สารฟอกขาว - TopicsExpress



          

สารฟอกขาว สารฟอกขาวหรือสารโซเดียมซัลไฟล์(Sodium Hydrosulfite)หรือ ผงซักมุ้ง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมเส้นไหม แห อวนและ เป็นสารเคมีที่สามารถยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหาร ถูกนำมาใช้ในการฟอกอาหารเพื่อให้มีความสดใหม่ น่ารับประทาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาหารที่มักตรวจพบสารฟอก ถั่วงอก ยอดมะพร้าว ขิงฝอย กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น น้ำตาลปิ๊บ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อมีอาการเป็นพิษเกิดขึ้น ในกรณีรับประทานสารพิษ ผู้ช่วยเหลือต้องประเมินว่าผู้ป่วยรับสารพิษเข้าไปหรือไม่ โดยดูจากอาการและสิ่งแวดล้อมที่พบผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น พบในห้องครัว มีภาชนะบรรจุสารพิษอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อหาชนิดของสารที่รับประทานเข้าไป หรือเก็บตัวอย่างอาเจียนไปให้แพทย์ตรวจ 1. ทำให้สารพิษเจือจาง ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและไม่มีอาการชัก โดยการให้ดื่มน้ำซึ่งหาง่ายที่สุด ถ้าดื่มนมจะดีกว่า เพราะว่านอกจากจะช่วยเจือจางแล้วยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหารถ้ากินสารพิษที่เป็นกรดอย่างแรงเข้าไป ให้ดื่มด่างอ่อนๆ เช่น น้ำปูนใส ผงชอล์คละลายน้ำ หรือถ้ากินด่างอย่างแรงเข้าไป ก็ให้ดื่มกรดอ่อนๆ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว เป็นต้น 2. นำส่งโรงพยาบาลภายใน 15 นาที จะได้ช่วยล้างท้องเอาสารพิษนั้นออกจากกระเพาะอาหาร 3.ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งไปโรงพยาบาล ผู้ช่วยเหลือต้องขจัดเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหารที่ยังไม่ได้ดูดซึมเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย การทำให้อาเจียนมีหลายวิธี ดังนี้ 3.1 ใช้นิ้วชี้หรือด้ามช้อนล้วงกวาดลำคอให้ลึก หรือให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ แล้วล้วงคอ 3.2 ใช้น้ำเกลือแกง 2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว หรือผงมาสตาร์ด 2 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วให้ดื่มให้หมดใช้น้ำอุ่นละลายสบู่พอสมควร (ห้ามใช้ผงซักฟอก) ใช้ในกรณีรับประทานสารปรอท แต่การทำให้อาเจียนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ จึงห้ามทำในผู้ป่วยต่อไปนี้ - หมดสติ หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว - รับประทานสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด-ด่าง ซึ่งจะพบรอยไหม้แดงบริเวณปาก การอาเจียนจะเป็นการทำให้สารพิษย้อนกลับขึ้นมาทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของหลอดอาหารและปาก เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น - รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสน เป็นต้น - สุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น 4.ดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เป็นการลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal ลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ให้ใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 แก้ว ให้ผู้ป่วยดื่ม หรือ ไข่ขาว 3-4 ฟองตีให้เข้ากัน หรือแป้งสาลีละลายน้ำ หรือ น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันสลัด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ วิธีการตรวจสอบสารพิษอย่างง่าย โดยใช้ ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(สารฟอกขาว) ในอาหาร ผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ตัวอย่างอาหาร น้ำตาลมะพร้าว หน่อไม้ดอง ทุเรียนกวน น้ำแช่ผักผลไม้ เช่น ถั่วงอก กระท้อนจำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุด 100 ตัวอย่าง อ้างอิง สุมาลี นิมมานนิตย์.(2552,15 พฤษภาคม).วิชาการ.คอม10 ปีพลังไทยเพื่อการศึกษา.สารฟอกขาวในอาหาร.TIAC E-Newsletter,ค้นหาเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2554,จาก vcharkarn/varticle/36531 นงนุช ตันติธรรม (บรรณาธิการ) . (2542). คู่มือการปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เรืองศักดิ์ ศิริผล (แปล) (2544). คู่มือการปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด วิชัย วนดุรงค์วรรณ. (บรรณาธิการ) (2534). การปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ : วิภาพร วรหาญ , จงรัก อิฐรัตน์, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ. (2536). การปฐมพยาบาลและการพยาบาลฉุกเฉิน.ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์. วิรัตน์ ศรีนพคุณ และ ศรี นพคุณ. (2541). การปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสนอ อินทรสุขศรี. (2539). การปฐมพยาบาลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์. อัจฉรา วัฒนาภิญโญ. (2535). คู่มือการปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ : เจเนอรัลบุ๊คเซนเตอร์. arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/ASSC210/2.48kraivad%.html thaigoodview/node/44377 vcharkarn/varticle/36531 doctor.or.th/node/1737 fda.moph.go.th/youngfda/knowledge/page31.shtm
Posted on: Wed, 11 Sep 2013 16:47:54 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015