ข้อมูลดิบ ๆ - TopicsExpress



          

ข้อมูลดิบ ๆ สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่ทำรายงาน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความหมาย การมีส่วนร่วมทางการเมืองว่า หมายถึง การกระทำใด ๆ ก็ตามที่เกิดโดยความเต็มใจไม่ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ และไม่ว่าจะมีการจัดการอย่างไรเป็นระเบียบหรือไม่ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน จะใช้วิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย เพื่อผลในการที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายของรัฐหรือต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นำทางการเมืองของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ความสำคัญ การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย คือ ทำให้ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองได้มีโอกาสทราบความต้องการของกันและกันอย่างแท้จริงทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐตอบสนองต่อผู้เป็นเจ้าของประเทศในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 5 ประการ คือ 1. การออกเสียงเลือกตั้ง 2. การรณรงค์หาเสียง 3. การกระทำ ของแต่ละบุคคลเป็นเอกเทศต่อปัญหาทางการเมืองและสังคม 4. การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม 5. กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยโดยทั่ว ๆ ไปมีดังนี้คือ 1)การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไปลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่ประชาชนของไทยรู้จักดีมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีการเลือกตั้งประเทศนั้นก็มิใช่ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยนั้น มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมเพราะประชาชนต้องเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น และให้ผู้แทนท้องถิ่นไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่งปัจจุบันนอกจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกแล้ว เมืองไทยยังมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาเขต (กรุงเทพฯ)และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย 2)การรณรงค์หาเสียง ในประเทศไทยอาจแบ่งการรณรงค์หาเสียงเป็น 2 ระยะเวลา คือ 1. การรณรงค์หาเสียงในระยะเวลาที่ไม่มีพรรคการเมือง 2. การรณรงค์หาเสียงในระยะมีพรรคการเมือง ในระยะที่ไม่มีพรรคการเมืองนี้ การรณรงค์หาเสียง จะใช้บุคลิกและความสามารถตลอดจนชื่อเสียงส่วนตัว ยังไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นส่วนรวมของกลุ่ม และของพรรคการเมืองแต่อย่างใดจนกระทั่งการเลือกตั้ง ทั่วไป ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2489พรรคการเมืองจึงได้เป็นรูปเป็นร่างแม้ว่าจะไม่มีพระราชบัญญัติ พรรคการเมืองก็ตาม มีการรณรงค์หาเสียงอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองในเวลาต่อมาพรรคการเมืองจึงหมดบทบาทไป และกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลได้ออกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2498มีพรรคการเมืองมา จดทะเบียนถึง 30 พรรคและในการเลือกตั้งครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ประชาชนและพรรคการเมืองเข้ามา มีส่วนร่วมทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทย การมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้มีค่อนข้างน้อย เช่น อภิปรายแบบ“ไฮปาร์ค” ซึ่งมีขึ้นที่สนามหลวงในช่วงก่อนเลือกตั้งปี พ.ศ.2500 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นำแบบการไฮปาร์คมาจากอังกฤษ และการทำ “เพรสคอนเฟอร์เรนซ์” มาจากสหรัฐอเมริกาการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเข้ากลุ่มในเมืองไทย พอจะเห็นมีเพียง 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มหรือองค์กรของกรรมกร องค์กรกรรมกร มีขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2487 ชื่อว่า สหบาลกรรมกรกลาง (Central Union of Labour)ในปี พ.ศ.2494 สหบาลกรรมกรเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมกรรมกรไทย” (Thai National Trades Union Congress) ในปี พ.ศ.2497มีการจัดตั้งสมาคมแรงงานเสรีแห่งประเทศไทย (Thai Free Workmen’s Association of Thailand) ในปี พ.ศ.2518 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กรรมกรผู้ใช้แรงงานต่างก็พากันมารวมกลุ่ม และพัฒนามาเป็น “สหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย” (Labour Congress of Thailand) 2.กลุ่มหรือองค์กรชาวนา ในบรรดากลุ่มทุกกลุ่ม กลุ่มชาวนาจะมีบทบาทมากที่สุด เพราะประเทศไทยมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 70 ของประชาชน แต่ความเป็นจริงชาวนาไทยไม่ได้รวมเป็นกลุ่ม หรือองค์กรที่มีลักษณะถาวรมักจะเป็นการรวมตัวกันชั่วคราว เช่น ชาวนาชาวไร่ ในตำบลหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจะร่วมกันเดินทางมาร้องเรียนรัฐบาล ในเรื่องการประกันราคาข้าว เป็นต้น องค์กรของชาวนาแบ่งเป็น 3 ประเภท สำหรับในบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย ได้แก่ 1. กลุ่มชาวนา 2. สมาคมชลประทานราษฎร์ 3. สหกรณ์ 3.พรรคการเมือง ประเทศไทยมีความพยายามสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยมากว่า 50 ปีแต่การสร้างพรรคการเมืองมีเวลาน้อยมาก พรรคการเมืองไม่มีบทบาทสำคัญ ไม่ได้มีฐานอยู่ที่ประชาชนเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อไร จึงค่อยมีการตั้งพรรคการเมืองกันขึ้นมา เหตุ สำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เนื่องจากการได้อำนาจของผู้ปกครองที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น หลายครั้งไม่ได้อาศัยพรรคการเมืองเป็นฐาน พรรคการเมืองเองก็ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเข้าไปรวมกลุ่ม อยู่ในพรรคการเมืองมีความสำคัญมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้สำคัญไปกว่ากลุ่มอื่น ๆ เท่าใด การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จึงยังจัดว่าไม่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชนจะมีทั้งทำกันเป็นเอกชนและทำกันเป็นกลุ่มทั้งผิดกฎหมายและถูกกฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นการแสดงออกของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเหมือนกัน