เรื่องของยาลดความอ้วน - TopicsExpress



          

เรื่องของยาลดความอ้วน orlistat ภาวะน ้าหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปญั หาใหญ่ทพี่ บมากขน้ึในประชากรยุคปจัจุบนั และจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการ แก้ไข เนื่องจากโรคอ้วนนั้นท าให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือ ด สูง การลดความอ้วนที่ได้ผลดีที่สุดคือ การควบคุมอาหาร การออกก าลังกาย และการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม การใช้ยาลดความ อ้วนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น ามาใช้เสริมในกรณีที่ผปู้ว่ ยโรคอว้นได้ผ่านวิธีการลดความอ้วนด้วยตนเองแล้วแต่ไม่สามารถลดน ้าหนัก ได้หรอืในกรณีทผี่ ปู้ว่ ยอ้วนจนเกดิปญั หาแทรกซอ้ นต่อสขุ ภาพ หากปล่อยไว้โรคอว้นทผี่ ปู้ว่ ยเป็นอยู่นนั้อาจเสี่ยงต่อการสูญเสีย ชีวิต ยาที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) และส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทยรับรอง ให้ใช้เป็นยาลดความอ้วน ได้แก่ phentermine, diethylpropion และ orlistat แต่เนื่องจากยาบางตัวอาจน าไปใช้ในทางที่ผิดได้ ท าให้ มีการรับรองให้ใช้ในระยะสั้นและต้องสั่งจ่ายจากสถานพยาบาลเท่านั้น ในปจัจุบนั orlistat เป็นยาลดความอ้วนเพียงตัวเดียวที่ สามารถจ าหน่ายได้ในร้านยา ส่วนยา sibutramine นั้น บริษัทยาได้ขอถอนทะเบียนแล้ว เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากการท าให้หัว ใจเต้นเร็วและผิดจังหวะได้ Orlistat คืออะไร Orlistat เป็นยาลดความอ้วนที่มีกลไกการออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์ gastric lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจาก กระเพาะอาหารและยังยับยั้ง pancreatic lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากตับอ่อน เอนไซม์เหล่านี้ท าหน้าที่ย่อยสลายไขมันจาก อาหารที่อยู่ในรูปไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอลซึ่งมีขนาดโมเลกลุเล็กลง เมื่อเอนไซม์ถูกยับยั้งจึงท าให้ไขมันยังคงอยู่ในลักษณะที่เป็นโมเลกุลใหญ่จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ท าให้เกิดการขับถ่าย เป็นไขมันออกทางอุจจาระ ดังนั้น orlistat จะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมีอาหารที่มีไขมันอยู่เท่านั้น ไม่ว่าไขมันจะอยู่ในอาหาร นม หรือ น ้ามันก็ตาม ข้อบ่งใช้ Orlistat เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้ส าหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน (obesity) มักจะเรมิ่ ใชย้าในกรณีทผี่ ปู้ว่ ยมคีา่ ดชันีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรอืในกรณีทผี่ ปู้ว่ ยมีBMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร ร่วมกับมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไขมันในเลือดสูง โดยที่ ผปู้ว่ ยได้ผ่านการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร การออกก าลังกายและการปรับพฤติกรรมแล้วไม่สามารถลดน ้าหนักได้จนถึง เป้าหมาย โดยการใช้ยา orlistat จะได้ผลดีนั้นจ าเป็นต้องท าควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการเพิ่มการออกก าลังกายเสมอ ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) สามารถค านวณได้ ดังนี้ ดัชนีมวลร่างกาย(BMI) = น ้าหนักตัวเป็นกิโลกรัม (ส่วนสูงเป็นเมตร) 2 ขนาดยาและวิธีการรบัประทาน ปจัจุบนัประเทศไทยมีorlistat ในรูปแบบแคปซูลขนาดความแรง 120 มิลลิกรัม โดยขนาดปกติที่แนะน าคือ รับประทาน ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยยา orlistat สามารถยับยั้งการดูดซึมไขมันได้สูงสุดที่ร้อยละ 30 ของปริมาณไขมันทั้งหมดที่รับประทานเข้าไป จะเห็น ว่ายังมีไขมันอีกร้อยละ 70 ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ จึงไม่ได้หมายความว่าหากรับประทานยาเข้าไปแล้วจะสามารถ รับประทานอาหารที่มีไขมันได้ไม่จ ากัด นอกจากนี้การใช้ยามากกว่า 360 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ได้ท าให้ประสิทธิภาพของยามากขึ้นแต่ อย่างใด ผลข้างเคียงและข้อควรระวังของยา Orlistat มีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาเอง การที่ไขมันไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซึมท าให้ ไขมันออกมาพร้อมอุจจาระ ดังนั้นอาการที่พบบ่อยๆ คือ มีน ้ามันปนออกมากับอุจจาระ มีความอยากถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งกว่าเดิม ควบคุมการขับถ่ายล าบาก ปวดมวน ไม่สบายท้อง และผายลมได้ โดยมักจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึงร้อยละ 80 และระดับความรุนแรง ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นหากใช้ยาไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจาก orlistat ยับยั้งการดูดซึมของไขมัน ส่งผลท าให้วิตามินบางตัวที่ละลายได้ในไขมันถูกดูดซึมลดลง มีการรายงาน วา่ มกีารลดลงของระดบัวติามนิอใีนเลอืด ในผปู้ว่ ยโรคอ้วนและโรคไขมันในเลือดสูงที่รับประทานยา orlistat ขนาด 10-120 มิลลิกรัม ทุกวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 2-3 เดือน ส่วนการลดลงของวิตามินดีพบในผู้ที่ได้รับยาขนาด 120 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง ส าหรับวิตามินเอยังไม่พบว่าเกิดการลดลงของระดับวิตามินในเลือดอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม จึงมีการแนะน าให้รับประทาน วิตามินเสริมร่วมด้วยในผปู้ว่ ยทใี่ ชย้า orlistat ติดต่อกันนานมากกว่า 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงในการขาดวิตามิน อยู่แล้ว โดยทั่วไป orlistat เป็นยาลดน ้าหนักที่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยาลดความอ้วนชนิดอื่น แต่ ในบางครั้งอาจพบผปู้ว่ ยหยุดยาเน่ืองจากทนผลขา้งเคยีงไมไ่ ด้เช่น มีน ้ามันปนออกมากับอุจจาระ มีความอยากถ่ายอุจจาระ บ่อยครั้ง ควบคุมการถ่ายล าบาก วิธีการลดผลข้างเคียงที่เกิดจากยา orlistat คือ การลดอาหารที่มีไขมัน ซึ่งจะท าให้ไขมันที่ออกมา ทางอุจจาระมีปริมาณที่ลดลงได้ นอกจากนี้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) ท าการประกาศเปลี่ยนแปลงข้อมูลความปลอดภัยของฉลาก ยาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดความผิดปกติของตับที่รุนแรงจากการใช้ยาดังกล่าวโดยให้บุคลากรทางการแพทย์แจ้งแก่ผู้ใช้ยาถึง อาการที่อาจเกิดขึ้น ผปู้ว่ ยควรหยุดรบัประทานยาหากมอีาการผดิปกติเชน่ เบอ่ือาหาร มผีน่ื คนั ตวัเหลอืง ตาเหลอืง ปสัสาวะมสีี เข้ม อุจจาระมีสีซีด มีอาการปวดท้อง เพราะอาจน าไปสู่ความผิดปกติที่รุนแรงต่อตับจากการใช้ยา orlistat ส าหรับหญิงตั้งครรภ์ orlistat ถูกจัดอยู่ในยาที่มีความปลอดภัยในประเภท B คือไม่มีความเสี่ยงในการท าให้เกิดความ ผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง และไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์ยานี้ยังไม่มีข้อมูลการใช้ในเด็กอายุต ่ากว่า 12 ปี และหญิงให้นมบุตรจึงยังไม่มีค าแนะน าในการใช้ orlistat ในกลุ่มดังกล่าว ปฏิกิริยากบัยาอื่น • เมื่อใช้ orlistat ร่วมกับยาบางตัวที่มีคุณสมบัติในการชอบไขมันสูงอาจท าให้ระดับยานั้นลดลงได้ เช่น amiodarone ซึ่งเป็น ยาที่ใช้รักษาอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และ cyclosporine ซึ่งเป็นยาเพื่อใช้ในการกดภูมิคุ้มกันจากโรคหรือจากการปลูกถ่าย อวัยวะ การใช้ orlistat ร่วมกับยาเหล่านี้อาจท าให้ระดับยาในเลือดของยาดังกล่าวลดลงได้ • ส าหรับผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin อยู่ ถึงแม้ว่า orlistat ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงเภสัช จลนศาสตร์ของ warfarin แต่การที่ orlistat ไปรบกวนการดูดซึม vitamin K จึงอาจส่งผลรบกวนต่อการออกฤทธิ์ของยา warfarin และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกได้ • มีรายงานว่าการใช้ยา orlistat อาจท าให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายได้ในไขมันลดลง คือ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี และเบตา้แคโรทนีลดลง ผปู้วยควรรับประทานวิตามินเสริมร่วมด้วย ่ ดังกล่าวแล้วข้างต้น นอกเหนือจากผลในการลดความอ้วนแล้ว ยังมีการศึกษาว่า orlistat สามารถให้ผลในด้านอื่นเพิ่มเติมด้วย จากการศึกษา ของ Torgerson และคณะ (XENDOS study) ที่ไดท้ าการศกึษาในผปู้ว่ ยทมี่ ีน ้าหนักตัวมาก (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร) จ านวน 3,304 คน เป็นระยะเวลา 4 ปีโดยแบง่ ผปู้ว่ ยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับ orlistat และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ทงั้น้ีผปู้ว่ ยทงั้หมดจ าเป็นตอ้งควบคมุ อาหาร และมกีารออกกา ลงักายอย่างสม่า เสมอ ควบคไู่ ปกบัการรบัประทานยาดว้ย ผลก าร ทดลองพบว่า กลุ่มที่ได้รับ orlistat สามารถลดน ้าหนักได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และยังช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีimpaired glucose tolerance Orlistat นัน้ ถือเป็นยาลดความอ้วนที่มีประสิทธิภาพดีและยังสามารถใช้ป้ องกันน ้าหนักเพิ่มหลงัมีการลดความ อ้วนแล้ว รวมถึงพบผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับยาลดความอ้วนตัวอื่น อย่างไรก็ตามการลดน ้าหนักและรักษาโรคอ้วนที่ได้ผลดีที่สุดนั้นต้องประกอบด้วยการควบคมุ อาหาร การออกกา ลงักายและการปรบัพฤติกรรม การใช้ยาลดความอ้วน สามารถน ามาใช้เพียงเพื่อเสริมวิธีการดงักล่าวเท่านั้น ผู้ป่ วยโรคอ้วนที่จ าเป็นต้องใช้ยาควรตระหนักเสมอว่าการใช้ยาให้ ได้ประสิทธิผลต้องมีการควบคมุ อาหาร การออกกา ลงักายอย่างสมา ่ เสมอ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมด้วย การใช้ยาลดความอ้วนให้ผลแค่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อเลิกใช้ยา ผป่ วยก็จะมีโอกาส ู้ สูงในการกลับมาเป็นโรคอ้วน ดงัเดิม ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องก่อนการใช้ทุกครั้ง บรรณานุกรม 1. Orlistat. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Jun 15. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Jun 15]. 2. FDA Adds Risk for Severe Liver Injury to Orlistat Label [Online]. 2010 May [cited 2010 June 2]; Avaliable from : medscape/viewarticle/722495 3. Torgerson, JS, Hauptman, J, Boldrin, MN, Sjostrom, L. XENical in the prevention of diabetes in obese subjects (XENDOS) study: a randomized study of orlistat as an adjunct to lifestyle changes for the prevention of type 2 diabetes in obese patients. Diabetes Care 2004; 27:155. 4. สุรัตน์ โคมินทร์ และ ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร. Critical review of current and new options of obesity management: choosing the right option for the right patient. ใน: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ, บุษบา จินดาวิจักษณ์และสุวัฒนา จุฬาวัฒ นทล, บรรณาธิการ. Advances in pharmacotherapeutics and pharmacy practice. กรุงเทพ: สมาคมเภสัชกรรม โรงพยาบาล; พศ.2548: หน้า 50-57. ภญ. พิชญา ดิลกพัฒนมงคล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Posted on: Mon, 09 Sep 2013 09:48:38 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015