แนวคิดการสอนแบบต่างๆ - TopicsExpress



          

แนวคิดการสอนแบบต่างๆ คงช่วยตอบข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านค่ะ เรื่องเรียนของลูก มีแนวการเรียนการสอนอย่างไรบ้างหนอ เรื่องเรียนของลูก มีแนวการเรียนการสอนอย่างไรบ้างหนอ เป็นคำถามหลายคน กำลังศึกษา ข้อมูลเป็นแนวทาง กับพ่อแม่ที่สนใจเรื่องการศึกษา ***เพื่อไว้สืบค้นต่อไปดรับ ส่วนตัว อ่านแล้วห็นว่าน่าสนใจดี อืมม มีอะไรแบบนี้ด้วยเหรอ หวังว่าคงได้ประโยชน์กับผู้อื่น บ้างไม่มากก็น้อย ช่วยกันแบ่งปัน เพื่อมีข้อมูลในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจตรับ....เพราะ3ปีก่อน ตอนหาโรงเรียนให้ลูก ก็หาข้อมูลเหล่านี้เหมือนกันครับ แต่มีอย่างกระจัดกระจาย ให้เวลานานในการค้นหาข้อมูลเหล่า ไปเจอที่หนึ่งเค้านำมารวมไว้ให้ เลยนำมาฝาก***เพื่อไว้สืบค้นต่อไปดรับ เรื่อง "แล้วแนวไหนดีกว่า..?" ขอบคุณ website โรงเรียน ทอรัก ที่รวบรวมมาให้ จาก taurakschool.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=5360800&Ntype=7 คัดมาจาก "รักลูก" webboard เก่าครับ แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นแนวคิดที่คํานึงถึงเด็กเป็นจุดหลักในการจัด การเรียนการสอน ความสนใจ ความต้องการ และการมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็กได้นํามาพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อแสวงหา วิธีการที่ดีที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยความรู้สึกของความมีอิสระ ได้ใช้จิตของตน ในการซึม ซับสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัว เกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยใน ตนเองเกิดการพัฒนาการทุก ๆ ด้านไปใน เวลาเดียวกัน การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอร ี่สามารถ พัฒนาเด็ก ตั้งแต่วัยทารกจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกกลุ่ม ทั้งเด็กที่มีความ ต้องการ พิเศษและเด็กปกติ ทุกชนชาติ ศาสนา ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ (ค.ศ1870-1952) แพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลี ผู้คิดวิธี การสอน แบบมอนเตสซอรี่ขึ้นครั้งแรก โดยเริ่มจากการทํางานกับเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา ทําให้ค้นพบว่า ปัญหาของเด็กคือการให้การดูแลเอาใจใส่ มากกว่าเหตุผลทางการ แพทย์ คิดว่าชีวิตเด็กเหล่านี้น่าจะดีขึ้นด้วยการกระตุ่นทางสติปัญญา มอนเตสซอรี่จึงคิดหา วิธีการที่จะ ช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางสติ ปัญญา และอารมณ์ต่อมาจึงได้พัฒนาการสอน สําหรับเด็กปกติด้วย วิธีการสอนเริ่มจากการสังเกตเด็ก ศึกษาพัฒนาการของเด็ก ความต้องการและความ สนใจของเด็ก โดยมีแนวปรัชญาที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง และคํานึงว่าเด็กทุกคนมีความสําคัญ สิ่งที่มอนเตสซอรี่ค้นพบคือเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นจะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อยากทดลอง อยากเรียนรู้ กิจกรรมใหม่ๆ ความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและ พัฒนาการ จากการสังเกตพบว่าเด็กดําเนินวิถีชีวิต ไปในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน คือเริ่มจากอยาก เรียนรู้การกินด้วยตนเอง การเดิน การพูด และการสัมผัสสิ่งของ จนกระทั่งอยากเรียน อ่าน คิดเลข และเรียนรู้ ู้สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว สิ่งที่ค้นพบทําให้เห็นถึงขั้นพัฒนาการของ เด็กที่แตก ต่างกัน เด็กมีความรู้สึก อยากแสวงหาความรู้จากแหล่งที่แตกต่างกัน ช่วงเวลานี้สําคัญในการ ที่จะติดตาม สิ่งที่เด็กสนใจ เรียกว่า "ช่วงเวลาหลักของชีวิต" ความมีอิสระในการเลือก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มอนเตสซอรี่ให้ความสนใจ เนื่องจากความสนใจ ของเด็กเองเป็นแรงกระตุ้น ที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ และจะช่วยให้เด็กมีสมาธิในการทํางาน ที่ตนเอง สนใจ เด็กอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ พยายามและทําซํ้าๆ ดังนั้นการให้เด็กได้ทํางาน อย่างอิสระในสิ่งที่เขา เลือกสิ่งที่มุ่งหวังคือให้เด็กมีวิจารณญาณที่ดีต่อบุค คลอื่นและสิ่งแวดล้อม ได้ทํางานโดยไม่มีใคร มารบกวน และทํางานตามความสามารถของตนเอง การให้เด็กได้เรียนกิจกรรมต่างๆ และได้เคลื่อนไหว มอนเตสซอรี่ได้จัดทําอุปกรณ์ต่าง ๆ หลาก หลายตามความสนใจ และวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน อุปกรณ์ไม่ใช่จุดสําคัญที่สุดสําหรับ วิธีการสอน แบบมอนเตสซอรี่ แต่เป็นเพียงผู้ช่วยที่ดีเท่านั้น อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ มีทั้งส่วนที่ช่วย พัฒนาทาง ประสบการณ์ชีวิต วิชาการ และประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย อุปกรณ์สําหรับการ ทําความสะอาด การขัด และอุปกรณ์ในการทํางานบ้าน สําหรับอุปกรณ์จะมีการ ออกแบบเฉพาะ ให้เด็กได้พัฒนา สติปัญญาการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษา และหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น ความรู้สึกและ การใช้ประสาท สัมผัสร่วมกัน แนวคิดการสอนของมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เพราะฉะนั้นอุปกรณ์จึง เป็นสิ่งสําคัญ อุปกรณ์ของ มอนเตสซอรี่ได้วางแผนมาให้ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น เด็กเล็กๆ อาจจะใช้อุปกรณ์ประสาทสัมผัส และพัฒนาไปจนใช้อุปกรณ์ ทางวิชาการ อุปกรณ์เป็นสิ่งช่วย ควบคุมตนเองในการทํางาน เด็กจะพอใจเมื่อทํางานได้ถูกต้อง อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีคุณภาพดีเด็ก แต่ละกลุ่มจะมีอุปกรณ์ เพียง 1 ชิ้น และในวัตถุประสงค์เดียวกันอาจใช้อุปกรณ์หลายชิ้น การจัดอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสําหรับวางอุปกรณ์ทุกอย่าง เด็กต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบ ร้อย เมื่อทํางานเสร็จ เด็กได้เรียนรู้จากการทํางานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการรอโอกาสของตน เรียนรู้การใช้ อุปกรณ์ร่วมกัน การทํางานของครูมอนเตสซอรี่ ครูต้องสังเกตความสนใจและความต้องการของเด็ก กระตุ้นและ ส่งเสริมสนับสนุนต่อความ สนใจและความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน และช่วยให ้เด็ก ทํางานได้ด้วยตนเอง เด็กทุกคนควรได้เรียนรู้การทํางานด้วยตนเอง ครูควรถามคําถาม ที่แปลก ใหม่เสมอ บอกแหล่งความรู้ที่เด็กสามารถค้นหาได้ แสดงวิธีการใช้อุปกรณ์ให้เด็กด ูและเปิด โอกาส ให้เด็กได้ทดลองความคิดของเขา จากการทํางานเดี่ยว และกลุ่มอุปสรรค สําคัญสําหรับ พัฒนาการของเด็กคือการเข้าไป ช่วยเหลือของครูโดยที่เด็ก ไม่ต้องการ ภายในบริเวณโรงเรียนอนุบาลของมอนเตสซอรี่ จะพบสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้น และเร้าใจให้ เด็กอยากทํางาน เด็กแต่ละคนจะทํางาน แตกต่างกัน เด็กอายุ 3-6 ปี จะทําความสะอาด ขัดรอง เท้า ขัดโลหะ จัดโต๊ะอาหาร บริการอาหารที่เด็ก ทําเอง เป็นต้น บางคนนั่งบนพรม หรือเสื่อที่พื้น บางคนนั่งเก้าอี้และทํางานที่โต๊ะทํางานกับอุปกรณ์ทางประสาทสัมผัสและวิชาการ เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ โดยเด็กอายุ 3 ปี บางคนเลือกทํางานกับภาพตัดต่อแผนที่ทวีปต่างๆ เด็กอายุ 4 ปี กําลังฝึกเขียนโดยใช้บัตร กระดาษทรายตัวอักษรและตัวเลข เด็กอายุ 5 ปี กําลังพูดเรื่องวงกลม และทํากิจกรรมโดยใช้อุปกรณ์จิ๊กซอหรือตัวต่อ เกี่ยวกับวงกลม และรูปเหลี่ยมสร้างสรรค์ แล้วประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เด็กทุกคน ทํางานอย่างมีสมาธิ ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ที่มุมห้องจะพบว่าเด็กได้จินตนาการในการสร้างสรรค์งานจากอุปกรณ์ต่างๆ บางคนเอาสิ่งที่สร้าง สรรค์แล้วไปสัมพันธ์ กับดนตรี การแสดง การเต้น การให้เด็กได้มีเวลาทํ าสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ได้ทดลอง พยายามและทําซํ้าด้วยวิธีของเขา จะช่วย ลดปัญหาต่างๆ ได้ ในโรงเรียนอนุบาล มอนเตสซอรี่ จะจัดสิ่งแวดล้อมไว้สําหรับเด็ก เด็กจะได้รับความช่วยเหลือ ด้วยวิธีการ ที่ถูกต้อง และเด็กจะรู้จักการพึ่งตนเองในการทําสิ่งที่ตนสนใจ โดยเฉพาะเด็กปกติจะสามารถทําอะไร ได้มากมาย เกินความคาดคิด ของผู้ใหญ่เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่จึงควรให้การยอมรับนับถือแก่เด็ก ให้เด็กมีอิสระ มีโอกาสในการแสดงความรับผิดชอบ พิจารณา เกิดความตระหนักในตนเอง เกิดการเรียนรู้โดยการซึมซับจากข้อมูลและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว สิ่งที่ได้กล่าวมานี้เป็นแนวทาง นํา ไปสู่การปฏิบัติเพื่อจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ทั่วโลก การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo-Humanist Education) ความเป็นมา จุดเริ่มของแนวคิดนี้ มาจากโยคีชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ พี.อาร์. ซาร์การ์ (P.R. Sarkar) ที่นําศาสตร์ทางตะวันออกกับความทันสมัยแบบตะวันตกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น มีการให้เด็กๆ ฝึกสมาธิ ทำโยคะ ขณะเดียวกันก็ใช้เสียงเพลงและวิธีการสอนใหม่ๆ รวมเข้าไปด้วย หลักการ สิ่งแวดล้อมและการศึกษาในวัยต้นๆ ของชีวิต มีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งต่อความเฉลียวฉลาด คุณธรรมและความสุขของคนเรา โดยเชื่อว่าความเก่ง ความฉลาด ซึ่งเป็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ แต่มนุษย์ดึงศักยภาพดังกล่าว ออกมาใช้แค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งๆ ที่มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพตัวเองได้สูงสุดมากกว่านี้ และเชื่อว่าความเป็นคนที่สมบูรณ์นั้นเกิดจากศักยภาพที่สําคัญ 4 ด้าน คือ 1. ร่างกาย (PHYSICAL) จะต้องแข็งแรง 2. จิตใจ (MENTAL) ถ้ารูปร่างดีแข็งแรง แต่จิตใจไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่มีประโยชน์ 3. ความมีน้ำใจ (SPIRITUAL) มีความรักให้กับคนอื่นในวงกว้าง ช่วยเหลือคนอื่นโดยที่ไม่หวังผลตอบแทน มีความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ มีใจที่เปิดกว้าง 4. วิชาการ (ACADEMIC) ถ้าเราไม่มีวิชาการ ไม่มีความรู้ ก็ไม่มีทางที่เราจะมีอะไรมาบํารุงตัวเอง ทั้ง 4 ด้านคือหลักการสู่ความเป็นคนที่สมบูรณ์ การศึกษาที่ดีจะต้องจัดให้ครบทั้งหมดนี้ กระบวนการ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมที่ทําในโรงเรียนนีโอฮิวแมนนิส จะต้องสอดคล้องกับหลัก 4 ข้อ คือ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตัวเอง และการให้ความรัก ซึ่งต้องไปด้วยกัน เด็กจึงจะไปในทิศทางที่ดี 1. คลื่นสมองต่ำ นักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือวัดคลื่นสมอง ซึ่งสามารถตรวจพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของคนเราจะแปรเปลี่ยนไปตามคลื่นสมองที่เราส่ง ยิ่งต่ำลงมากเท่าไรจะยิ่งมีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะมีความสงบทางจิตใจ อารมณ์ดี ใจเย็น มีความคิดสร้างสรรค์สูง เกิดสมาธิ จิตใจเป็นหนึ่งเดียว ไม่ฟุ่งซ้านไม่วอกแวก กิจกรรมจึงต้องสร้างให้ เด็กเกิดภาวะคลื่นสมองต่ำมากที่สุด เช่น ก่อนเข้าห้องเรียน เด็กๆ ได้ฝึกทําโยคะ นั่งสมาธิ อันถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาเรียนหนังสือได้อย่างสบายใจ และมีความสุขในการรับรู้ โยคะและสมาธิจะช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาทผ่อนคลายขณะเด็กทำโยคะจิตใจเขาจะเป็นหนึ่งเดียว เรื่องอะไรที่วุ่นวายจะค่อยสงบลงๆ การเล่านิทาน การกอด เสียงเพลง และท่าที คำพูดจากคนรอบข้าง ก็มีส่วนทำให้คลื่นสมองต่ำได้เช่นเดียวกัน ถ้าเด็กอยู่ใกล้คนคลื่นสมองต่ำ เขาก็จะต่ำด้วย แต่ถ้าใกล้คนที่คลื่นสมองสูง อารมณ์เขาก็พลอยรุนแรงสูงตามไปด้วย ดังนั้น บทบาทของครูจึง เป็นเรื่องสําคัญ ครูต้องอารมณ์เย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ พูดให้กำลังใจ และไม่พูดในแง่ลบ อาหารการกินก็มีส่วนต่อคลื่นสมองของคนเราด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นอาหารธรรมชาติมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลดีมากเท่านั้น อาหารที่โรงเรียนจึงเป็นแบบกึ่งมังสวิรัติไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น หมู เนื้อ แต่กินเนื้อสัตว์เล็กตั้งแต่ไก่ลงมา เน้นผัก ผลไม้ นมและดื่มน้ำมากๆ 2. การประสานของเซลล์สมอง เราเคยเชื่อว่าความฉลาดมาจากพันธุกรรม พ่อเก่ง แม่เก่ง ลูกจะออกมาเก่ง แต่แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสมีความเห็นต่างออกไปจากนั้น โดยเชื่อว่าความฉลาด สามารถฝึกฝนกันได้ ไม่ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ แต่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ว่าได้มีส่วนช่วย ทําให้เซลล์สมองประสานกันมากน้อยแค่ไหน การที่คนไหนจะฉลาดหรือไม่ฉลาด เกิดจากเซลล์สมองประสานเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่าเซลล์ประสานประสาท ถ้าใครมีมากๆคนนั้นจะฉลาด เรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้เร็ว อย่างเรามีเพื่อน ทําไมบางคนอ่านหนังสือสิบนาที จำได้หมดแล้วเรากลับจําไม่ได้ มีการค้นพบว่าเซลล์ประสานประสาทจะขยายตัวได้ดี เมื่อมือกับเท้าของเราทํางานมาก เพราะปลาย ประสาทจะอยู่ตรงส่วนนี้มาก ฉะนั้นในแนวคิดนี้จึงให้เด็กเรียนๆ เล่นๆ เรียนก็จริง แต่ต้องได้เคลื่อนไหวด้วย ดังนั้นกิจกรรมจึงมุ่งให้เด็กได้ออกนอกห้อง ได้ปีนป่าย ได้วิ่งเล่น เพื่อให้มือกับเท้าทำงานมากที่สุด นีโอฮิวแมนนิสจะไม่เชื่อเรื่องให้เด็กเรียนอย่างเดียว หรือเล่นอย่างเดียว เพราะในช่วง 3-6 ปี จะเป็นช่วงที่สมองของคนเราเจริญเติบโตมากที่สุด ถ้าไม่ให้เรียนเสียเลย แล้วมาเรียนตอน 7-8 ขวบจะยิ่งช้าไป ดังนั้นจึงต้องเรียนบ้าง โดยกระจายให้เหมาะสม และใช้วิธีการที่จูงใจ ให้เด็กเรียนรู้ด้วย คลื่นอัลฟาหรือคลื่นสมองต่ำมากที่สุด ส่วนวิธีการสอนแม้เป็นนามธรรม แต่ก็มีวิธีจูงใจอย่างมีระบบ จากรูปธรรมง่ายๆ ไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม ยากๆ แล้วจึงค่อยไปสู่นามธรรมโดยที่เด็กแทบจะไม่รู้ตัวเลย เช่น แทนที่เด็กจะต้องท่องตัวอักษรต่างๆ เขาก็จะรู้จักเจ้าตัวพวกนี้ผ่านเกม โดยวิ่งไปตามพื้นห้องให้เป็นรูปตัวอักษร ทําตัวเองให้เป็นรูปนั้น หรือเล่นเกมบัตรคําสนุกๆ และแทนที่จะต้องหลับหูหลับตาท่องตัวเลขมากมายอย่างไร ความหมายพวก เขาก็จะได้เรียนรู้การใช้จากของจริง เช่น นับตัวเลข จากลูกปัดหอย หรือผลไม้ ถ้าหากจะเรียนสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิต ครูก็จะพาพวกเขาไปสัมผัสกับประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน อาจพาไปดูปลาในบ่อ พาไปรู้จักสัญญาณไฟจราจรริมถนน เป็นต้น 3. ภาพพจน์ของตัวเอง (SELF CONCEPT) ความรู้สึกที่คนเรามีต่อตัวเรา ตามหลักจิตวิทยา สมัยใหม่พบว่าความรู้สึกที่มีต่อตัวเราจะส่งผลไปถึงความรู้สึกที่เรามีต่อคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้สึกว่าตัว เองไม่ได้เรื่อง เราก็จะไม่เชื่อมั่นคนอื่น ความรู้สึกที่มาจากตัวเรามันมาจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่เป็นตัวบันทึก