ได้แก่ 1) การลอบทำร้ายบุคคลสำคัญทางการเมือง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษทางอาญาไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม การกระทำที่ไม่รุนแรงนัก ได้แก่ การด่าว่านักการเมือง การทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ซึ่งเกิดขึ้นแก่นักการเมืองและหัวคะแนนทุกครั้งเมื่อมีการหาเสียงเลือกตั้ง การกระทำที่รุนแรง ได้แก่ การลอบสังหาร เช่น การลอบสังหาร พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2481 หรือการลอบสังหาร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่จังหวัดลพบุรีเมื่อปี 2524 2) การประท้วง การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงและทำกันเป็นกลุ่มนั้น คือ กรณีที่นิสิตนักศึกษาได้ประชุมประท้วงการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 8เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เรียบร้อยมีการประท้วงที่มหาวิทยาลัยและที่สนามหลวงตลอดจนเดินไปทำเนียบรัฐบาลกรุงเทพฯอีกกรณีหนึ่ง คือ เหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14ตุลาคม2516ช่วงนั้นนักศึกษาประชาชนพากันเรียกร้องรัฐธรรมนูญเพื่อกลับไปปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีการเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปร่วมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และพระบรมรูปทรงม้า ตลอดจนเต็มถนนราชดำเนินในกรุงเทพฯ การรวมกลุ่มกันประท้วงในสังคม ไทยนั้นยังมีความสำคัญที่มีผลต่อนโยบายของผู้นำประเทศอีก เช่น กรณีแรก ได้แก่ การประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 ปรากฏว่ามีกลุ่มกรรมกรร่วมกันกับผู้แทนนักศึกษา 18 สถาบัน นัดประชุมกันที่สนามหลวง การประท้วงครั้งนั้นมีผลทำให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีที่สอง การประท้วงการขึ้นค่ารถเมล์ในกรุงเทพฯ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2525 โดยผู้นำของนิสิตินักศึกษาและกลุ่มกรรมกร ได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐบาลลดค่าโดยสารรถเมล์ในราคาเดิม และก็มีผลสำเร็จ รัฐบาลยอมตามข้อเรียกร้องจึงเห็นได้ว่าการรวมกลุ่มกันกระทำการนั้นมีอิทธิพลในการเปลี่ยนผู้นำและนโยบายที่สำคัญ ๆ ของรัฐบาลได้อย่างเห็นได้ชัด ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สภาพเร้าระดมทางสังคม ถ้าสังคมมีการเร้าระดมทางสังคมต่ำ หมายความว่า ราษฎรที่ได้รับการศึกษามีจำนวนน้อย การเข้าถึงสื่อมวลชนก็มีน้อย การพัฒนาเป็นสังคมเมืองก็ต่ำ สิ่งเหล่านี้ก็คือ ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญ ภาวะทางเศรษฐกิจหรือการครองชีพ ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและมีความมั่งคั่งจะมีโอกาสเป็นประชาธิปไตยได้มากกว่าประเทศที่ยากจน ในประเทศยากจนราษฎรเองจะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย แต่ถ้าความยากจน ความขาดแคลนและเดือดร้อนทางเศรษฐกิจมีมากเกินไปจนอยู่ในภาวะเกินทนแล้ว อาจจะผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นก็ได้ ข้อจำกัดทางการเมือง ถ้าระบอบการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง แต่ถ้าการปกครองแบบเผด็จการ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำและจะเป็นไปในรูปของการมีส่วนร่วม โดยการปลุกเร้าระดมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลนั่นเอง วัฒนธรรมทางการเมือง ถ้าการมีบทบาททางการเมืองที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่ตระกูลซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีทั้งอิทธิพลและอำนาจเงินทำให้คนมีความรู้ไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ปัญหาความตื่นตัวทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ ไม่ใช่เป็นแบบปลุกระดม สำหรับการมีส่วนร่วมแบบเสรีหรือแบบสมัครใจนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองหรือความตื่นตัวทางการเมืองเสียก่อน คนไทยยังมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ เช่น การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผู้ที่ไปออกเสียงก็มักจะถูกจ้างวาน ชักจูงหรือถูกระดมไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยจากอดีตเป็นต้นมา ส่วนใหญ่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ทั้งในด้านการสนับสนุนหรือการต่อต้าน แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความนิ่งเฉยทางการเมือง ส่วนมากอยู่ในกลุ่มของผู้นำทางการเมืองไม่กี่กลุ่มกี่ตระกูล แม้แต่การปฏิวัติเมื่อ พ.ศ.2475 ก็ตามเหตุการณ์ที่แสดงถึงความตื่นตัวทางการเมืองและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อต้านการปกครองของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจร ผู้นำของประเทศขณะนั้น ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนคือบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)กล่าวได้ว่า พคท. มีบทบาทอย่างมาก ในการปลุกเร้าความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในชนบท แต่เป็นประเภทผิดกฎหมาย คือ การล้มล้างรัฐบาล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยการใช้กำลังและความรุนแรงดังนั้นปัญหาสำคัญของการมีส่วนร่วมของไทยอย่างหนึ่ง คือ ประชาชนยังมีความนิ่งเฉย หรือไม่ตื่นตัวทางการเมืองมากพอ ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา วัฒนธรรมทางการเมืองที่มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นคือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับเมืองไทย มีงานวิจัยหลายเรื่องสรุปและแสดงถึงว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะประชาชนโดยทั่วไปเชื่อว่าการเมือง หรือการบริหารประเทศเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้น อีกประการหนึ่งคนไทยยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์อย่างชัดแจ้งจนเกินไป การเมืองเป็นเรื่องของความ “สกปรก” ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาหรือความกระตือรือร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้าเข้ามาก็มักจะมีวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินทองหรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องของสำนึกทางการเมืองลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยอีกประการหนึ่งที่ไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือการยอมรับในอำนาจนิยมของความเป็นข้าราชการ นั้นคือ ประชาชนโดยทั่วไปมองว่าข้าราชการเป็นชนชั้นผู้นำ เมื่อข้าราชการแนะนำหรือชักจูงไปในทางใดประชาชนจึงมักปฏิบัติตามโดยไม่โต้แย้ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตย ในด้านการศึกษาการจัดการเรียนการสอน ยังคงยึดนโยบายจากส่วนกลางยังไม่มีการกระจายอำนาจทางการศึกษาลงไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนก็เช่นกัน ยังคงเป็นบทบาทของผู้บริหารและครูเท่านั้นนักเรียนและผู้ปกครองยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยมีสาเหตุอีกประการหนึ่งคือการขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอยกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ และเป็นกลุ่มเป็นก้อน สถาบันทางการเมืองที่สำคัญคือ “ระบบพรรคการเมือง” (Political Party)ในปัจจุบันพรรคการเมืองยังเป็นองค์กรที่อ่อนแอ และขาดความเป็นสถาบันที่ต่อเนื่องดีพอปัญหาที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมืองไทย คือ การขาดองค์กรที่ซับซ้อนพอที่จะเผชิญกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพรรคการเมืองไทยตั้งขึ้นจากการรวมตัวของบรรดาสมาชิก เพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งเท่านั้นพรรคการเมืองทุกพรรคไม่ว่าพรรคเล็กหรือพรรคใหญ่มีสาขาพรรคน้อยมาก สาขาบางแห่งมีแต่รูปแบบที่เป็นทางการเท่านั้นไม่มีบทบาทอะไร สาขาพรรคมีความสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 1)เป็นหน่วยงานของพรรคเชื่อมโยงกับประชาชนในเขตเลือกตั้ง และช่วยสร้างฐานสนับสนุนของพรรคในหมู่ประชาชนเลือกตั้ง 2)เป็นหน่วยงานของพรรค ในการร่วมคัดเลือกผู้รับสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ สาเหตุที่พรรคการเมืองอ่อนแอ อีกประการหนึ่ง คือ ที่ประชุมใหญ่ของพรรค (Party Congress) ยังไม่มีระบบที่ดีพอขาดประสิทธิภาพ การประชุมใหญ่ของพรรคเป็นเรื่องของสมาชิกบางคน บางกลุ่ม และมักอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ขาดสมาชิกพรรคตามสาขาและเขตต่าง ๆ นอกจากนี้การบริหารงานในพรรคยังขาดหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพการแตกแยกภายในพรรค ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้พรรคการเมืองขาดความเป็นสถาบันที่เข้มแข็งพอในพรรคแต่ละพรรคมีการแตกแยกกันสูง มีการแบ่งกลุ่มแบ่งพรรคแบ่งพวกสนับสนุนบางคนตามความสัมพันธ์ส่วนตัว หรือมีผล ประโยชน์ร่วมกันอีกประการหนึ่งพรรคการเมืองไม่ได้มีการทำงานในฐานะพรรคอย่างต่อเนื่องและยืนยาว ถ้านับระยะเวลาที่พรรคการเมืองเริ่มก่อตั้ง เมื่อมีกฎหมายพรรคการเมือง คือ พ.ศ.2498 ปัจจุบันก็ประมาณ 40 ปีแต่ตลอดเวลานั้นพรรคการเมืองหาได้มีระยะเวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ เพราะมีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ๆ ช่วงเวลาที่ถูกยกเลิกนานที่สุด คือช่วง พ.ศ.2501 ถึง 2511 เป็นเวลาถึง 10 ปี ประการสุดท้าย พรรคการเมืองยังไม่สามารถสร้างฐานมวลชนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพพรรคขาดความเชื่อมโยงกับสมาชิกและมวลชน ประชาชนเลือกผู้แทนเป็นการส่วนตัวมากกว่าเลือกในนามพรรคเป็นต้น เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้พรรคการเมืองขาดการทำงานให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ดีพอ “””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””” การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นถือเป็นการปกครองโดยประชาชน และเพื่อประชาชน บทบาททางการเมืองของประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจึงเป็นหัวใจของระบบนี้ ดังนั้นการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนจึงถือเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่ง จากผลการสำรวจทางการเมืองสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่เบื่อหน่ายการเมือง หากปล่อยให้สถานการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย โดยไม่มีการแก้ไขปัญหาที่ระบบการเมือง ไทยให้น่าเชื่อถือและปราศจากปัญหาความขัดแย้งและทุจริต ในอนาคตประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับปัญหาการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่าสืบทอดอำนาจกันเป็นทอด ๆ หรือเป็นระบบเครือญาติ ก็จะเป็นปัญหาเรื้อรังและไม่หมดไปจากสังคมไทย เนื่องจากไม่มีนักการเมืองรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามาทำงานด้านการเมือง หากประชาชนเบื่อหน่ายและหันหลังให้กับการเมือง จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปตรวจสอบนักการเมือง และมักจะนิ่งเฉยต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มีหลายมาตราที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการ เมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญได้มีการเปิดกว้างทั้งด้านรูปแบบ และวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดเจน การมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงหมายถึงการที่ประชาชนเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ หรือผู้นำรัฐบาล รวมทั้งกดดันให้รัฐบาลกระทำตามความประสงค์ของตนหรือกลุ่มตน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเครื่องชี้วัดพัฒนาการทางการ เมืองในระบอบประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงควรเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นประเทศที่พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในระดับที่ดีแล้ว ก็มักจะกำหนดให้ประชาชนทุกระดับมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามกฎหมายที่มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในทุกมิติของกระบวนการทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อมีอิทธิพลในการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นสำคัญ และการกระทำใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายของรัฐบาล หรือเลือกบุคคลสำคัญที่สามารถกำหนดนโยบายของรัฐบาลได้ ก็ไม่ถือเป็นการมีส่วนร่วมทาง การเมือง เนื่องจากประชาธิปไตยมีหลายรูปแบบ อาทิ แบบทางตรง แบบทางอ้อม ยกตัวอย่างรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทางตรง คือการที่ประชาชนของรัฐทั้งหมดเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรงด้วยการร่วมกันประชุมพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือทำหน้าที่เป็นสภาเอง เนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยมีหลักการว่าประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ในสังคม กล่าวคือประชาชนมีส่วนร่วมในการบัญญัติกฎหมาย แต่ในปัจจุบันนี้ไม่สามารถนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ได้ เพราะจำนวนประชาชนมากเกินกว่าจะให้โอกาสประชาชนทุกคนเข้ามาใช้สิทธิในการปกครองประเทศได้ จึงมีการนำประชาธิปไตยโดยผู้แทนหรือประชาธิปไตยโดยอ้อมมาใช้ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ประชาชนจะเลือกผู้แทนทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภา และเจตจำนงของรัฐสภาถือเป็นความต้องการของประชาชน โดยที่ประชาชนยังมีช่องทางในการควบคุมทางการเมืองการปกครองได้บ้าง โดยขอบเขตของการมีตัวแทนของปวงชนนั้น ต้องเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประชาชนทั่วไปต้องมีสิทธิที่จะมีตัวแทน สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือมีเงื่อนไขกีดกันประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมิได้ และสิทธิพื้นฐานของประชาชนต้องได้รับการรับรอง เช่น สิทธิในการพูด สิทธิในการเขียน สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการนับถือศาสนา ซึ่งต้องเป็นสิทธิที่เท่าเทียมกัน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การพูดคุยเรื่องการเมือง การช่วยพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียง การเข้าร่วมประชุมทางการเมือง การเป็นผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้ง หรือแม้แต่การเดินขบวนประท้วง หรือสนับสนุนการดำเนินการของรัฐที่ยังผลให้ตนเองได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งผู้แทนที่ไม่มีการทุจริตและไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง }}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}}} เมื่อพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องทำคือการ “เลือกตั้ง” โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ถือหลักการว่าอำนาจสูงสุดในประเทศเป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีสิทธิออกเสียงเลือกบุคคลมาเป็นผู้นำประเทศของตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หลายคนทราบดีว่าการเลือกตั้งไม่ใช่กิจกรรมเพียงอย่างเดียวในระบอบประชาธิปไตย แต่ยังมีกิจกรรมในสังคมอีกหลายอย่างที่นับเป็นการ “มีส่วนร่วม” กับประชาธิปไตยด้วย เช่น การวมกลุ่มเสนอกฎหมาย การตรวจสอบการทำงานของตัวแทนตนเอง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นต่อสาธารณะ การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ การรวมกลุ่มรณรงค์ประเด็นทางสาธารณะต่างๆ ฯลฯ แต่เนื่องจากการเลือกตั้งคือกิจกรรมขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จึงน่าจะสะท้อน “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนในสังคมนั้นๆได้ไม่น้อย ข้อมูลจากวิกิพีเดีย [1][2][3][4] แสดงสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter Turnout) ในแต่ละประเทศย้อนหลังไปในอดีตดังที่เห็นในกราฟ สหรัฐอเมริกา – จากกราฟจะเห็นว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิของสหรัฐนั้นมีการแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ในช่วง 50%-60% ตลอด 80 ปีที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ – นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ประชาชนฟิิลิปปินส์มาใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับสูงมาก สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิไม่เคยลดต่ำลงกว่า 70% เลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา สหราชอาณาจักร – เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในสหราชอาณาจักรนั้นอยู่ในช่วง 70%-80% มาตลอด จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่ผู้มาใช้สิทธิลดลงไปอยู่ในระดับ 60%-70% ไทย – สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 41.5% ในปี 2476 ถึงจุดสูงสุดที่ 85.38% ในปี 2550 โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 นั้น ไทยมีผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้น 75.03% หมายเหตุ: สัดส่วนผู้มาใช้สิทธินี้นับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ การเลือกตั้งทั่วไป (เลือก สส.) ในประเทศที่ใช่ระบบรัฐสภา ไม่นับการเลือกตั้งวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งปลีกย่อยอื่นๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าในอดีต รัฐบาลไทยมักต้องรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง “อย่านอนหลับทับสิทธิ” แต่ในปัจจุบัน เรามักไม่เห็นการรณรงค์ในทำนองนั้นแล้ว เป้าหมายของการรณรงค์ได้เปลี่ยนไปจากการมุ่งให้คนออกมาลงคะแนนกันมากๆ เป็นการมุ่งให้คนเลือกคนดีเข้าสภาแทน ไม่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยในมิติอื่นๆจะมีมากเพียงพอหรือไม่ แต่ตัวเลขสัดส่วนผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั้นบอกเราว่า คนไทยในปัจจุบัน “ตื่นตัว” กันมากแล้วกับการใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง........ ....................................................................................................................................................... 1. ความนำ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ต้องการปฏิรูปการเมืองโดยการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น3ก่อนการปฏิรูปการเมืองนั้นมีปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เรียกว่า “การเมืองของนักการเมือง” พลเมืองเจ้าของประเทศซึ่งเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพน้อย ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองเลย เป็นการเมืองของนักการเมืองหรือที่เรียกในทางวิชาการว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนราษฎร (representative democracy) เท่านั้น เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการเปลี่ยนการเมืองของ นักการเมืองให้เป็น “การเมืองของพลเมือง” โดยการเพิ่มสิทธิเสรีภาพให้พลเมืองและปรับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นประชาธิปไตยโดยมีส่วนร่วมของพลเมือง4 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริงในทางปฎิบัตินับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีระยะเวลาครบ 6 ปีแล้ว ว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองแค่ไหน เพียงใด มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ อย่างไร 2. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง Myron Weiner ได้ให้ความหมาย “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” (political participation) หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นโดยความเต็มใจ ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือไม่ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน จะใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพื่อผลในการที่จะมีอิทธิผลต่อการเลือกนโยบายของรัฐ หรือต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นำ ทางการเมืองของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นไปในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติก็ตาม5 Norman H. Nie and Sidney Verba ได้ให้ความหมาย “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หมายถึงกิจกรรมทางกฎหมายของพลเมืองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อมีอิทธิพลในการเลือกกำหนดบุคคลในวงการรัฐบาลหรือกดดันรัฐบาลให้กระทำตามที่พลเมืองผู้นั้นหรือกลุ่มนั้นต้องการ” 6 จันทนา สุทธิจารี ได้ให้ความหมาย “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” หมายถึง การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนตามสิทธิที่ระบบการเมืองและกฎหมายกำหนดให้กระทำได้ เป็นการกระทำที่ต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจของประชาชน เพื่อให้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐทั้งในการเมือง การปกครองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ” 7 จากความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่นักวิชาการได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นมีลักษณะที่รวมกันสองประการคือ ต้องเป็นไปตามความสมัครใจและมีจุดมุ่งหมายเพื่อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ และมีลักษณะที่ต่างกันประการหนึ่งคือ Weiner เห็นว่า กิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอาจใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายได้ แต่ขณะที่นักวิชาการอีกสองท่านเห็นว่า ต้องเป็นไปตามที่ระบบการเมืองและกฎหมายกำหนดให้กระทำได้ วิวัฒนาการของรัฐและการปกครองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สามารถจัดแบ่งลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนได้ 3 รูปแบบ8 คือ 1) รูปแบบความสัมพันธ์แบบผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง (ruler and ruled) โดยที่วิวัฒนาการของรัฐและการปกครองนับแต่สมัยกรีกโดยเฉพาะนครรัฐเอเธนส์ถือว่าชาวกรีกเป็นพลเมืองที่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรง แต่เมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้น รูปแบบการปกครองได้เปลี่ยนโดยเป็นการให้อำนาจกับผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยจักรวรรดิ์โรมันแล้วเข้าสู่ยุคกลางที่ถูกครอบงำโดยศาสนจักร ต่อมาพวกปัญญาชนก็พาออกจากยุคกลางหรือยุคมืดสู่ยุคฟื้นฟูและยุคแห่งแสงสว่าง เมื่อเกิดรัฐ-ชาติ ( nation-state) ขึ้นในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้อำนาจในการปกครองรัฐได้เปลี่ยนมือจากสันตะปาปา (pope) มาสู่กษัตริย์ (king) ซึ่งลักษณะการปกครองแบบนี้ฐานะของผู้ปกครองมีเหนือกว่าและสำคัญกว่าผู้ถูกปกครองเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองเป็นผู้ชี้นำให้ประชาชนในฐานะผู้ถูกปกครองต้องปฏิบัติตามถ้าผู้ปกครองทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นที่ตั้งก็ได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย (absolute monarchy) ในทางตรงกันข้าม หากการปกครองเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบทรราชย์( tyranny) ระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเลย 2) รูปแบบความสัมพันธ์แบบการปกครองโดยผู้แทน (representative government) หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญๆ ได้แก่ การปฏิวัติในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1688 การปฏิวัติในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 มีผลทำให้กระแสของลัทธิประชาธิปไตยได้แพร่หลายไปยังรัฐต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลต่อการทำลายศูนย์กลางการควบคุมและการผูกขาดอำนาจรัฐของบุคคลหรือคณะบุคคล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนแบบ ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง เปลี่ยนมาเป็นแบบการปกครองระบอบผู้แทน(representative government) สาระสำคัญของความสัมพันธ์แบบการปกครองโดยผู้แทน คือ อำนาจรัฐที่เรียกกันว่า “อำนาจอธิปไตย” (sovereignty) นั้น เป็นของประชาชน (popular sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรงดังเช่นสมัยนครรัฐเอเธนส์ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากขึ้น จึงต้องมีการมอบอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนให้กับตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจแทนประชาชน จึงเรียกว่า “ผู้แทนราษฎร” ลักษณะสำคัญของการปกครองโดยผู้แทน ประกอบด้วย (1) ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ ตัวแทนไปใช้แทนตน (2) การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการ “เลือกตั้ง” (election) ภายใต้ระบบการแข่งขัน (competition) (3) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย(รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น (4) เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการ หรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกอำนาจคืนได้ อย่างไรก็ดี การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทนที่เกิดขึ้นในสังคมต่างๆ มีข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ มีการวิพากษ์ถึงความไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขาดความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน