจของผู้พิพากษามาปรุงแต่งกฏหมาย เหล่านี้ นักนิติศาสตร์ฝรั่งเศสนั้นมิใช่เป็นแต่เพียงผู้รับใช้ของตัวบทอย่างที่เข้าใจกัน แต่กลับเป็นผู้ตีความตัว- บทร่วมมือกับตัวบทในการอำนวยความยุติธรรมด้วย - เนื้อแท้ของกฏหมายเป็น Social Solidarity หรือหลักความสมานฉันท์ของสังคม กฏหมายก็คือสิ่งที่ทำ หน้าที่บังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ของตัว กฏหมายจึงเป็นระบบของหน้าที่ไม่ใช่ระบบของสิทธิ และถ้า คนจะมีสิทธิใดก็ตาม สิทธิอันนั้นแท้จริงแล้วก็คือสิทธิที่จะทำตามหน้าที่ของตนเท่านั้น ข) ความคิดในเยอรมัน - Jhering ชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาสังคมจะคิดแบบ deduction อย่างเดียวไม่ได้ ถ้าจะแก้ปัญหาจริงๆ ต้องไปหาจุดหมายที่ไม่ได้อยู่ในระบบกฏหมายซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธความคิดที่ครอบงำอยู่ในวงการ นิติศาสตร์เยอรมันที่ว่าระบบกฏหมายสมบูรณ์ในตัวเอง - Eugen Ehrlich ผู้เสนอทฤษฏีกฏหมายที่มีชีวิต (Living Law) โดยที่การศึกษาของเขาพบว่า ชาวบ้านมี ชีวิตของเขาเอง มีความสัมพันธ์ความถูกผิดของเขาเองและพบว่ามันมิใช่เรื่องเดียวกับในตัวบทกฏหมายที่ เป็นลายลักษณ์อักษร - อาจกล่าวได้ว่า Jhering และ Ehrlich เป็นผู้แสวงหาบางสิ่งบางอย่างนอกจากขอบเขตของกฏหมายเพื่อ ช่วยทำให้วิชานิติศาสตร์ดีขึ้น (เกร็ด: ในเยอรมันมี สำนักกฏหมายอิสระ เสนอให้ใช้กฏหมายโดยไม่ยึดตัวบทซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบ กฏหมายมาก) ค) ความคิดในอเมริกา - Rosucoe Pound เสนอว่าเป็นหน้าที่ (Function) ของกฏหมายที่จะปรับผลประโยชน์ที่ขัดกันของคนใน สังคมให้สมดุลกันจนสามารถอยู่ด้วยกันได้ นักกฏหมายจะมีฐานะเหมือนวิศวกรสังคม (Social Engineer) Pound แบ่งผลประโยชน์ในสังคมออกเป็น 3 ประเภท I.ประโยชน์ปัจเจกบุคคล (Individual Interest) II.ประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) III.ประโยชน์ของสังคม (Social Interest) * อ่านสรุปหน้า 149-150 ทฤษฏีกฏหมาย 3 ชั้น ( Three-Layer Theory of Law) -ขี้เกียจย่อ 5555 กฏหมายและศีลธรรม 1.พิเคราะห์ในแง่ประวัติศาสตร์ - ยุคแรก ไม่มีการแยกกันระหว่างกฏหมายกับศีลธรรม - ยุคต่อมา เมื่อมีการประพฤติตามศีลธรรมนานๆก็ก่อเกิดเป็นจารีตประเพณี โดยที่จารีตประเพณีนั้นอาจแยกออกได้เป็น 2 ประเภท I.จารีตประเพณีที่เป็นเรื่องของความถูกผิด ซึ่งพัฒนามาเป็นกฏหมายประเพณี II.จารีตประเพณีเพื่อความสะดวก จารีตฯในส่วนนี้เองที่พัฒนาขึ้นมาเป็นกฏหมายที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม เช่น กฏหมายจราจร - พอถึงยุคนิติบัญญัติพวกสำนักกฏหมายบ้านเมืองยิ่งทำให้กฏหมายแยกออกจากศีลธรรม 2.พิเคราะห์ในแง่ข้อความคิด มีการแบ่งความคิดออกเป็น 3 ลักษณะ I.กฏหมายและศีลธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน - กฏหมายและศีลธรรมเริ่มจากสิ่งเดียวกันและกฏหมายได้คลี่คลายตัวออกจากศีลธรรมจนเป็นเอกเทศต่างหาก - เราอาจกล่าวได้ว่า คำกล่าวที่ว่า “กฏหมายและศีลธรรมเป็นเรื่องเดียวกันไม่มีข้อแตกต่างนั้น” แสดงถึงความไม่เดียงสาในวิชานิติศาสตร์ วิชานิติศาสตร์ที่เจริญแล้วนั้นย่อมที่จะสามารถแยกความต่างระหว่างกฏหมายและศีลธรรมได้ II.กฏหมายและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องแยกกันอย่างเด็ดขาด - แนวคิดนี้เริ่มในศตวรรษที่ 19 จากแนวคิดที่ว่า “รัฐมีอำนาจอธิปไตย ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจใดๆทั้งสิ้น” ซึ่งแนวคิดนี้ได้เกิดขึ้นพร้อมกับแนวคิดของรัฐสมัยใหม่ - แนวคิดนี้ยึดว่า กฏหมายคือคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ว่ากฏหมายนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่ จึงทำให้กฏหมายแยกตัวออกจากศีลธรรมและความยุติธรรมอย่างชัดเจน III.กฏหมายและศีลธรรมต่างกัน แต่มีรากฐานเดียวกัน - ก
Posted on: Wed, 28 Aug 2013 04:18:31 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015