โดยเฉพาะทางตากับทางหู เป็นเรื่องของจิตใต้สํานึก ซึ่งวัยเด็กเป็นวัยที่รับรู้สูงที่สุด ถ้าจิตใต้สํานึกบันทึกไว้แต่เรื่องด้านลบ ได้ยินคนรอบข้างพูดเรื่อยๆ ว่าไม่เก่ง ซน เด็กเติบโตขึ้นก็จะ กลายเป็นคนที่ไม่เก่ง ซน ซุ่มซ่าม เมื่อภาพพจน์ที่มีต่อตัวเองเป็นลบ พฤติกรรมที่ออกมาก็จะเป็นลบด้วย ดังนั้น บทบาทของครูจึงเป็นเรื่องสําคัญ (กรณีเดียวกับเรื่องคลื่นสมองต่ำ) เชื่อว่าพฤติกรรมของ ครูคือบทเรียนที่ดีที่สุดของเด็ก เช่น ถ้าครูไม่กินผัก เด็กก็จะไม่กินผัก ถ้าครูพูดจาไพเราะ เด็กก็จะพูด จาไพเราะ แนวคิดนี้ไม่เชื่อว่าทําอย่างที่ครูสอน แต่อย่าทําอย่างที่ครูทํา ดังนั้นคนเป็นครูที่ดีจึงต้องสมบูรณ ์พร้อมทั้งพฤติกรรมส่วนตัวและเทคนิคการสอนด้วย เด็กจึงจะเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ 4. การให้ความรัก เปรียบเสมือนกับแก้วน้ำ ถ้าความรักของเด็กคนนั้นเต็ม มันย่อมไหลเผื่อแผ ่ไปถึงผู้อื่น ตรงกันข้ามถ้าความรักของเขามีเพียงค่อนแก้ว เขาย่อมเรียกร้องต้องการการแสดงออก ซึ่งความรักแก่เด็กที่จะทําให้เขาได้รับความรักล้นเต็ม วิธีที่จะได้ความรัก 1. รอยยิ้ม ตามหลักจิตวิทยา การยิ้มคือการยอมรับในความเป็นมนุษย์ 2. คําชม การนําเอาข้อดีมาพูด 3. การสัมผัส ในเด็กวัย 3-6 ขวบต?องการสิ่งนี้มาก นักจิตวิทยาบอกว่าคนเราต?องการการสัมผัสอย่างน้อยวันละ 4 ครั้งเพื่อการมีชีวิตรอด 8 ครั้งเพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างปกติ และ 14 ครั้งเพื่อการมีชีวิตอย่างมีความสุข ถ้าไม่ได้รับเลยเขาจะอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ดังนั้นในโรงเรียนนีโอฮิวแมนนิส ครูจึงกอดเด็กหลังเช็กชื่อในตอนเช้าเสมอ แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป ดร.เดวิด ไวคาร์ท (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป (High/Scope Educational Research Foundation) เป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับคณะนักวิชาการและนักวิจัย อาทิ แมรี่ โฮแมน (Mary Hohmann) และ ดร.แลรี่ ชไวฮาร์ต (Dr.Larry Schweinhart) พัฒนาขึ้นจาก โครงการเพอรี่ พรี สคูล (Perry Preschool Project) ตั้งแต่พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Head Start เพื่อช่วยเหลือ เด็กด้อยโอกาสให้มีการศึกษาที่เหมาะสม และประสบความสําเร็จ ในชีวิต มูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคปได้ศึกษาเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ ได้รับการสอน จากครูโดยตรง (Direct Instruction) กลุ่มเนอร์สเซอรี่แบบดั้งเดิม (Traditional Nursery) และกลุ่มที่ได้รับ ประสบการณ์โปรแกรมไฮสโคป จากการศึกษาติดตามเด็กเหล่านี้ ตั้งแต่ ระดับปฐมวัยจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมไฮสโคปมีปัญหาพฤติกรรม ทางสังคม-อารมณ์ เช่น การถูกจับข้อหาลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น บกพร่องทางอารมณ์ และล้มเหลว ในชีวิตน้อยกว่าอีก 2 กลุ่ม ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงพิสูจน์ได้ว่าช่วย ป้องกันอาชญากรรรม เพิ่มพูน ความสำเร็จทางการศึกษาและผลผลิตตลอดชีวิต (Weikart and others, 1978 และ Schweinhart, 1988 และ 1997) นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ได้ง่าย เผยแพร่ในประเทศสหรัฐ อเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ครูจำนวนมากกว่า 33,000 คน ได้รับ การฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และจากการสำรวจสมาชิก มากกว่า 200,000 คน ของสมาคมการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ (NAEYC) พบว่า ร้อยละ 28 ของสมาชิกได้รับการฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และร้อยละ 44 ใช้โปรแกรมไฮสโคปในบาง บริบทด้วย (Schweinhart, 1997) ทฤษฎีที่มีอิทธิพล ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น หลักการ โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็น พื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่าง เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลง มือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่ 1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น 2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เพียงพอ ที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย 3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถ ุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนร ู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ ์เหล่านี้ด้วยตนเอง 4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้อง เรียนที่เด็กเรียนรู้ แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูด ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย 5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบ ลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้าง องค์ความรู้ของ เด็กเป็นเสมือนกรอบความคิด ที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือ กระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของ ความรู้ที่เด็กจะต้องหามา ให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบ การณ์สำคัญเป็นกรอบ ความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผน การจัดประสบ การณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม แนวคิดแบบวอลดอร์ฟ ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ เป็นผู้ที่พัฒนาการศึกษาในช่วงซึ่งสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นเป็นภาวะ หลังสงครามที่เยาวชนอยู่ในบ้านเมืองที่มีสภาพน่าเศร้าใจ ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ จึงเน้นการศึกษาเพื่อรักษาเยียวยาสุขภาพและจิตวิญญาณ ให้ผู้คนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สร้างสรรค ์ความดีงามและสุมทรียภาพ ด้านต่างๆ และวิถีชีวิตที่ต้องช่วยตัวเองของเด็กๆ เพื่อให้การดำรงชีวิต ของเด็กๆ เป็นไปอย่างมีความสุข และ เหมาะสมกับวุฒิภาวะ วอลดอร์ฟเชื่อว่าการเรียนเขียนอ่าน ควรเริ่มเมื่อเด็กมีความพร้อมอย่างแท้จริง หรือเมื่อฟันแท้ขึ้น ดังนั้นในช่วงแรกของเด็กๆวัยแรกเกิดถึง6 ปีจึงเป็นการสอน ที่เน้นการพัฒนาเด็กตามวัยโดยเด็กเรียนรู้จากสื่อที่เป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เรียนรู้จาก พฤติกรรมของผู้ใหญ่ เน้นความสัมพันธ์ที่อบอุ่น อ่อนโยนเพื่อพัฒนาความรู้สึกที่ดีงาม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ และพึงพอใจในผลงาน ของตน โดยผ่านการเล่น การปฎิบัติตนในชีวิตประจำวัน การสอนแบบวอลดอร์ฟให้ความสำคัญ กับบทกลอนความสละสลวยของภาษา สีสันสดใส นุ่มนวล และการเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเอง ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง การรู้จักทำอาหาร การเก็บกวาด ดูแลรักษาบ้าน และอุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาดและสวยงามเป็นระเบียบ การเล่น บทบาทสมมุติ โดยใช้ เครื่องเล่นจากธรรมชาติ ทำให้เด็กๆเข้าใจ ส่งเสริมความคิดและจินตนาการในเด็กวัยนี้ เป็นอย่างดี จุดเน้นของการสอนแบบวอลดอร์ฟคือเรื่องความมีสุนทรียภาพ และบรรยากาศ ในการจัดห้อง จัดมุมต่างๆ ใช้สื่อทำจากไม้และวัสดุธรรมชาติ เช่นเปลือกหอย ก้อนกรวด ลูกไม้แห้ง กิ่งไม้ ตุ๊กตาทำจากเศษผ้าใส่ในตระกร้า กระจาด เมื่อเด็กเลิกเล่นแล้วจะเก็บของ เข้าที่ โดยปฎิบัติต่อสื่อทุกชิ้น เหมือนเป็นเพื่อนที่มีชีวิต จิตใจ วอลดอร์ฟ เป็นการสอนที่เน้น การเล่นจากสื่อของจริง และจากธรรมชาติ ทั้งยังสามารถนำเอากระบวนการสอน แบบต่างๆ มาบูรณาการตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่องได้ แนวคิดการสอนแบบ วอลดอร์ฟ หัวใจสําคัญของการศึกษาแบบวอลดอร์ฟคือ ความเชื่อมั่นว่าคุณค่าอันลึกลํ้าที่สุดและเป็นสากล ที่สุดของมนุษย์จะเกิดขึ้น ได้ก็ต่อเมื่อการศึกษานํามา ซึ่งความสมดุลระหว่าง ควาสามารถในการคิด รู้สึกและพลังเจตจํานง ซึ่งดํารงอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ มุ่งหวังจะพัฒนามนุษย์ให้เป็น ผู้ซึ่งมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลัง และสร้างสรรค์ ผู้ซึ่งมีความรู้สึกในใจเปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา กล้าหาญ ศรัทธาต่อชีวิต และมีจิตใจใฝ่รู้ ผู้มีพลังเจตจํานง แน่วแน่สามารถบรรลุภารกิจแห่งชีวิตที่ตนเองเป็นผู้เลือกสรร สําหรับโรงเรียนวอลดอร์ฟแล้วความสําเร็จของการศึกษาไม่อาจวัดได้เพียงจากการดูว่านักเรียนร ู้และทําอะไรได้บ้าง แต่ที่สําคัญยิ่งไปกว่าก็คือ เขาเหล่านั้นเติบใหญ่ไปเป็นมนุษย์เช่นไร การศึกษาแบบวอลดอร์ฟมุ่งหมายที่จะดึงศักยภาพซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนให้แสดงออกมา ไม่ใช้มุ่งจะนําข้อมูลความรู้จากภายนอกใส่เข้าไปในเด็กเพื่อการผลิตซํ้า โดยนัยนี้จึงเอื้ออํานวยให้อนุชน ทั้งหลายค้นพบพลัง ความกระตือรือร้น และปัญญาที่ตนเองมีอยู่เพื่อนํามาซึ่งคุณภาพสูงสุดของตัวเขาเอง การศึกษาแบบวอลดอร์ฟให้ความสําคัญกับวัยเด็ก ด้วยเห็นว่าวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สําคัญของความ เป็นมนุษย ์ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องก้าวผ่านและควรจะได้รับ การเรียนรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะทําให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ดังคํากล่าวของดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ที่ว่า "วิริยะภาพสูงสุดของเราจะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนามนุษย์ผู้เป็นอิสระทางปัญญา สามารถกําหนดเป้าหมายและทิศทางของชีวิตได้ด้วยตนเ แนวคิดการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย การจัดการศึกษาตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการ์การเรียนรู้ สำหรับเด็ก ปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การ ถ่ายโอนข้อมูล ความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การสอนในเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่การมองว่าเด็กเป็นแก้วที่ว่างเปล่า ที่ครูจะเทน้ำตามความต้องการของครูลงไป สู่เด็ก นักการศึกษาที่เรกจิโอ เอมีเลียเปรียบเทียบ การเรียนรู้ของเด็กและการสอนของครูเป็นการผสมผสาน ของวัตถุจากแก้วทั้งสองใบรวมกัน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ หรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็ก และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียน รู้ในสิ่งที่สนใจได ้อย่างเต็มตามศักยภาพของเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจว่าเด็กมีวิธีการเรียนรู้ ได้อย่างไรและเด็กมีความสามารถ ในการสื่อออกมาถึงความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยวิถีทางใด การจัดประสบการณ?การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดแรกจิโอ เอมีเลียจึงเป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ที่สนองต่อความอยากรู้และแรงจูงใจ ภายในของเด็กในการ เรียนรู้ภายใต้การจัด สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีและเป็น จุดเริ่มต้นของความ งอกงามของแนวคิดนี้ในปี ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองแม่บ้านกลุ่มหนึ่ง ในวิลลา เซลลา (Villa Cella) ซึ่งเป็น หมู่เล็ก ๆ ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเรกจิโอ เอมีเลีย 2-3 ไมล์ มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะจัดการศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ในหมู่บ้านท่ามกลางซากปรักหักพังจาก ผลของสงคราม จากจุดเริ่มต้นนี้และภายใต้การนำของลอริสมาลากุซซี่ นักการศึกษา และกลุ่มผู้ปกครองได้ฟันฝ่าจนในปี ค.ศ. 1963 การปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลยอมรับการจัด การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสวัสดิการจากการปกครองท้องถิ่น เป็นบริการทางสังคมที่เทศบาล จัดสรรให้แก่ประชาชน ผู้ปกครองต้องการโรงเรียนปฐมวัย รูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้นนอก เหนือจากการทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ดูแลเด็กเท่านั้น มาลากุซซี่และกลุ่มนักการศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี บทความ งานวิจัยข้อคิดเห็นจาก ศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการศึกษา ทดลองปฏิบัติ แล้ววิเคราะห์สะท้อนผลการปฏิบัติ ทำการปรับปรุง จนได้แนวคิดและการปฏิบัติในการจัดประสบ การณ ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และประสบความสำเร็จ จนเป็นที่รู้จักของนักการศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาตั้งแต ่ปี ค.ศ. 1980 เรกจิโอ เอมีเลีย ได้กลาย เป็นชื่อของแนวคิดในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยเป็นต้นมา สำหรับแนวคิดสำคัญที่นำไปสู?การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้คือ 1. วิธีการมองเด็ก (The image of the child) เด็กในสายตาของครูที่เรกจิโอ เอมิเลีย คือ เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการ รับรู้และเรียนรู้ตั้งแต่วินาทีแรกที่กำเนิดมา เด็กมีวิถี ของการเรียนรู้เป็นไปตามระยะของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กแต่ละคนจะเต็มไป ด้วยพลัง ความปรารถนาท ี่จะเติบโต และงอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถในการแสดงออกถึงความต้องการที่จะสัมพันธ์ และสื่อสารกับผู้อื่น ด้วยการแสดงออกทางแววตา สีหน้า อากัปกริยา การจับต้องสัมผัส ฯลฯ โดยเฉพาะความ ต้องการที่จะสื่อสารและ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นปรากฏออกมาตั้งแต่แรกเกิด ความสามารถในการสื่อสาร นี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเด็กเพื่อการอยู่รอดและ คงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเผ่าพันธุ์ที่ตน กําเนิดมา 2. โรงเรียนเป็นสถานที่บูรณาการสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การใช้ชีวิตและมีสัมพันธ์ภาพร่วมกันระหว่าง ผู้ใหญ่และเด็ก โรงเรียนเปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการอยู่ตลอดเวลาและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวของเด็กต้องมีส่วนร่วมในการ ดำเนินชีวิตของเด็กในโรงเรียน นอกจากครอบครัวแล้วชุมชน ก็จะต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ถึงความเป็นไปในโรงเรียนเช่นกัน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงสิทธิที่พึงได้ของ เด็กปฐมวัยและ การยอมรับเด็กในฐานะของการเป็นผู้รับช่วงหน้าที่ในการจรรโลงสังคมในอนาคต 3. ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การสอนและการเรียนต้องควบคู่ไปด้วยกัน แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย จะให้ความสำคัญของการเรียนรู้ มากกว่าการสอน มาลากุซซี่กล่าวว่า ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การสอน ถ้าครูยืนสังเกต อยู่ข้าง ๆ สักครู?