สวัสดีครับ - TopicsExpress



          

สวัสดีครับ อุปกรณ์คู่เลนส์หน้ากล้องตัวหนึ่งที่ใช้กันบ่อยๆนั้น คือ ฟิลเตอร์ ฟิลเตอร์ คืออุปกรณ์ที่ติดอยู่บนหน้าเลนส์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้งานไปตามลักษณะของฟิลเตอร์ตัวนั้นๆ โดยฟิลเตอร์ที่ใช้กันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกันครับไม่ว่าจะเป็น ฟิลเตอร์ UV ฟิลเตอร์ CPL ฟิลเตอร์ ND ฟิลเตอร์ Protector 1. ฟิลเตอร์ UV ฟิลเตอร์ UV เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้ในการตัดแสง UV ออกจากภาพ ซึ่งรังสี UV นี้จะก่อให้เกิดหมอกฟุ้งสีฟ้าบรรยากาศเวลาที่เราถ่ายภาพ (ปกติแล้วตาเปล่า เราจะมองไม่เห็นแสงนี้ พอเราถ่ายภาพ เราจะพบว่า ภาพมีโทนสีผิดเพี้ยนไป โดยเฉพาะกล้องฟิล์ม) ซึ่งปกติแล้วฟิลเตอร์ UV จะถูกใช้ในการป้องกันหน้าเลนส์ซะมากกว่าจุดประสงค์การตัดแสง UV เนื่องจาก รังสี UV แทบไม่มีผลกระทบต่อการถ่ายบนกล้องภาพดิจิตอลเลย อีกทั้งเอามาภาพมาแต่งได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องนี้ การเลือกซื้อฟิลเตอร์ UV ควรเลือกฟิลเตอร์ที่มีคุณภาพดี หรือมียี่ห้อหน่อย เนื่องจากหากเราเลือกฟิลเตอร์ UV ที่ราคาถูก ไม่มีการเคลือบ Multicoat เพื่อป้องกันแสงสะท้อน ก็จะเป็นการบั่นทอนคุณภาพภาพของเราด้วย เกิดอาการสีเพี้ยน เกิดแสงแฟล์บนภาพได้ อย่างน้อยราคาฟิลเตอร์ต้องมีราคา 1 ใน 10 ของราคาเลนส์เราครับ ปกติแล้วตามท้องตลาด ราคาฟิลเตอร์ UV นั้นมีตั้งแต่ หลักร้อย จนถึง สามสี่พันเลย แน่นอนว่าคุณภาพทั้งเรื่องเนื้อแก้วของฟิลเตอร์ และการเคลือบฉาบ Multicoat นั้นย่อมต่างกัน ทั้งนี้ ควรเลือกฟิลเตอร์ที่มีการเคลือบ Multicoat เสมอครับ 2. ฟิลเตอร์ Protector ฟิลเตอร์ตัวนี้ ตามชื่อของมันเลยครับ จุดประสงค์เอาไว้ป้องกันหน้าเลนส์ โดยทางผู้ผลิตจะทำชิ้นแก้วของฟิลเตอร์ค่อนข้างแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี รวมถึงกันรอยขีดข่วนได้ดี และคุณภาพภาพ จะเน้นลักษณะที่ให้ภาพที่ใสเคลียร์ เหมือนกับว่าไม่มีฟิลเตอร์อยู่บนหน้าเลนส์ โดยหลายๆยี่ห้อมักจะทำการฉาบ Multicoat ไว้ค่อนข้างหลายชั้นเพื่อป้องกันรอยอีกเและลดแสงสะท้อนและการเกิดแสงแฟล์อีก ด้วยครับ การเลือกซื้อนั้นเหมือนกับฟิลเตอร์ UV ที่บอกไว้ด้านบนนั่นแหละครับ 3. ฟิลเตอร์ CPL ฟิลเตอร์ที่ถูกขนานนามว่าแพงจริงๆ ฟิลเตอร์ชนิดนี้ ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็มักจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง จุดประสงค์ของการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้คือ เอาไว้ตัดแสงสะท้อนบนพื้นผิววัตถุที่มีความมันเงาซึ่งทำให้เราได้สีของวัตถุ นั้นจริงๆครับ หรือตัดแสงสะท้อนบนผิวน้ำ ทำให้เผยสีน้ำทะเลจริงๆออกมา ตัดแสงสะท้อนที่ฟุ้งในบรรยากาศทำให้สีท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้านั้นเข้มขึ้น โดยตัวของ CPL จะทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนเหล่านั้นไปในทิศทางอื่นแทน ซึ่งเป็นผลที่ทำให้ CPL นั้นกินแสงลงประมาณ 2 stop และด้วยความที่มันกินแสงไป 2 stop นี่แหละ จึงไม่ควรที่จะสวมไว้หน้าเลนส์ตลอดเวลาครับ(บางคนสวมหน้าเลนส์ตลอดเวลาก็มีครับ) ส่วนการเลือกซื้อ CPL นั้น ก่อนซื้อผมแนะนำให้ลองค้นหาหรือสอบถามผู้ที่เคยใช้ CPL ยี่ห้อนั้นๆ หรือ ภาพตัวอย่างดูก่อน เนื่องจากสีที่ได้หลังจากการตัดแสง โดยเฉพาะสีท้องฟ้าแต่ละยี่ห้อให้สีต่างกัน บางยี่ห้อหรือบางรุ่นพอตัดแสงท้องฟ้าแล้วกลับได้สีท้องฟ้าที่มีสีฟ้าออกตุ่นๆก็มีครับ หรือบางยี่ห้อก็ใสเคลียร์มาเลยก็มี แต่วิธีทดสอบคุณภาพการตัดแสงของ CPL เบื้องต้น ให้ลองเอา CPL มาหมุนตัดแสงบนหน้าจอ LCD ของคอมพิวเตอร์ดูครับ ผลที่ได้จะต้องตัดแสงได้หมด นั่นคือจอ LCD จะดำมืดไปเลย ตัว CPL ที่วางขายในท้องตลาด มีทั้งรุ่นที่มีการฉาบ Multicoat และๆไม่มีการฉาบครับ รุ่นที่มี Multicoat จะมีราคาสูงกว่าพอสมควร ฉะนั้นเลือกซื้อตามความเหมาะสมของเลนส์ ( ไม่ใช่เลนส์ราคา 5 หมื่น ใช้ CPL อันละ 500 แบบนี้จะลดทอนคุณภาพเลนส์ได้ครับ) และงบประมาณดีกว่าครับ 4. ฟิลเตอร์ ND (Natural Density) ฟิลเตอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการลดแสงเข้ากล้องครับ จะเห็นว่ามีลักษณะสีดำทั้งอันเลย ปกติแล้ว จะใช้ในสถานการณ์ที่ต้องควบคุมเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ที่เราอยากจะทำให้ ความเร็วช้าลง อาจจะงง ผมจะลองยกตัวอย่างให้ฟังครับ สถาการณ์ : ถ่ายภาพน้ำทะเลให้นุ่มและฟุ้งในช่วงเย็น(ณ. ค่าแสงหนึ่งๆ) จำเป็นต้องเปิดชัตเตอร์มากกว่า 5 วินาทีขึ้นไป เพื่อให้ได้คลื่นน้ำทะเลที่ดูนุ่มและฟุ้งสวยงาม ขนาดใช้รูรับแสงที่ 22 (แคบสุดในเลนส์ช่วงไวด์) และค่า iso 100 ต่ำสุด ก็ยังได้ค่าชัตเตอร์ที่ 1/10(วัดแสงพอดี) ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้น้ำทะเลฟุ้ง ซึ่งถ้าเราไปปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงกว่านี้ อาจทำให้ภาพเกิดแสงโอเวอร์ได้ ดังนั้น สถานการณ์นี้จึงควรใช้ ND Filter เข้ามาช่วยลดแสงหน้ากล้องเราครับ ซึ่งผลจากการใช้ ND ลดแสง ก็จะทำให้เราสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงเพียงพอที่จะทำให้น้ำทะเล นุ่ม และไม่ทำให้ภาพ over ขึ้นอีกด้วยครับ ซึ่งในสถารณ์การนี้ เราสามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายน้ำตกกลางแจ้ง การถ่ายหมอกไหลตามภูเขาได้อีกด้วยครับ โดย ND Filter จะมีเบอร์ บอกระดับความกินแสงครับ เช่น ND2-ลดแสงลง 1 stop ND4-ลดแสง 2 stop ND8-ลดแสง 3 stop ถ้าอยากได้ ND Filter ถูกๆ ลองเอา UV Filter ไปรมควันดำดูครับ ใช้ได้เหมือนกัน (ฮ่าๆ โจ๊คครับ ** อีกนิดครับ วิธีดูว่าฟิืลเตอร์นั้นมีกาีรเคลือบ Multicoat หรือไม่ สำหรับ UV และ Protector จะดูง่ายหน่อยครับ ให้เอาฟิลเตอร์วางราบกับพื้นโต๊ะ แล้วให้เรามองลงไป ถ้าฟิลเตอร์ที่มี Multicoat ดี เีราจะต้องเห็นพื้นโต๊ะชัดเจน เปรียบเสมือนกับว่า ไม่มีฟิลเตอร์อยู่ และเราจะต้องไม่เห็นเงาสะท้อนของหน้าตัวเองด้วยครับ นั่นคือฟิลเตอร์ที่ Multicoat มาดีครับ และเมื่อเราลองเอาฟิลเตอร์ เอียงดูในระดับสายตาให้สะท้อนแสงเราจะพบว่า ฟิลเตอร์จะมีสีของ multicoat ด้วยครับ เช่น สีเขียว สีแดง
Posted on: Sun, 06 Oct 2013 01:54:02 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015