อาทิเช่น มีคำกล่าวว่าเป็นการปกครองของนายทุน คนกลุ่มน้อยสามารถผูกขาดอำนาจ เป็นต้น 3) รูปแบบความสัมพันธ์ของการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participative politics) ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น “ตัวแทน” แล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ คือ (1) การเรียกคืนอำนาจโดยการถอดถอน/ปลดออกจากตำแหน่ง (recall) เป็นการควบคุมการใช้อำนาจของผู้แทนของประชาชนในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนประชาชน หากปรากฎว่า ผู้แทนของประชาชนใช้อำนาจในฐานะ “ตัวแทน” มิใช่เป็นไปเพื่อหลักการที่ถูกต้อง หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมที่แท้จริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยทุจริต หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถเรียกร้องอำนาจที่ได้รับมอบไปนั้นกลับคืนมาโดย การถอดถอน/ปลดออกจากตำแหน่งได้ (2) การริเริ่มเสนอแนะ (initiatives) เป็นการทดแทนการทำหน้าที่ของผู้แทนของประชาชน หรือเป็นการเสริมการทำหน้าที่ของตัวแทนประชาชน ประชาชนสามารถเสนอแนะนโยบาย ร่างกฎหมาย รวมทั้งมาตรการใหม่ๆ เองได้ หากว่าตัวแทนของประชาชนไม่เสนอหรือเสนอแล้วแต่ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน (3) การประชาพิจารณ์ (public hearings) เป็นการแสดงออกของประชาชนในการเฝ้าดูตรวจสอบและควบคุมการทำงานของตัวแทนของประชาชน ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเตรียมออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายหรือมาตรการใดๆ ก็ตามอันมีผลกระทบต่อต่อชีวิตความเป็นอยู่หรือสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถที่จะเรียกร้องให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงและผลดีผลเสีย ก่อนการออกหรือบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย หรือมาตรการนั้นๆได้ (4) การแสดงประชามติ (referendum หรือ plebisite) ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญ หรือการออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก เช่น การขึ้นภาษี การสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้า ฯลฯ ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถเรียกร้องให้รัฐรับฟังมติของประชาชนเสียก่อนที่จะตรากฎหมาย หรือดำเนินการสำคัญๆ โดยการจัดให้มีการลงประชามติเพื่อถามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่อันเป็นการตัดสินใจขั้นสุดท้าย 3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน เช่น สิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง(มาตรา 105) สิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง(มาตรา 107 และมาตรา 125) สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย(มาตรา 170) สิทธิ การออกเสียงประชามติ (มาตรา 214) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 304) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น(มาตรา 286) สิทธิการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (มาตรา 287) สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน(มาตรา 59) สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของรัฐ(มาตรา 60) สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน(มาตรา 46) เป็นต้น จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองไว้ในหลายเรื่อง แต่ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดในบทความนี้เฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองใน 6 ประการเท่านั้น คือ (1) ) สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (2) สิทธิการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (3) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (4) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น (5) สิทธิการออกเสียงประชามติ และ (6) สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้ง 6 ประการนี้ เป็นการออกแบบใหม่ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้เป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participative politics) โดยนำหลักการถอดถอน(recall) หลักการริเริ่มเสนอแนะ (initiatives) หลักการประชาพิจารณ์ (public hearings) และหลักการแสดงประชามติ (referendum) มากำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 4. สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 170 ว่า “ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธาน รัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดในหมวด 3 และหมวด 5 แห่งรัฐธรรมนูญนี้ คำร้องขอต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอมาด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อรวมทั้งการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” และได้มีการตรา พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2542 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ดังนี้ 1. ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวันที่เข้าชื่อเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายต้องจัดทำตามรูปแบบร่างพระราชบัญญัติ โดยต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และต้องมีบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบ รวมทั้งมีบทบัญญัติแบ่งเป็นมาตราเพียงพอที่จะเข้าใจได้ 9 สำหรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามหมวด 3 และหมวด 5 สรุปได้ดังนี้ - หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ (1)การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา 28 (2)การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 29 (3)ความเสมอภาคของบุคคลตามมาตรา 30 (4)สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายตามมาตรา 31 (5)การรับโทษทางอาญาตามมาตรา 32 (6)ความคุ้มครองจากข้อสันนิษฐานในคดีอาญาว่าไม่มีความผิดตามมาตรา 33 (7)สิทธิส่วนบุคคลในเรื่องครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นอยู่ส่วนตัวตามมาตรา 34 (8)เสรีภาพในเคหสถานตามมาตรา 35 (9)เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ตามมาตรา 36 (10)เสรีภาพในการสื่อสารตามมาตรา 