และเรียนรู้จากห้องเรียนในขณะนั้นว่าเด็กกำลัง ทําอะไรอยู่ และถ้าครูสามารถเข้าใจได้ถูกต้อง บางทีการสอนในวันนั้น อาจแตกต่างจากที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาในแนวเรกจิโอ เอมีเลียคือการจัดสิ่งแวดล้อมและให้โอกาสเด็กได้คิดประดิษฐ์และค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่มีคุณ ค่าสําหรับเด็กจึงไม่ใช่การสอนจาก ครูที่เป็นการบอกเล่าโดยตรงแต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนเป็น กุญแจสําคัญที่นำสู่การสอนวิธีใหม่โดยครูเป็น ผู้ประสานงาน ส่งเสริมและจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่ง การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ครูต้องมีการนำเสนอ ทางเลือกที่หลากหลาย การเสนอความคิด เห็นและเป็น ผู้สนับสนุน การเรียนรู้ ครูสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลียต้องปฏิบัติตัวเป็นนักศึกษา ค้นคว้าวิจัย เป็นนักสำรวจและตระเวนเก็บข้อมูลจากทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ของทุกคนจากการประชุม ปฏิบัติการ การสัมมนา หรือการมีโอกาสพบปะกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการในสาขา วิชาชีพหรืออาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นประสบการณ์และข้อมูลในครูแต่ละคน เพื่อที่จะโยงเข้าสู่การจัดสถานการณ์หรือกิจกรรมที่นำเด็กไป สู่ประสบการณ ์เรียนรู้ที่ก้าวสู่การพัฒนาการทางในขั้นต่อ ๆ ไป สิ่งที่นักการศึกษาได้จากการพูดคุยอภิปรายแลก เปลี่ยนความคิดเห็นแล้วนำไปสู่การปฏิบัติแนวใหม่ สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการทำงานเท่านั้นแต่ ยังเป็นหลักปฏิบัติที่เป็นปกติในการทำงาน การศึกษา วิจัย ค้นคว้า แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มนักการ ศึกษาและกลุ่มปฏิบัติการ การเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอนำมาซึ่งสิ่งที่มีคุณค่า คือการเป็นส่วนรวม ของกลุ่มและก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเหนียวแน่น จากแนวคิดสำคัญประการต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นปรัชญาทางการศึกษาที่กลุ่มนักการศึกษาในเรกจิโอ เอมิเลีย กำหนดเป็นเงื่อนไข เป็นกรอบความคิด เป็นฐานของความเชื่อและเป็นเข็มทิศที่นำไปสู?การกำหนด หลักสูตรและการปฏิบัต ิการจัดสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเด็ก โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน การสอนแบบโครงการ (The Project Approach) ความเป็นมา นักการศึกษาปฐมวัยส่วนมากกล่าวถึงการใช้โครงการกับเด็กบางคนแนะนําว่าการสอนแบบโครงการเป็นวิธีการหนึ่งใน หลายวิธีที่สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ เห็นผลการกระทําที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเด็กจะมีประสบการณ์จากการ ปฏิสัมพันธ์กับบุคคล วัตถสิ่งของและสิ่งแวดล้อม การสอนแบบโครงการมีมานานแล้วมิใช่เป็นเรื่องใหม่ในการศึกษา แต่กลับมาได้รับความสนใจอย่างมากในประเทศ สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ ทั้งนี้เนื่องมาจากผลการวิจัยที่ทําให้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร และความจําเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการคิดแก่ปัญหาของเด็กเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายของสังคม เทคโนโลยี รวมทั้งแนวโน้มของหลักสูตรแบบบูรณาการ และรายงานความประทับใจของนักการศึกษา รวมทั้งบรรดาครู อาจารย์ที่ได้ไปเห็นเด็กในโรงเรียนก่อนประถมศึกษาของเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) ทางตอนเหนือของประเทศ อิตาลี (Katz, 1994) หลักการ โครงการ คือการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทําโดยเด็ก กลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียน หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการคือความพยายามที่จะค้นหาคําตอบจากคําถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ไม่ว่าคําถามนั้นจะมาจากเด็ก จากคร ูหรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการคือการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง มากกว่าการเสาะแสวงหาคําตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคําถามที่ครูเป็นผู้ถาม การทําโครงการไม่สามารถทดแทนหลักสูตรทั้งหมดได้ สําหรับเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อย่างไม่เป็นทางการเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรเท่านั้น งานโครงการ จะไม่แยกเป็นรายวิชา เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ต้องการครูเป็นผู้ชี้แนะ และเป็นที่ปรึกษาในการทําโครงการ ส่วนเวลาที่ใช้ในการทํางานแต่ละโครงการนั้นอาจใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหนึ่งสัปดาห์ขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง อายุ และความสนใจของเด็ก การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach) ความเป็นมา การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach) เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่เสนอแนวคิดใหม่ในการสอนภาษา เกิดจากความพยายามของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ ซึ่งมองเห็นปัญหาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ซึ่งเกิดจากการสอนที่ครูมุ่งเน้นสาระทางภาษาเป็นหลัก ทําให้การเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติคือไม่เหมาะ กับวัย ความสนใจและความสามารถของเด็กและเมื่อคํานึงถึงประโยชน์ที่เด็กจําเป็นต้องใช้ภาษาในการเรียนร และการสื่อสารใน ชีวิตจริง พบว่าการสอนภาษาแบบเดิม (traditional approaches) ไม่เน้นความสําคัญของประสบการณ์และภาษาที่เด็กใชในชีวิตจริง จึงไม่ได้ให้โอกาสเด็กเรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายเท่าที่ควร หลักการและแนวทฤษฎีที่มีอิทธิพล แนวการสอนภาษาโดยองค์รวมเกิดจากหลักการและแนวทฤษฎีของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ ดิวอี้ (Dewey) เปียเจต์ (Piaget) ไวก็อตสกี้ (Vygotsky) ฮอลลิเดย์ (Halliday) และโรเซนแบลตต์ (Rosenblatt) ที่ชี้ให้เห็นความสําคัญของการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กในบริบททางสังคมวัฒนธรรม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับขั้นพัฒนา การของเด็กแต่ละวัย หลักการเหล่านี้เมื่อนํามาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษา จะทําให้เด็กมีความสนใจเกิด แรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้นเพราะสิ่งที่เรียนมีความหมายและไม่เกิดความรู้สึกว่าการเรียน ภาษาเป็นเรื่องยากลําบาก เคนเนท กู๊ดแมน (Kenneth Goodman) เชื่อว่าการสอนภาษาเป็นเรื่องสําคัญสําหรับชีวิตเด็ก และโดยที่เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ครูจะต้องตระหนักในความสําคัญ ดังกล่าว และจากการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา การรู้หนังสือ และการจัดหลักสูตร กู๊ดแมนได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม มีผู้ให้ความสนใจนําความคิดไปใช้ในประเทศต่างๆ และมีผู้ให้การสนับสนุนเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา จูดิท นิวแมน (Judith Newman) กล่าวไว้ในหนังสือ Whole Language Theory in Use ว่าการสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance) ความคิดของผู้สอนจะก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนํามาประสานกัน วัตสัน (Watson) อธิบายว่าผู้สอนจะประสานแนวการสอนของตนกับองค์ประกอบทางทฤษฎี (theory) ความเชื่อ (belief) และการนําความรู้ทางทฤษฎีและความเชื่อไปปฏิบัติจริง (practice) องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์สนับสนุนกัน และกันเป็นวงจรที่ช่วยให้ผู้สอนเกิดการพัฒนาการสอนด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตเด็กเพื่อทําความเข้าใจใน ความสามารถ และการแสดงออกของเด็กแต่ละคน บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กได้อย่าง เหมาะสม ครูจะสามารถสร้างแนวคิดเชิงปรัชญาการสอนจากการแสวงหาคําตอบ (inquiry) โดยพยายามนําทฤษฎีไปใช้ในการ สอนจริง (inactive theory active) พิสูจน์ความเชื่อของตนให้ปรากฏ (unexamined belief examined) และพัฒนาการสอนขึ้นเอง (borrowed practice owned) กระบวนการ บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผนคือคิดด้วยกันว่า จะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans) ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม บทบาทของครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม 1 เล่ม 2 ที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม การเขียนก็เช่นกัน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เขียนตัวพยัญชนะ คํา ประโยคตามที่ครูสั่ง แต่ในบรรยากาศการสอนแนวใหม่นี้ เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่า เขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนในระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบ จะเห็นว่าในระยะแรกเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้ แต่ยังไม่ถูกต้อง ครูที่เข้าใจแนวการสอน ภาษาโดยองค์รวม จะค่อยๆ ส่งเสริมความคิดความต้องการเขียนหนังสือของเด็ก โดยไม่ตําหนิให้เด็กแก้ไขสิ่งที่เขียนผิด ในทันทีแต่จะแนะให้เด็กสังเกตจากตัวอย่างต่างๆ ที่เด็กพบเห็นได้บ่อยๆ การสังเกตจะช่วยให้เด็กปรับการเขียนให้ถูกต้องได้โดย ไม่เกิดความรู้สึกผิดหรือถูกลงโทษ ซึ่งอาจจะมีผลทางทัศนคติของเด็กได้มาก ดังนั้นการสังเกตเด็กเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่งที่ครู จะต้องเฝ้าดูว่าเด็ก แต่ละคนแสดงออกอย่างไร ครูจึงต้องมีบทบาทในการเฝ้าดูเด็ก (kid-watcher) เพื่อประเมินความสามารถ และเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ที่เอื้ออํานวยการพัฒนาภาษาของเด็กด้วยตัวครูเองตลอดเวลา การประเมินผลที่ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงานถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา
Posted on: Tue, 18 Jun 2013 08:34:11 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015