37 (11)เสรีภาพในการนับถือศาสนาตามมาตรา 38 (12)เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา ตามมาตรา 39 (13)การจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับดูแลการประกอบการวิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 40 (14)เสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ตามมาตรา 41 (15)เสรีภาพในทางวิชาการตามมาตรา 42 (16)สิทธิการได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามมาตรา 43 (17)เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 44 (18)เสรีภาพในการรวมกันเป็นหมู่คณะตามมาตรา 45 (19)สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมตามมาตรา 46 (20)เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา 47 (21)สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดกตาม มาตรา 48 (22)สิทธิการได้รับค่าเวนคืนตามมาตรา 49 (23)เสรีภาพในการประกอบอาชีพตามมาตรา 50 (24)ความคุ้มครองในการเกณฑ์แรงงานตามมาตรา 51 (25)สิทธิการได้รับบริการทางสาธารณสุข ตามมาตรา 52 (26)สิทธิของเด็กและเยาวชนตามมาตรา 53 (27)สิทธิของผู้สูงอายุตามมาตรา 54 (28)สิทธิของผู้พิการตามมาตรา 55 (29)สิทธิในการบำรุงรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 56 (30)สิทธิของผู้บริโภคตามมาตรา 57 (31)สิทธิการได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ ตามมาตรา 58 (32)สิทธิในการได้รับข้อมูลในกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 59 (33)สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาของรัฐตามมาตรา 60 (34)สิทธิการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ ตามมาตรา 61 (35)สิทธิการฟ้องคดีหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 62 (36)ข้อห้ามการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างระบอบการปกครองตามมาตรา 63 (37)สิทธิและเสรีภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 64 และ (38)สิทธิต่อต้านการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบตามมาตรา 65 - หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ (1) การพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชและดินแดนตามมาตรา 71 (2)การจัดให้มีกำลังทหารพิทักษ์เอกราชและความมั่นคงตามมาตรา 72 (3)การอุปถัมภ์ศาสนาตามมาตรา 73 (4)การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศตามมาตรา 74 (5)การดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณให้องค์กรอิสระ ตามมาตรา 75 (6)การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามมาตรา 76 (7)การจัดให้มีแผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 77 (8)การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นตามมาตรา 78 (9)การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุง รักษาทรัพยากรธรรมชาติตามมาตรา 79 (10)การคุ้มครองพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชายและสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสตามมาตรา 80 (11)การจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมตามมาตรา 81 (12)การส่งเสริมการบริการสาธารณสุขตามมาตรา 82 (13)การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมตามมาตรา 83 (14)การจัดระบบการถือครองที่ดินและการส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรตามมาตรา 84 (15)การส่งเสริมระบบสหกรณ์ตามมาตรา 85 (16)การส่งเสริมและการคุ้มครองแรงงานตามมาตรา 86 (17)การสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 87 (18)การตรากฎหมายและนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา 88 (19)การจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามมาตรา 89 2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ 2 วิธี คือ 2.1 การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนร้องขอต่อประธานรัฐสภา 2.2 การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3. การริเริ่มเสนอกฎหมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเองต่อประธาน รัฐสภา สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 3.1 ผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยให้ผู้มีสิทธิเข้าชื่อลงลายมือชื่อตามแบบที่รัฐสภากำหนดพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เข้าร่วม ทุกคน 3.2 เมื่อมีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายรวมกันไม่น้อยกว่าห้าหมื่นชื่อ ให้ผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายเป็นผู้แทนการเสนอกฎหมาย โดยยื่นเรื่องตามแบบที่รัฐสภากำหนดต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 3.3 เมื่อประธานรัฐสภาได้ตรวจความถูกต้องของเอกสารแล้ว ให้ปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และเขตชุมชนหนาแน่น ทั้งนี้เฉพาะในเขตท้องที่ที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อให้ผู้ใดที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อด้วยแต่มีชื่ออยู่ในประกาศได้ยื่นคำร้องคัดค้านการลงชื่อนั้น ภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ เมื่อพ้นกำหนดแล้วให้ถือว่ารายชื่อที่ไม่ได้คัดค้านเป็นรายชื่อที่ถูกต้อง ถ้ารายชื่อครบห้าหมื่นคนให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่อไป แต่ถ้าจำนวนไม่ครบห้าหมื่นชื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบเพื่อดำเนินการเข้าชื่อเพิ่มเติมให้ครบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว มิได้เสนอการเข้าชื่อจนครบ ให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง 4. การริเริ่มเสนอกฎหมายโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการได้โดย 4.1 ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปที่ประสงค์จะขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยยื่นคำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง1 4.2 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า การเข้าชื่อเสนอกฎหมายถูกต้อง ให้ประกาศกำหนดเวลาการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งต้องมีระยะเวลาการเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 90 วัน และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนดสถานที่ลงชื่อสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 4.3 เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต้องรวบรวมเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลา การเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด 4.4 หากมีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบห้าหมื่นชื่อ ให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอร่างพระราชบัญญัติและบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายไปยังรัฐสภา 4.5 ในกรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบห้าหมื่นคน ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบเพื่อให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง นับแต่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน ได้มี การเข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้ว ดังนี้ 1) การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยผ่านประธานรัฐสภา (1) ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินี้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง เพราะว่ายื่นเอกสารไม่ครบ) (2) ร่าง พ.ร.บ. สภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. .... (ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง เพราะว่ามี ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบห้าหมื่นคน) (3) ร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินี้วุฒิสภาได้แก้ไข จึงอยู่ระหว่าง การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง) (4) ร่าง พ.ร.บ. กองทุนหมู่บ้านแห่งชาติ พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินี้ผู้แทนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ขอถอนเรื่องคืน) (5) ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... (มีการประกาศใช้บังคับเป็น กฎหมายแล้ว) (6) ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. .... (ยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระการปกระชุมของสภา ผู้แทนราษฎร) 2) การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (1) ร่าง พ.ร.บ. สภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. .... (อยู่ในระเบียบวาระของสภาผู้แทนราษฎร) (2) ร่าง พ.ร.บ. ธนาคารหมู่บ้าน พ.ศ. .... (ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง เพราะว่ามี ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบห้าหมื่นคน) (3) ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... (ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง เพราะว่า มีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบห้าหมื่นคน) (4) ร่าง พ.ร.บ. จดแจ้งการผลิตและจำหน่ายเหล้าพื้นบ้านฉบับประชาชน พ.ศ. .... (ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง เพราะว่ามีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบห้าหมื่นคน) การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน เป็นการให้สิทธิกับประชาชนมีส่วนร่วมในการริเริ่มเสนอแนะ(initiatives) เป็นการนำหลักการของการเมืองแบบมีส่วนร่วม(participative politics) มาเสริม การทำหน้าที่ของผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกตั้งเป็นตัวแทนให้ไปทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ซึ่งในอดีต ไม่เคยมีการกำหนดให้ประชาชนสามารถริเริ่มเสนอกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันได้กำหนดสิทธิดังกล่าวไว้เป็นครั้งแรก ปัจจุบันนี้ได้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธาน รัฐสภาแล้ว จำนวน 10 ฉบับ แต่มี 4 ฉบับเท่านั้น ที่มีการดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อซึ่งประธานรัฐสภารับไว้พิจารณา และมีเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่รัฐสภาได้ตราเป็นกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว คือ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะเห็นได้ว่า กระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หลายฉบับไม่สามารถดำเนินการให้สมบูรณ์ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด สาเหตุโดยส่วนใหญ่แล้วมาจากมีจำนวนประชาชนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อไม่ครบห้าหมื่นคน แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีต่อการที่ประชาชนได้เริ่มรับรู้และตื่นตัวในการใช้สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีข้อสังเกต เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน 2 ประเด็น คือ (1) เมื่อมีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการและประธานรัฐสภาเห็นว่ามีการเข้าชื่อถูกต้องแล้ว พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 กำหนดให้ประธาน รัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป กรณีดังกล่าวนี้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับกำหนดเวลาว่าสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นภายในกำหนดเวลาใด อย่างไร ซึ่งอาจ แก้ไขให้มีความชัดเจนได้ 2 วิธี คือ โดยการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 หรือ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดเวลาให้ชัดเจนในการพิจารณาร่างกฎหมายของประชาชน (2) ในกระบวนการตรากฎหมายที่เสนอโดยประชาชนนั้น รัฐสภาอาจแก้ไขร่างกฎหมายของประชาชนในสาระสำคัญ หรือมีกรณีที่รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างกฎหมายในเนื้อหา อย่างเดียวกันให้รัฐสภาพิจารณา จนทำให้กฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแตกต่างจากหลักการ ที่ประชาชนเสนอก็ได้
Posted on: Thu, 29 Aug 2013 10:49:13 +0000

Trending Topics



"http://www.topicsexpress.com/El-pran-del-área-La-Máxima-de-la-cárcel-de-topic-592566654099286">El “pran” del área “La Máxima” de la cárcel de
Hope everybody is having a good Monday!! We will like to inform
The Subjugation of African/Edenic People by the Euro-Gentiles-
Blue eyes hx potize teri ai kardi ai mennu .? iswer chhot dress
Amor é um bicho estranho. É algo que começa bagunçando o
3mlm sudah bakhir.. Alhamdulillah 3mlm tu wad tkawal. Mlm td je

Recently Viewed Topics




© 2015